Thursday, 19 December 2024

“อ.ปริญญา” จี้ นายกฯ-รัฐบาล นำตัว “พล.อ.พิศาล” มาดำเนินคดีตากใบก่อนหมดอายุความ

อ.ปริญญา” จี้ นายกฯ-รัฐบาล-พรรคเพื่อไทย เร่งนำตัว “พล.อ.พิศาล” กลับมาดำเนินคดี ลั่น ไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคล มอง หากปล่อยคดีตากใบหมดอายุความ หลัง 25 ต.ค.นี้ อาจเจอกระแสตีกลับ”,”articleBody”:”“อ.ปริญญา” จี้ นายกฯ-รัฐบาล-พรรคเพื่อไทย เร่งนำตัว “พล.อ.พิศาล” กลับมาดำเนินคดี ลั่น ไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคล มอง หากปล่อยคดีตากใบหมดอายุความ หลัง 25 ต.ค.นี้ อาจเจอกระแสตีกลับวันที่ 14 ตุลาคม 2567 นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการดำเนินงานของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยต่อกรณี พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย หลังศาลจังหวัดนราธิวาส ออกหมายจับในคดีสลายการชุมนุมที่ตากใบ ใกล้จะหมดอายุความในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ว่า เหตุการณ์ที่ตากใบเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดขึ้น เช่นเดียวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และพฤษภาคม 2535 เป็นการเสียชีวิตของประชาชนจากการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงไม่ควรเกิดอีก เพราะที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีเจ้าหน้าที่รัฐคนไหนถูกลงโทษแต่ประการใดนายปริญญา ระบุต่อไปว่า เหตุการณ์ตากใบก็ทำนองเดียวกัน เมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้วไม่มีการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐได้ แม้มีการให้เงินเยียวยาต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บสาหัส แต่ความยุติธรรมของผู้เสียหายทั้ง 85 ชีวิต ที่ทวงถามมา 20 ปี เรื่องนี้รัฐบาลจะต้องแสดงออกอะไรบางอย่าง เพราะหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของรัฐบาล จึงต้องกำชับเรื่องนี้เพราะเหลือเวลาอีกประมาณ 10 วันเท่านั้น รัฐบาลได้ดำเนินการเรื่องนี้ได้ตามความคาดหมายของประชาชนหรือไม่สิ่งสำคัญคือเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของ พล.อ.พิศาล โดยในส่วนการขึ้นศาลอาจจะเป็นเรื่องส่วนตัว แต่หน้าที่ของรัฐบาลซึ่งมีอำนาจในการสั่งการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นี่ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของใคร เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนทำให้มีผู้เสียชีวิตนั้น รถคันแรกซึ่งขนมวลชนมาก็เห็นแล้วว่ามีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้น แต่จนกระทั่งคันสุดท้ายในการขนมวลชนกลับไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก แต่กลับไม่สามารถดำเนินคดีเอาผิดผู้กระทำได้ “ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นผู้บังคับบัญชา พึงกำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการออกหมายแดง ประสานงานกับตำรวจประเทศอื่น ใน 10 วันนี้ถ้าหากรัฐบาลไม่ทำอะไรออกมาตามที่ควรจะเป็น ตามความคาดหวังของประชาชน หลัง 25 ตุลาคมนี้ จะเป็นเรื่องที่กระทบกับรัฐบาลได้ เพราะปล่อยให้อายุความขาดไปโดยไม่ทำอะไร จะจับตัวได้หรือไม่ เอามาขึ้นศาลได้หรือเปล่าเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่รัฐบาลต้องแสดงออกว่าได้กระทำเต็มที่แล้ว หาไม่แล้วเรื่องนี้จะถูกมองทันที และจะนำไปโยงกับกรณีของ นายทักษิณ ชินวัตร ด้วยว่ามีเจตนาในการช่วยเหลือลูกน้อง หรือช่วยเพื่อนหรือไม่ ดังนั้น ควรแสดงออกว่ารัฐบาลได้ดำเนินการในสิ่งที่ควรกระทำแล้ว”เมื่อถามถึงกรณีที่ นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ระบุว่าการกระทำของ พล.อ.พิศาล เป็นความผิดส่วนตัว มองเรื่องนี้อย่างไร นายปริญญา ตอบว่า เรื่องการตั้งข้อหาและต้องขึ้นศาลนั้นเป็นเรื่องส่วนตัว แต่เนื่องจาก พล.อ.พิศาล เป็น สส.