“คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ” เดินหน้าภารกิจเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา ที่ยังเป็นปัญหาน่ากังวลในระดับโลก โดยได้รับการรับรองจาก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN FAO)วันที่ ๑๑ ม.ค. ศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN FAO) ขยายระยะเวลาอีก ๔ ปี ๒๕๖๗-๒๕๗๐ สานต่อภารกิจเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาแห่งแรกแห่งเดียวในเอเชียแปซิฟิก เร่งดำเนินการสร้างขีดความสามารถทางห้องปฏิบัติการ และอบรมพัฒนาบุคลากรในภูมิภาคอย่างต่อเนื่องtt ttศ.ด็อกเตอร์บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความท้าทายในด้านความมั่นคงทางอาหารและความปลอดภัยในการทำการเกษตรที่ทั่วโลกกําลังเผชิญอยู่ คือการเพิ่มขึ้นของเชื้อดื้อยาหรือแบคทีเรียที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งอุบัติการณ์ที่สูงขึ้นของเชื้อดื้อยาส่งผลทำให้การควบคุมและรักษาโรคติดเชื้อทำได้ยากขึ้น หรือไม่สามารถทำได้ ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของการแพร่ระบาด ความรุนแรงของการเจ็บป่วย และอัตราการเสียชีวิต ศูนย์อ้างอิงฯ ภายใต้การดำเนินงานของคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้เข้ามามีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนความพยายามระดับโลกเพื่อแก้ปัญหานี้ ภายใต้การทำงานร่วมกับ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN FAO)“จุฬาฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมชั้นนำ เพื่อสร้างสรรค์สังคมผ่านความรู้และการศึกษาวิจัยทางด้านอาหารและการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการแก้ปัญหาใดๆ อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์ การศึกษา และวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจน (science, education and methodology)” ศ. ด็อกเตอร์บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี กล่าวย้ำความสำคัญของความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติในทุกมิติ ทั้งเชื้อดื้อยา โรคระบาดสัตว์ข้ามแดนและโรคสัตว์สู่คน สุขภาพหนึ่งเดียว การผลิตปศุสัตว์ ความปลอดภัยทางอาหาร และกระบวนการผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยและยั่งยืนtt ttศ.สพ.ญ.ด็อกเตอร์สันนิภา สุรทัตต์ คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เชื้อดื้อยายังเป็นปัญหาที่น่ากังวลในระดับโลก รวมถึงในประเทศไทย โดยสามารถพบได้ทั้งในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงพยาบาลรักษาผู้ป่วยและสัตว์ป่วย รวมทั้งในสิ่งแวดล้อมที่เราทุกคนไปสัมผัส โดยพบเชื้อดื้อยาได้ตลอดห่วงโซ่อาหาร ประชาชนมักติดเชื้อดื้อยาจากการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และผ่านการปรุงในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ซึ่งการแก้ปัญหาต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในทางสัตวแพทยศาสตร์ได้มีความพยายามเฝ้าระวังและควบคุมการใช้ยาให้เหมาะสมในฟาร์ม โดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ ส่งเสริมความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างถูกต้องและเหมาะสมให้กับนิสิตสัตวแพทย์ และสัตวแพทย์ที่จบแล้ว เพื่อให้เข้าใจการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ไม่นําไปสู่การเกิดและแพร่กระจายเชื้อดื้อยาที่เพิ่มขึ้น การเฝ้าระวังและตรวจติดตามเชื้อดื้อยาเป็นกิจกรรมสำคัญลำดับแรกของการแก้ไขเชื้อดื้อยา ซึ่งศูนย์อ้างอิงฯ ได้ทำภารกิจในการติดตามข้อมูลที่ทันสมัยทันเหตุการณ์เชื่อมโยงเชื้อดื้อยาที่เกิดจากสัตว์สู่คน รวมถึงเชื้อดื้อยาที่อยู่ในสภาพแวดล้อม พร้อมกับการสร้างความเข้มแข็งและความเข้าใจในกลุ่มปฏิบัติงานผ่านการอบรมบุคลากรที่ทํางานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคในสัตว์ให้มีความรู้ความสามารถในการติดตามเรื่องของเชื้อดื้อยาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทำงานร่วมกับห้องปฏิบัติการในแต่ละประเทศเพื่อสร้างศักยภาพในการติดตามเชื้อดื้อยาให้เท่าเทียมกัน ถือเป็นการเสริมความเข้มแข็งร่วมกันในระดับภูมิภาค โดยมีศูนย์อ้างอิงฯ เป็นศูนย์กลางในการทำงานศ.สพ.ญ.ด็อกเตอร์รุ่งทิพย์ ชวนชื่น ผู้อำนวยการ ศูนย์ติดตามการดื้อยาของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการประเมินทั่วโลกมีคนเสียชีวิตจากการติดเชื้อดื้อยาประมาณปีละ ๗๐๐,๐๐๐ คน และหากไม่เร่งแก้ไขปัญหา ในปี ๒๕๙๓ คาดการณ์การเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาจะสูงถึง ๑๐ ล้านคน สำหรับประเทศไทย พบว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ประมาณปีละ ๘๘,๐๐๐ ราย เสียชีวิต ปีละ ๓๘,๐๐๐ ศพ คิดเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมสูงถึง ๔.๒ หมื่นล้านบาทtt ttศูนย์ติดตามการดื้อยาของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีการทำงานวิจัยเพื่อติดตามข้อมูลสำหรับการเฝ้าระวังมาอย่างต่อเนื่อง และได้รับการยอมรับ ส่งผลให้คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการรับรองเป็นศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะของ FAO (FAO Reference Centre for AMR) ตั้งแต่ปี ๒๕๖๒ ถือเป็น ๑ ใน ๔ หน่วยงานแรกทั่วโลก ที่ได้รับการรับรองเป็นศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ และเป็นศูนย์อ้างอิงฯ นานาชาติแห่งแรกและแห่งเดียวในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกมีศูนย์อ้างอิงฯ เพียง ๙ แห่ง
"คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ" เดินหน้าภารกิจเฝ้าระวัง "เชื้อดื้อยา"
Related posts