ระหว่างรอลุ้นการปรับค่าแรงขั้นต่ำในรอบที่ ๓ ของปี ๒๕๖๗ ถ้าเป็นไปตามกรอบที่ตัวแทนรัฐบาลวางไว้คือ ปรับขึ้นค่าแรง ๖๐๐ บาท/วัน ในอีก ๓ ปีข้างหน้า นักเศรษฐศาสตร์ คำนวณอัตราเงินเฟ้อ ที่เป็นผลพวงตามมาทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนการจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยเปรียบเทียบกำลังการซื้อก๋วยเตี๋ยวกับค่าแรงขั้นต่ำใน ๑ วัน ในภาวะที่ค่าแรงมีผลต่อค่าครองชีพเหมือน “เงาตามตัว” รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์กิริยา กุลกลการ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ได้คำนวณค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับขึ้นตามนโยบายรัฐบาลแบบขั้นบันได ตั้งแต่ ๔๐๐-๖๐๐ บาท พบว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น มีผลต่อต้นทุนการซื้ออาหารของประชาชน และพบว่าต่อให้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่เงินเดือนที่มากขึ้น กลับซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ปริมาณต่อชามเท่าเดิมพบว่า เมื่อเทียบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับราคาก๋วยเตี๋ยว แรงงานมีอำนาจซื้อเท่าเดิม คุณภาพชีวิตไม่เพิ่มขึ้น ถึงได้ค่าแรงเพิ่ม แต่แรงงานจะผลกระทบเสี่ยงตกงาน นายจ้างย้ายฐานผลิต.