Saturday, 18 January 2025

เพื่อไทยจับมือก้าวไกล?

ผ่านมาแล้วกว่า ๗ เดือน นับตั้งแต่รัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและพิจารณาแนวทางการจัดทำประชามติ และการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ในที่สุดพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดมีมติเห็นชอบ ให้ออกเสียงประชามติ ๓ ครั้ง จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีในเร็ววัน และมอบให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการมีเสียงคัดค้านจากนายรังสิมันต์ โรม สส.พรรคก้าวไกล เพราะไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติถึง ๓ ครั้ง ก่อให้เกิดการใช้งบประมาณครั้งละประมาณ ๓,๖๐๐ ล้านบาท นายรังสิมันต์เห็นว่าทำประชามติแค่ ๒ ครั้งก็พอแล้ว นั่นก็คือ ทำประชามติครั้งที่ ๑ ขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.๒๕๖ คือ อำนาจการแก้ไขรัฐธรรมนูญส่วนประชามติครั้งที่ ๒ เป็นครั้งสุดท้าย เพื่อถามประชาชนว่า “เห็นชอบ” หรือ “ไม่เห็นชอบ” รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่มีคนไม่ใช่น้อยที่เข้าใจว่าจะต้องทำประชามติ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ ทำก่อนบรรจุและพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประชามติครั้งที่ ๒ ทำหลังจากรัฐสภา เห็นชอบ ครั้งที่ ๓ หลังจากจัดทำร่างใหม่อดีตนักการเมืองและนักกฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องรัฐธรรมนูญ แสดงความเห็นว่า รัฐธรรมนูญไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะต้องทำประชามติกี่ครั้ง และทำเมื่อใด แต่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ จะต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประธานรัฐสภาเคยมีหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลวินิจฉัยว่ารัฐสภาจะบรรจุ และพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไข โดยไม่มีผลการลงประชามติได้หรือไม่ แต่ศาลมีมติเป็นเอกฉันท์ ไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัย เพราะเป็นเพียงข้อสงสัย ที่ประธานรัฐสภาต้องการคำอธิบาย แต่ศาล ยืนยันว่าคำวินิจฉัยชัดเจนแล้วนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน เคยบ่นว่า ๗ เดือนที่ผ่านมา ยังมีหลายอย่างที่ไม่พอใจ นายกรัฐมนตรีน่าจะฉวย โอกาสนี้ ผลักดันการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย และประชาชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด เช่น การรวบรวมเสียงสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร.) และลงประชามติการแก้หรือจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ให้เป็นประชาธิปไตยที่แท้เคยเป็นนโยบาย ร่วม ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกล ในช่วงที่เป็นพันธมิตรกันอยู่ แล้วบัดนี้ฝ่ายหนึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล อีกฝ่ายเป็นผู้นำฝ่ายค้าน แต่หวังว่ายังยึดมั่นประชาธิปไตย.คลิกอ่านคอลัมน์ “บทบรรณาธิการ” เพิ่มเติม