Thursday, 19 December 2024

เพื่อไทย ดันเต็มที่ คลิป พระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียม เทียบ ๓ ฉบับ ต่างกันอย่างไร

“สมรสเท่าเทียม ผลักดันเต็มที่ต้องมีละนะ” เพจพรรคเพื่อไทย เผยแพร่คลิป หนุนร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม สานฝันสร้างความเท่าเทียมในสังคม เทียบกันให้ชัดๆ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ๓ ฉบับ มีข้อแตกต่างอย่างไร วันที่ ๒๐ ธ.ค. ๒๕๖๖ เพจพรรคเพื่อไทย  เผยแพร่คลิป “สมรสเท่าเทียม ผลักดันเต็มที่ ต้องมีละนะ” ในโอกาสที่ร่างพระราชบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (แก้ไขเพิ่มเติม) หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยเนื้อหาในคลิปดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นสนับสนุนร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมเพื่อร่วมกันสร้างความเท่าเทียมให้กับสังคม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้าถึงสิทธิตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน นำโดย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ สส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย นางสาวกิตต์ธัญญา วาจาดี สส.อุบลราชธานี และ นายแพทย์โอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย สส.ชัยภูมินางสาวแพทองธาร กล่าวว่า เชื่อว่า แม่ทุกคนต้องการให้สนับสนุนในสิ่งที่ลูกมีความสุข และในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ขอเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันเรื่องสมรสเท่าเทียม อย่างที่เราสนับสนุนมาตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง จนมาถึงวันนี้และเรายังสนับสนุนอย่างเต็มที่และเต็มกำลังแน่นอน“มันไม่ได้ผิดที่คนเพศเดียวกันเขาจะกลายเป็นคู่ชีวิตกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย” หัวหน้าพรรคเพื่อไทยกล่าว ด้านนายอัครนันท์ กล่าวว่า นี่คือเวลาสำคัญที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และเข้าสู่การพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร โดยรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญ ซึ่งจะทำให้การสมรสจะไม่ถูกจำกัดโดยเพศสภาพ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้เหมือนกับการสมรสของชายหญิงทั่วไป ทุกคนจะได้รับสิทธิตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ได้รับสิทธิทางแพ่ง สิทธิในด้านการรักษาพยาบาลที่จะไม่มีข้อจำกัดอีกต่อไปผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ ๒๑ ธ.ค. จะมีร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น ๓ ร่างด้วยกัน ได้แก่ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับกระทรวงยุติธรรม เสนอโดย คณะรัฐมนตรีร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับเสนอโดย สส. พรรคก้าวไกลร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมฉบับภาคประชาชนโดยทั้ง ๓ ร่างมีหลักการเดียวกันคือ การสมรสที่มีความเท่าเทียม การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เปลี่ยนจากการสมรสระหว่างชาย-หญิง เป็นการสมรสระหว่างบุคคล ๒ คน แต่มีรายละเอียดบางประการ ที่แตกต่างกันออกไปเทียบรายละเอียด ๓ ร่างกฎหมาย สมรสเท่าเทียมประเด็นการหมั้นฉบับรัฐบาล ระบุว่า บุคคล ๒ ฝ่าย เป็นผู้หมั้น และผู้รับหมั้นฉบับก้าวไกล ระบุว่า บุคคล ๒ ฝ่าย เป็นผู้หมั้น และผู้รับหมั้นฉบับภาคประชาชน ไม่มีการแก้ไข เนื่องจากเห็นว่าสามารถสมรสได้โดยไม่ต้องหมั้นประเด็นอายุการสมรสฉบับรัฐบาล ระบุที่ ๑๗ ปีฉบับก้าวไกล ระบุที่ ๑๘ ปีฉบับภาคประชาชน ระบุที่ ๑๘ ปีประเด็นการระบุเพศฉบับรัฐบาล ระบุว่า ระหว่างบุคคลทั้ง ๒ ฝ่าย บุคคล ๒ คนฉบับก้าวไกล ระบุว่า ระหว่างบุคคลทั้ง ๒ ฝ่าย บุคคล ๒ คนฉบับภาคประชาชน ระบุว่า ระหว่างบุคคล ๒ บุคคลประเด็นสถานะหลังจดทะเบียนสมรสฉบับรัฐบาล ระบุว่า คู่สมรสฉบับก้าวไกล ระบุว่า คู่สมรสฉบับภาคประชาชน ระบุว่า คู่สมรสประเด็นบทเฉพาะกาล และการแก้ไขกฎหมายอื่นๆฉบับรัฐบาล ไม่มีบทเฉพาะกาล และการแก้ไขกฎหมายอื่นๆฉบับก้าวไกล ไม่มีบทเฉพาะกาล และการแก้ไขกฎหมายอื่นๆ ฉบับภาคประชาชน มีบทเฉพาะกาล และการแก้ไขกฎหมายอื่นๆประเด็นระยะเวลาบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับรัฐบาล ระบุ ๑๒๐ วันฉบับก้าวไกล ระบุ ๑๒๐ วันฉบับภาคประชาชน ระบุ ๖๐ วันประเด็นบทบัญญัติให้หน่วยงานเสนอแก้ไขกฎหมาย อื่นๆฉบับรัฐบาล ระบุ ๑๘๐ วัน ฉบับก้าวไกล ระบุ ๑๘๐ วัน ฉบับภาคประชาชน ระบุเสนอในบทเฉพาะกาลให้ใช้ทันทีประเด็นการแก้ไขกฎหมาย ป.พ.พ.เกี่ยวกับบิดามารดา กับบุตรฉบับรัฐบาล ไม่แก้ไขฉบับก้าวไกล ไม่แก้ไขฉบับภาคประชาชน เปลี่ยนจากบิดา มารดา เป็นบุพการีประเด็นผู้รักษาการตาม ร่าง พระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียมฉบับรัฐบาล นายกรัฐมนตรี ฉบับก้าวไกล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยฉบับภาคประชาชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย