“แพทองธาร” ดันคณะซอฟต์พาวเวอร์ แก้กฎกระทรวงจัดเรตติ้งภาพยนตร์ ตั้งเป้ากลางปี “พ.ร.บ. THACCHA” ต้องเข้าสภา เหตุเป็นกฎหมายหลักสำหรับหน่วยงานจะมาขับเคลื่อน Soft Power ประเทศวันที่ ๔ ม.ค. ๒๕๖๗ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ร่วมกับ นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ที่ปรึกษาและกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ, นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ นั่งหัวโต๊ะประชุมคณะกรรมการการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ ณ ห้องวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศtt ttใจความในการประชุมครั้งนี้ จะเป็นการหารือถึงประเด็นต่างๆ ของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ทั้ง ๑๑ สาขา อาทิ การปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๖๑, การแก้ไขกฎกระทรวงและประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑, รายงานความคืบหน้าการยกร่าง พระราชบัญญัติTHACCHA, ความคืบหน้าของการลงทะเบียนผ่านระบบ OFOS, การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการซอฟต์พาวเวอร์เพิ่มเติม, สรุปผลการศึกษาแผนการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ด้วยมิติทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย จัดทำโดยกระทรวงวัฒนธรรม และสถาบันบัณฑิตธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความน่าสนใจของผลการศึกษานี้ยังเป็นการสำรวจกลุ่มต่างๆ ทั่วโลก ที่มีความสนใจในคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับประเทศไทย ซึ่งเป้าหมายของการสรุปผลการศึกษาดังกล่าวจะนำไปสู่การที่ประเทศไทยจะมี Thailand’s Soft Power Index ต่อไปในอนาคต รวมถึงแผนงานสงกรานต์ ‘Maha Songkarn World Water Festival’ ที่จะเกิดขึ้นในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้และเมื่อจบการประชุมได้มีการแถลงข่าว ๓ ประเด็นหลัก คือ การแก้ไขกฎกระทรวงและประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑, การตั้ง One Stop Service และความคืบหน้าการยกร่าง พ.ร.บ. THACCHAประเด็นแรก นางสาวแพทองธาร กล่าวว่า เพราะการจัดเรตติ้งภาพยนตร์ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์จากภาคเอกชนมานานหลายปี จากความไม่สมเหตุสมผลของเกณฑ์ รวมถึงความไม่ชัดเจนของการพิจารณานั้น กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับคณะอนุกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์สาขาภาพยนตร์ ได้เสนอการทำงาน ๓ เรื่อง คือ ส่วนที่ ๑ การเปลี่ยนแปลง “คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และเกม” โดยเปลี่ยนแปลงทั้งสัดส่วนของคณะกรรมการให้เอกชนมีเสียงข้างมาก และเป็นประธานคณะกรรมการทุกชุด โดยจะตั้งคณะกรรมการใหม่ ๙ ชุด รวมชุดที่ ๑ ที่ยังไม่หมดวาระ เป็น ๑๐ ชุด แบ่งออกเป็น คณะพิจารณาภาพยนตร์ ๘ ชุด และคณะพิจารณาด้านเกมโดยเฉพาะ ๒ ชุด เพราะเกมและภาพยนตร์มีวิธีคิดและมุมมองที่ไม่เหมือนกัน จึงต้องพิจารณาแยกกันโดยย้ำว่า จุดสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของคณะกรรมการพิจารณา จะต้องมีสัดส่วนของเอกชนมากกว่าภาครัฐบาล โดยกำหนดให้ประธานคณะพิจารณาในแต่ละชุดเป็นเอกชน และมีคณะกรรมที่มาจากภาคเอกชน ๓ คน และจากภาครัฐ ๒ คน จากเดิมที่มีเอกชน ๓ คน และภาครัฐ ๔ คน“การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการพิจารณาครั้งนี้จะทำให้ภาพยนตร์ไทยได้รับการพิจารณาเรตติ้งที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมมากขึ้น การจัดเรตคนดู จะเป็นเพียงตัวบอกว่าสิ่งใดเหมาะสม แต่จะไม่ใช่การควบคุมภาพยนตร์ไทยอีกต่อไปค่ะ” นางสาวแพทองธาร กล่าว…tt ttส่วนที่ ๒ คือ การแก้ไขกฎกระทรวงและประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงระหว่างรอการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน สำหรับการแก้ไขกฎกระทรวงที่มาของจัดประเภทเรตของภาพยนตร์ จะเป็นการแก้ไขในส่วนของภาพยนตร์ที่ห้ามฉายในประเทศไทย โดยภาพยนตร์ที่ห้ามฉายในประเทศไทยจะเหลือเพียงข้อกำหนดเดียว คือ เนื้อหาที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนประเด็นอื่นๆ เรื่องศาสนา เรื่องความมั่นคง รวมถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ จะถูกจัดอยู่ในเรตผู้ชมที่เหมาะสมแทนการห้ามฉาย โดยกระบวนการแก้กฎกระทรวงนี้ ยังอยู่ในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และคาดว่าการแก้ไขจะเสร็จสิ้นในช่วงกลางปีนี้ส่วนที่ ๓ คือ การสร้างความเปลี่ยนแปลงในระยะยาว นั่นคือการยกร่างกฎหมายพระราชบัญญัติภาพยนตร์ฉบับใหม่ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิด “สภาภาพยนตร์ไทย” องค์กรใหม่ภายใต้ THACCA มาทำหน้าที่สนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไปจนถึงการพิจารณาจัดเรตผู้ชมในอนาคต และให้เอกชนเป็นผู้จัดเรตผู้ชมด้วยตัวเอง“การเปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดเรตของผู้ชมทั้ง ๓ ส่วน คือการเปลี่ยนวิธีคิด ที่ภาครัฐเคยเน้นควบคุมภาพยนตร์ เป็นการสนับสนุนเสรีภาพและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินทุกคน” นางสาวแพทองธารกล่าวประเด็นต่อมา คือการตั้ง One Stop Service ที่รวมเอาการติดต่อหน่วยงานราชการหลายๆ หน่วยเข้าไว้ที่เดียว โดยสองอุตสาหกรรมแรกที่จะลงมือทำ One Stop Sevice คือ อุตสาหกรรมเพลงและภาพยนตร์ เพราะการจัดคอนเสิร์ตและการถ่ายทำภาพยนตร์มีปัญหามากที่ต้องติดต่อหลายหน่วยงานราชการประเด็นสุดท้าย คือ กระบวนการยกร่าง พ.ร.บ. THACCA ที่จะเป็นกฎหมายหลักสำหรับหน่วยงานที่จะมาขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศ ตอนนี้ตัวกฎหมายใกล้เสร็จเต็มที่แล้ว กำลังอยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบความเรียบร้อย แล้วเปิดรับฟังความเห็น โดยเราตั้งใจจะผลักดันให้เข้าสภาภายในกลางปีนี้ให้ได้
"อิ๊งค์" ดัน แก้ ก.ม.จัดเรตติ้งภาพยนตร์-กลางปี "พระราชบัญญัติTHACCHA" เข้าสภา
Related posts