การขาดแคลนแรงงานที่มีความชำนาญในการเก็บเกี่ยวผลกาแฟ ส่งผลให้มีผลกาแฟอ่อนปะปนกับผลกาแฟสุก เป็นปัญหาทำให้กาแฟที่ได้มีคุณภาพต่ำ ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคเนื่องจากเมล็ดกาแฟที่ได้จากผลกาแฟระยะต่างๆ มีกรดอินทรีย์ที่มีผลต่อกลิ่น รส และความรู้สึกในการชิมหลังคั่วบดแตกต่างกัน…จะมีแต่เมล็ดกาแฟที่ได้จากผลกาแฟที่สุกแดงเท่านั้น ที่มีปริมาณกรดอินทรีย์ต่อกลิ่นรสที่ดีเป็นที่ชื่นชอบและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคจากปัญหาดังกล่าว กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร โดย นางสาวอารีรัตน์ การุณสถิตย์ชัย นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ จึงได้วิจัยคิดค้นจนได้ “แผ่นเทียบสีสำหรับใช้ประเมินความสุกแก่ผลกาแฟที่จะเก็บเกี่ยวจากแปลง”tt ttที่สามารถนำไปเป็นเครื่องมือที่สะดวกต่อการใช้งานของเกษตรกรและแรงงานรับจ้างเก็บเกี่ยวผลกาแฟจากแปลง ช่วยให้เกษตรกรสามารถกำหนดเวลาที่เหมาะสมในการเก็บกาแฟได้อย่างถูกต้อง และทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ“ในอดีตเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟมักใช้วิธีการเก็บเกี่ยวผลกาแฟด้วยมือ โดยสังเกตจากสีของเปลือกผลกาแฟ ที่อาจจะมีความคลาดเคลื่อนได้จากสภาพอากาศและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆที่ส่งผลต่อสีของเปลือกผลกาแฟ สำหรับแผ่นเทียบสีสำหรับการเก็บเกี่ยวผลกาแฟมีลักษณะเป็นกระดาษแข็งเคลือบพลาสติกด้านที่มีสีสันแตกต่างกัน แต่ละสีจะแสดงถึงระดับความสุกแก่ของผลกาแฟ ด้วยการนำแผ่นเทียบสีไปทาบกับผลกาแฟกลางผล ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงถึงการสุกได้ชัดเจนที่สุด เบอร์ ๑ เป็นผลที่ยังไม่สุก (สีชมพู) เบอร์ ๒ สุกแล้ว (สีแดง) ส่วนเบอร์ ๓ สุกมากเกินไป (สีแดงเข้ม)”tt tttt ttนางสาวอารีรัตน์ อธิบายถึงการใช้งาน…เมื่อนำแผ่นเทียบสีผลกาแฟวางด้านบนผลกาแฟที่ต้องการ โดยให้ช่องว่างของแผ่นเทียบสีตรงกับกลางผลกาแฟ เลื่อนหาช่องสีของแผ่นเทียบสีที่มีสีใกล้เคียงกับผลกาแฟที่ต้องการมากที่สุดถ้าเก็บเกี่ยวผลกาแฟที่มีความสุกแก่เหมาะสมในระยะที่ ๒ (สีแดง) ปริมาณมากถึง ๘๐% จะทำให้ราคาของผลผลิตเพิ่มมากขึ้นกิโลกรัมละ ๕ บาทtt tttt ttแผ่นเทียบสีสำหรับการเก็บเกี่ยวผลกาแฟที่กรมวิชาการเกษตรผลิตขึ้นนี้ ได้รับการรับรองและการยอมรับจากผู้มีความชำนาญในการเก็บเกี่ยวผลกาแฟและผู้ประกอบการกาแฟ ว่าเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถประเมินความสุกแก่ของผลกาแฟและเก็บเกี่ยวผลกาแฟที่สุกเต็มที่ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่สูงขึ้นและเมื่อกรมวิชาการเกษตรได้จัดฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมาย พบว่าเกษตรกร ผู้รับจ้างเก็บเกี่ยว และผู้ประกอบการ ให้การยอมรับเทคโนโลยีแผ่นเทียบสีดังกล่าว เนื่องจากสามารถจำแนกการสุกแก่ของผลกาแฟตั้งแต่ผลไม่สุก สุก และสุกเกินไปอย่างรวดเร็ว ง่าย และสะดวกต่อการใช้งานส่งผลให้งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๕ ประเภทสิ่งประดิษฐ์คิดค้นจากกรมวิชาการเกษตร.ชาติชาย ศิริพัฒน์คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม
Related posts