Thursday, 19 December 2024

“เอกนัฏ” ร้อง สส.ทั้งสภาฯ ช่วยผ่านงบฯ ปี ๖๗ นำเม็ดเงินไปพัฒนาประเทศ

“เอกนัฏ” สส.รทสช. เรียกร้อง สส.ทั้งสภาฯ ช่วยผ่านงบฯ ปี ๖๗ โดยเร็ว เพื่อนำเม็ดเงินไปพัฒนาประเทศ สานต่อโครงการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ประชาชน พร้อมเร่งติดตามใช้งบโปร่งใส เกิดประโยชน์สูงสุดเมื่อวันที่ ๓ มกราคม ที่รัฐสภา นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ได้อภิปรายในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ วงเงิน ๓.๔๘ ล้านล้านบาท วาระแรก เป็นวันแรก ว่า ตนขอเชิญชวนเพื่อนสมาชิกที่อยู่ในห้องประชุมร่วมพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณปี ๖๗ นี้ ขอให้คิดถึงพี่น้องประชาชน คิดถึงผู้ประกอบการ นึกถึงประเทศที่รอพวกเราอยู่ เพราะขณะนี้เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจที่ถูกใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ๔ เครื่อง คือ การบริโภค การลงทุน การส่งออก และการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งเครื่องยนต์ตัวที่ ๔ ถูกดับมา ๓ เดือนแล้ว กว่าพวกเราจะพิจารณางบประมาณฯ เสร็จเรียบร้อย ใช้เวลา ๓-๔ เดือน เครื่องยนต์เครื่องนี้จะถูกใส่เกียร์ว่างต่อไป ฉะนั้นในการอภิปรายจะมีสมาชิกได้แสดงความเห็นกันอย่างเต็มที่ แต่ในที่สุดเราต้องเร่งพิจารณาผ่านงบประมาณฉบับนี้ ให้มีเม็ดเงินออกไปใช้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจtt ttนายเอกนัฏ กล่าวว่า นอกจากประเทศรอไม่ได้แล้ว เราพูดกันอยู่เสมอว่า ในยุคของโลกาภิวัตน์มีการเปลี่ยนแปลงของโลกแบบพลิกผืนแผ่นดิน ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เราประสบปัญหาโควิด โรคอุบัติใหม่ เรากำลังถูกท้าทายด้วยการดิสรัปชันด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ จากเดิมดิจิทัล ดิสรัปชัน มาเป็น AI ดิสรัปชัน เรากำลังเผชิญกับความท้าทายในส่วนของสังคมผู้สูงวัย ตัวเลขที่ถูกวิเคราะห์เราเห็นเลยว่า ทุก ๑๐ ปี ปี ๕๖ ปี ๖๖ และปี ๗๖ มีการประเมินว่า สัดส่วนของผู้สูงวัย สูงขึ้นทุก ๑๐ ปี ๗-๑๐% จะส่งผลอย่างไรต่อประสิทธิภาพในผลผลิตของประเทศ แต่ที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย คือ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ เพราะประเทศเราสร้างรายได้จากพื้นฐานของการทำเกษตรกรรมทั้งนี้ ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ปรากฏการณ์เอลนีโญที่ทำให้พี่น้องเกษตรกรเกิดภัยแล้งถี่มากทุก ๒ ปี ฉะนั้น เครื่องยนต์ที่รอให้ติดในส่วนของการขับเคลื่อนภาครัฐ รวมถึงความท้าทายที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ และปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโควิด หรือผลกระทบที่ส่งมาจากต่างประเทศ ทั้งสงครามความขัดแย้ง จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่เราต้องเร่งพิจารณางบประมาณฉบับนี้เพื่อดันเงินออกไปใช้ ตนเชื่อว่าถ้าเราช่วยกัน เราสามารถปรับวิธีคิดในการบริหารจัดการใช้งบประมาณใน พระราชบัญญัติฉบับนี้ ตนเชื่อว่าเราจะสามารถสร้างโอกาสจากวิกฤติที่เกิดขึ้นได้ ตนไม่อยากให้โอกาสที่เป็นของประเทศที่เกิดจากวิกฤติ ต้องสูญเสียไปในขณะที่ประเทศไทยมองประเทศเพื่อนบ้านตาปริบๆ GDP เพิ่มขึ้น ๔% ๕% บางประเทศเพิ่ม ๖% ที่เราคาดการณ์กันไว้ GDP ปีนี้อย่างดี จะเพิ่มประมาณ ๓% กว่า ถ้าจะทำได้ต้องรีบพิจารณาและเร่งใช้งบประมาณฉบับนี้ ตนยังมีความหวังกับประเทศนี้นายเอกนัฏ กล่าวด้วยว่า การใช้งบประมาณของประเทศมีการตั้งงบขาดทุนมาเป็นเวลา ๒๐ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙-๒๕๕๐ มีการตั้งงบสำหรับใช้มากกว่ารายรับของประเทศ ส่วนต่างตรงนี้เรานำมาลงทุนด้วยความหวังที่ว่า จะทำให้เศรษฐกิจเติบโต สร้างรายได้ให้กับประเทศ และในที่สุดก็นำรายได้เหล่านี้มาแบ่งปันในรูปแบบของสวัสดิการมาแจกจ่ายให้กับประชาชน คนไทยได้ใช้ สำหรับงบประมาณฉบับนี้ มีการตั้งงบขาดทุนไว้เกือบ ๗ แสนล้านบาท ๖.๙๓ แสนล้านบาท ตนมาเห็นว่าในส่วนงบลงทุน มีการตั้งไว้ ๗.๑๘ แสนล้านบาท แบบนี้มาถูกทางแล้ว เราตั้งงบรายจ่ายสูงกว่าเงินที่เรารับมาในสัดส่วนที่ตรงกับเงินที่นำไปลงทุนแบบนี้ ตนถือว่าเริ่มติดกระดุมถูกเม็ด ติดกระดุมแบบนี้ แปลว่าเราเห็นความสำคัญของการตั้งงบสำหรับการลงทุนเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ อภิปรายว่า ตนชวนสมาชิกทุกคนในการพิจารณางบประมาณฉบับนี้ อย่ามองยอดงบประมาณเป็นเพียงตัวเลขเท่านั้น ถ้าเราอยากใช้งบก้อนนี้เป็นการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพแบบมียุทธศาสตร์ อย่ามองเฉพาะยอดเงินที่ปรากฏในเล่ม พระราชบัญญัติงบประมาณฉบับนี้ อย่าดูแค่ว่ามีการตั้งเงินไว้ล้านบาท ร้อยล้านบาท พันล้านบาท นำไปซื้ออะไรได้บ้าง สามารถสร้างถนนได้กี่เส้น สามารถสร้างอาคารได้เท่าไร แต่เราต้องมองว่างบประมาณฉบับนี้ โดยเฉพาะงบลงทุนที่ถูกนำไปใช้ จะช่วยเติมเต็มในส่วนของภาคเอกชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้ได้เท่าไร จะทำแบบนี้ได้ต้องปรับวิธีคิดใหม่ ปรับมายด์เซตใหม่ ไม่ได้มองงบประมาณเป็นเพียงตัวเลข เราต้องใช้งบประมาณเป็นงบลงทุนที่มียุทธศาสตร์“โครงการใหญ่ๆ ที่มีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เราจับต้องได้ ท่าอากาศยานโลจิสติกส์ ถนนหนทาง หรือโครงสร้างพื้นฐานที่เราไม่สามารถจับต้องได้ เช่น ดิจิทัล AI หรือการสนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่ เช่น EV อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น พลังงานสะอาด คาร์บอนเน็ตซีโร่ การเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวด้วย Soft Power เรื่องเหล่านี้เป็นภารกิจสำคัญของประเทศ ถ้าจะทำให้สำเร็จต้องทำให้ใหญ่ ทำให้เร็ว และทำให้แรง” นายเอกนัฏ กล่าวนายเอกนัฏ กล่าวต่อว่า ตนเห็นว่าใน พระราชบัญญัติงบประมาณมีคำว่า บูรณาการปรากฏไว้เต็มไปหมด ผมขอชื่นชมพี่น้องข้าราชการในการพิจารณางบประมาณช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้คำนึงถึงการบูรณาการงบประมาณ แต่ขอให้รัฐบาลที่จะนำงบนี้ไปใช้ไปอีกสเตปหนึ่ง เมื่อเช้าได้ฟังนายกรัฐมนตรีแถลงแนวทางการใช้งบประมาณต่อที่ประชุมสภาทำให้ชื่นใจว่าจะมีการบูรณาการแบบจริงจัง หรือตนเรียกว่า การรวมศูนย์การใช้งบประมาณ ยกตัวอย่างเช่น โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล AI เราอยากให้เกิดขึ้น แต่ถ้าเราแจกงบไปตามกระทรวงต่างๆ ให้ไปทำ เพียงแต่มาหยอดลงกล่องแล้วใช้ปากกาขีดรวมกัน เชื่อมกัน แล้วบอกว่าเป็นการบูรณาการ ไม่ประสบผลสำเร็จแน่นอน ต่างหน่วยงานก็จะนำงบไปซื้อกล่องมาเก็บข้อมูล เก็บไว้ใน Data จะมีแต่เก็บข้อมูล แต่ไม่มีการเชื่อมต่อ เรื่องสำคัญแบบนี้ต้องมีการริเริ่มและส่งสัญญาณชัดเจนอย่างรัฐบาลส่วนกลาง โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี ตนเชียร์ให้ออกแบบให้เป็นระบบทั่วประเทศ จัดงบประมาณไปตามหน่วยงานต่างๆ แล้วมีหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพ ถ้าทำแบบนี้ได้งานถึงจะสำเร็จ รวมไปถึงเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นระบบโลจิสติกส์ด้วยนายเอกนัฏ กล่าวว่า ปัจจุบันมีสงครามความขัดแย้งทั่วโลก มีต้นทุนการขนส่งแพงขึ้น อาจจะลดต้นทุนของประชาชน และต้นทุนของผู้ประกอบการต้องสานต่อโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกสร้างและพัฒนามาตลอด ๙-๑๐ ปีที่ผ่านมา ที่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ทางรถไฟรางคู่ ถนนหนทาง รถไฟความเร็วสูง ท่าอากาศยาน หรือท่าเรือทางน้ำมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ขอบคุณที่ในงบประมาณฉบับนี้มีการตั้งงบไว้เกือบ ๒ แสนล้านในการสานต่อเพื่อลดต้นทุนผู้ประกอบการ ลดต้นทุนของประชาชนสำหรับในเรื่อง EV และพลังงานสะอาด การเพิ่มมูลค่าด้านการท่องเที่ยว เรื่องเหล่านี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ จะมีสมาชิกของพรรครวมไทยสร้างชาติมาพูดต่อจากตน นอกจากทำใหญ่ ทำเร็ว ทำแรงแล้ว ต้องมียุทธศาสตร์การใช้ในพื้นที่ เราเห็นความสำเร็จในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด จนมาถึงโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี สร้างรายได้ให้กับประเทศชาติมากมาย มีการตั้งงบในการลงทุนพัฒนาพื้นที่โซนนี้ต่อ แต่แค่นี้ยังไม่พอ ไม่ใช่แค่ภาคตะวันออกอย่างเดียว ที่จะให้เกิดในการบูรณาการงบประมาณแบบนี้ ตนอยากให้เกิดทางภาคเหนือ ทางภาคอีสาน ทางภาคตะวันตก และที่สำคัญมีการพูดกันหนักมาก คือ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ และเรื่องนี้จะต้องผสมรวมกับโครงการแลนด์บริจด์เข้าไปด้วย หากมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พร้อมกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง แบบนี้จะถือว่าเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจของจริงที่จะนำรายได้มาสู่ประเทศนอกจากนั้น ตนบอกแล้วว่า ในขณะที่เราพูดกันอยู่ในสภาฯ ประชาชนและประเทศรอเราอยู่ กว่าจะพิจารณาเสร็จผ่านไปอีก ๓-๔ เดือน ในปีงบประมาณเรามี ๑๒ เดือน แต่เหลือเวลา ๔-๕ เดือนที่จะใช้งบประมาณเท่านั้น ดังนั้นเมื่อพิจารณาเสร็จจะต้องเร่งใช้งบประมาณด้วย วิธีหาคนมาช่วยใช้แบบง่ายที่สุด คือ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปกระจายใช้ หลายปีที่ผ่านมามีการเพิ่มสัดส่วนงบประมาณ นำความเจริญไปสู่ท้องถิ่นวันนี้ประมาณ ๒๙% จากเป้าหมาย ๓๐% ในปีนี้เหลือเวลา ๔-๕ เดือน ถ้าให้การใช้คล่องตัว มีประสิทธิภาพรวดเร็ว ถ้ากรมกองใช้ไม่ทัน มีแนวคิด มีแนวทางอยู่ ๒ ทางคือ ๑. ตัดมา นำมากองรวมแล้วใช้แบบรวมศูนย์ในโปรเจกต์ใหญ่ หรือ ๒. ดีไม่แพ้กันกระจายออกไปให้ท้องถิ่นช่วย ใช้ปรับหลักเกณฑ์กติกาให้เขาได้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใสสส.บัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวต่อว่า ทั้งหมดที่กล่าวมาตนชวนเพื่อนสมาชิกให้คิดว่า ถ้าอยากให้การใช้งบประมาณมีประสิทธิภาพ มีการลงทุนเพื่อเพิ่มรายได้ เราต้องเห็นความสำคัญในการใช้งบประมาณมากกว่าตัวเลข เราดูแค่งบเป็นตัวเลขไม่ได้ ยังมีกระทรวงและหน่วยงานอีกหลายหน่วย ที่ไม่ได้มีภารกิจมารับเป็นเงินไปตั้งงบประมาณเพื่อจะซื้อจัดจ้างมาสร้าง หรือใช้งบประมาณเท่านั้น มีหลายหน่วยงาน มีกระทรวงที่มีภารกิจเป็นการกำกับดูแล คือ กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ๒ กระทรวงของพรรครวมไทยสร้างชาติ รวมกันเพียง ๗ -๘ พันล้าน เทียบกับกระทรวงอื่นกระทรวงเดียวเป็นแสนล้าน น้อยที่สุดเมื่อเรียงลำดับในแต่ละกระทรวง“แต่ผมมั่นใจว่าถ้าบริหารกระทรวงในลักษณะอย่างดี มีประสิทธิภาพ จะได้ผลดีกว่าการใช้เงินผ่านกระทรวงอื่นๆ ถ้าจะทำอย่างดีได้ ต้องเข้าใจภารกิจสำคัญของกระทรวง ต้องกล้าที่จะรื้อระบบด้วยการแก้กฎหมาย มีเพื่อนสมาชิกพูดถึงผลงานของงานของรัฐบาลเรื่องการลดค่าครองชีพ ค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้า จนเข้าใจว่าหลายเดือนที่ผ่านมาเป็นภารกิจเฉพาะหน้า ภารกิจเร่งด่วนก็ต้องแก้ปัญหาด้วยเงิน คือการลดภาษี การนำเงินกองทุนไปใช้บ้าง แต่ถ้าได้ฟัง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการพลังงาน จะเห็นวิสัยทัศน์ว่า จะมีการรื้อโครงสร้างพลังงานครั้งใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องต้นทุนราคาพลังงานที่มาจากน้ำมันและไฟฟ้าอย่างยั่งยืน ต้องมีแนวคิดแบบนี้” นายเอกนัฏ กล่าวนายเอกนัฏ กล่าวว่า เช่นเดียวกับกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อมีงบประมาณน้อยแต่มีอำนาจมาก ก็ต้องมีการแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับการใช้งบประมาณ จัดการปัญหาของเสียที่ถูกผลิตจากโรงงานที่เป็นมลภาวะของประเทศ มีผลต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชน แต่อีกด้านหนึ่งต้องมีการส่งเสริมให้มีการทำมาค้าขายสะดวก ช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจที่เป็น SME กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อย เมื่อดึงนักลงทุนมาแล้วก็ต้องส่งเสริมสร้างห่วงโซ่การผลิต เพื่อดูแลผลประโยชน์ของกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดย่อยไปด้วยกันทั้งนี้ ขอขอคุณรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนการทำงานของ นายพีระพันธุ์ ในฐานะหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ กระทรวงอื่นก็เช่นกัน แม้จะได้รับการจัดสรรงบประมาณไม่มาก แต่ก็มีแรงบันดาลใจในการทำงาน สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศชาติได้ไม่แพ้กัน มากไปกว่านี้เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ เราอยากได้รับความเชื่อมั่นจากประชาคมโลก เราอยากให้นักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในโครงการใหญ่ๆ แต่ทั้งหมดไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าการบริหาร การใช้งบประมาณของประเทศมีการทุจริตคอร์รัปชัน เรื่องนี้สำคัญมาก สำคัญที่หนึ่งคือเงินที่ถูกส่งไป ๑๐๐ บาท ก็หวังว่าจะใช้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยถึงมือประชาชน ใช้ประโยชน์ให้กับประเทศอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เรื่องนี้เราได้ยินมาตลอด คุยกันเองว่างบประมาณถูกตัดไปกี่เปอร์เซ็นต์ ขอได้ไหม จากนี้ไปอย่าให้มีข่าวลือแบบนี้ อย่าให้เกิดเรื่องแบบนี้ อยากให้เงิน ๑๐๐ บาท ไปถึงมือประชาชนเต็มทั้ง ๑๐๐ บาท“เราได้เห็นพัฒนาการการแก้กฎหมายในส่วนของ พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ ปี ๒๕๖๐ มีการอัปเกรดระบบการจัดซื้อจัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ebidding ทำให้การประมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความโปร่งใสมากขึ้น ต้องเน้นเรื่องคุณภาพ ทำงานให้จบมีผลงาน แต่ผมอยากก้าวไปอีกหนึ่งขั้น” นายเอกนัฏ กล่าว…