ในปี ๒๕๖๗ คาดว่า หนี้สาธารณะของประเทศไทย จะอยู่ที่ ๑๑.๘๓ ล้านล้านบาท ปี ๒๕๖๘ จะเพิ่มเป็น ๑๒.๖๖ ล้านล้านบาท ปี ๒๕๖๙ เพิ่มเป็น ๑๓.๔๔ ล้านล้านบาท ปี ๒๕๗๐ เป็น ๑๔.๑๒ ล้านล้านบาท ปี ๒๕๗๑ เป็น ๑๔.๗๕ ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๖๒-๖๔ ของจีดีพี เท่ากับหนี้ภาครัฐ หรือหนี้สาธารณะมีอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง ยิ่งภาครัฐมีแผนการกู้เงินเพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะเพิ่มมากขึ้นไปอีกดังนั้นการ กำหนดเพดานหนี้สาธารณะต่อจีดีพี เอาไว้ที่ไม่เกินร้อยละ ๗๐ ของจีดีพี ดูจากสัดส่วนการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลอย่างต่อเนื่องของภาครัฐแล้ว ยังชวนให้คิดไม่ได้ว่า การที่รัฐบาล เน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ถดถอยอย่างต่อเนื่องติดต่อกันมาหลายปี เป็นความเสี่ยง ต่อการสร้างหนี้สาธารณะและการแบกรับภาระหนี้ในอนาคต จนนำไปสู้วิกฤติการเงินการคลังของประเทศได้เช่นกันดูจากรายได้ของประเทศ ทั้งก่อนและ หลังจากเกิดวิกฤติโควิด เศรษฐกิจไทยไม่ได้โตตามเป้าหมาย ตรงกันข้ามกลับอยู่ในภาวะที่ต้องเร่งฟื้นฟูเป็นการด่วนเพราะฉะนั้นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้วยวิธีใดก็ตามถ้าเป็นการใช้เงินกู้มากระตุ้นเศรษฐกิจ โดยไม่วิเคราะห์ถึงจุดสมดุลและความเป็นไปได้ให้พอดีแล้ว จะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจที่เร็วและแรงขึ้นพิจารณาจาก หนี้สาธารณะปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาจำนวนกว่า ๑๑ ล้านล้าน หรือร้อยละ ๖๒.๔๔ ของจีดีพี เป็นหนี้ที่รัฐบาลต้องกู้มาใช้จ่ายโดยตรง กว่า ๙ ล้านล้าน กู้มาใช้กองทุนฟื้นฟูสถาบันการเงินอีก กว่า ๖ แสนล้าน เป็นหนี้รัฐวิสาหกิจกว่า ๑ ล้านล้าน ค้ำประกันสถาบันการเงินกว่า ๒ แสนล้าน หนี้หน่วยงานของรัฐอีกกว่า ๖ หมื่นล้าน แบ่งเป็นหนี้ในประเทศกว่า ๑๐ ล้านล้าน และหนี้ต่างประเทศกว่า ๑.๕ แสนล้าน เป็นหนี้ระยะยาวกว่า ๙ ล้านล้าน ระยะสั้นประมาณ ๑.๖ ล้านล้านเมื่อเทียบ ภาระหนี้กับประมาณการรายได้ แล้วอยู่ที่ร้อยละ ๒๖.๓๙ เพดานกำหนดไว้ที่ไม่เกินร้อยละ ๓๕ สัดส่วนที่เป็น เงินตราต่างประเทศ อยู่ที่ร้อยละ ๑.๔๒ เพดานกำหนดให้ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ป้องกันความเสี่ยงเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนตลอดเวลา เมื่อเทียบ หนี้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศกับรายได้ การส่งออก อยู่ที่ร้อยละ ๐.๐๕ เพดานกำหนดไม่เกินร้อยละ ๕รัฐต้องชำระหนี้คืนเมื่อเทียบกับสัดส่วนของงบประมาณอยู่ที่ร้อยละ ๓.๑๔ เพดานการชำระหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒.๕ ไม่เกินร้อยละ ๔ ของงบประมาณแต่ละปี ภาระดอกเบี้ยต่อประมาณการรายได้ไม่เกินร้อยละ ๑๐ความเสี่ยงก็คือรัฐมีรายได้ต่ำกว่ารายจ่ายเพิ่มขึ้นทุกปีไม่รวมความเสี่ยงจากสงคราม โรคระบาด ภาระหนี้ที่พอกพูนและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก สารพันปัญหาบานตะไท สุดท้ายรัฐต้องมาแก้ปัญหาหนี้ทั้งระบบของภาครัฐแทนที่จะไปแก้ให้ประชาชนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจะกลายเป็นภาระหนี้สะสมของรัฐและประชาชนไปฉิบ.หมัดเหล็กmudlek@thairath.co.thคลิกอ่านคอลัมน์ “คาบลูกคาบดอก” เพิ่มเติม
Related posts