บัญชีรายชื่อ ของพรรคเพื่อไทย จึงไม่ใช่เรื่องส่วนตัวเท่านั้น ทางพรรคควรตอบคำถามว่าจะมีท่าทีต่อเรื่องนี้อย่างไร โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยเป็นพรรครัฐบาลและอยู่ในช่วงของการสร้างผลงาน หลายเรื่องก็เห็นผลงานขึ้นมา ขณะนี้คะแนนนิยมของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ดีขึ้น ถ้าเรื่องนี้ไม่แสดงออกอย่างตรงไปตรงมาจะถูกมองทันทีว่าเป็นการช่วยผู้ต้องหา ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีของรัฐบาล จริงๆ ระยะเวลาที่เหลืออยู่ 10 วันนั้นเป็นเรื่องยากที่จะได้ตัวมาขึ้นศาล แต่สิ่งที่คนรอดูมากกว่าคือท่าทีของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยส่วนคำถามว่าในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ พรรคเพื่อไทยจะมีการประชุมเพื่อขับ พล.อ.พิศาล ออกจากพรรค ถือเป็นการรับผิดชอบที่เพียงพอ หรือเป็นแค่การขว้างงูให้พ้นคอหรือไม่ นายปริญญา ระบุว่า คงต้องรอดูท่าทีว่าพรรคเพื่อไทยจะมีมติอย่างไร ถ้าพูดอย่างไม่อ้อมค้อม พล.อ.พิศาล คงยากที่จะกลับมาทำงานทางการเมืองแล้ว เพราะถ้าลาหยุดการทำหน้าที่ของ สส. จากกรณีถูกคดีสั่งฟ้อง เหมือนว่าตั้งใจที่จะหลบออกไปก่อนเพื่อรอให้คดีความหมดอายุ การกลับมาอีกครั้งหลังจากนี้ก็จะถูกตั้งคำถาม ว่าเป็น สส. แล้วทำไมถึงไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งศาลมีหมายเรียกก็ไม่มา จนกระทั่งออกหมายจับ เพื่อให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อให้มีการต่อสู้คดี แต่กลับเลือกที่จะหนี ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่พรรคจะต้องพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร ผู้สื่อข่าวถามต่อ ในทางกฎหมายพอจะมีทางที่จะยืดอายุความออกไปได้อีกหรือไม่ นายปริญญา กล่าวว่า กฎหมายอาญาของไทยคดีที่ทำให้มีคนเสียชีวิตจะมีอายุความ 20 ปี และจะขาดอายุความเมื่อ 1. ไม่ได้มีการฟ้องต่อศาลแต่ตรงนี้ก็ทำแล้ว ศาลรับฟ้องแล้ว 2. การเอาตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย ขึ้นศาลซึ่งส่วนนี้ทำให้มีการหลบออกไปให้พ้น วันที่ 25 ตุลาคม 2567 เพราะเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2547 ครบ 20 ปี ทำให้ในทางกฎหมายอาญาเท่ากับขาดอายุความ“ขอย้ำว่าเรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องทางกฎหมาย แต่เป็นคำถามใหญ่ๆ ว่า จากนี้ไปประเทศไทยจะเอาอย่างไร เมื่อมีเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทำให้ประชาชนเสียชีวิตเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า อันนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลจะต้องแสดงออกอะไรบางอย่าง จะปล่อยให้อายุความขาดไปเฉยๆ โดยบอกแต่เพียงว่าเป็นเรื่องส่วนบุคคล ผมเกรงว่าหลัง 25 ตุลาคมไปแล้ว ผลเสียหายหรือว่าคำถามจะกลับมาที่พรรคเพื่อไทย” เมื่อถามย้ำ แปลว่าท่าทีหรือการดำเนินการของรัฐบาลหรือพรรคเพื่อไทยยังไม่มีความชัดเจนพอที่จะนำตัว พล.อ.พิศาล กลับเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมหรือไม่ นายปริญญา ตอบว่า จริงๆ แล้วคงพูดไม่ได้ว่าจริงใจหรือไม่จริงใจ เขาอาจจะเข้าใจจริงๆ ก็ได้ว่านี่เป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่ตนในฐานะอาจารย์ทางด้านกฎหมายก็ชี้ให้เห็นว่า พล.อ.พิศาล มีหมายเรียกให้มาขึ้นศาล การปฏิเสธหมายเรียกก็เป็นปัญหาอยู่แล้ว พอไม่มาก็ออกหมายจับ จึงเป็นหน้าที่ที่จะต้องมาปรากฏตัว เพราะตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายไทยถือว่าท่านยังบริสุทธิ์อยู่ แต่ที่ท่านหลบหนีอยู่ขณะนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ อยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรี แปลว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจที่จะทำอะไรบางอย่าง ซึ่งตนก็ไม่สามารถบอกได้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง แต่คนมีความคาดหวัง และหลังวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ผ่านไปแล้วอายุความขาด โดยที่รัฐบาลดูจะจริงจังน้อยไปบ้าง ผลเสียก็จะกลับมาที่รัฐบาลเองในตอนท้าย ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า การที่ไม่ทำอะไรที่เพียงพอเท่ากับเป็นการช่วยเหลือหรือไม่ นายปริญญา กล่าวว่า ก็อาจจะถูกมองอย่างนั้นได้ ส่วนคำถามว่าจะถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ นายปริญญา มองว่า น.ส.แพทองธาร อาจจะถูกมองเช่นนี้ได้เช่นกัน.(ภาพ : ธนัท ชยพัทธฤทธี)