เครดิตภาพ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่นายกรัฐมนตรี มาเชียงใหม่ติดตามความคืบหน้าการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งของเชียงใหม่ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว รองรับการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยว หนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าการลงทุนในภูมิภาคเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม๒๕๖๗ ที่หอประชุมเดชะตุงคะ กองบิน ๔๑ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางมาติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงาน ตามนโยบายของรัฐบาล ในการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งและการเดินทางของจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้น รองรับปริมาณการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวของภูมิภาค มีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก ทั้งทางบก ทางราง และทางอากาศ และมีปริมาณการจราจรเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีการขยายตัวของที่อยู่อาศัยนอกวงแหวนรอบเมืองจากเหตุที่กล่าวมาจึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับโครงข่ายถนน ประกอบด้วย ระบบขนส่งสาธารณะหลากหลายประเภท ที่จะช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกัน ไม่กระทบต่อวิถีชุมชน และยังคงอัตลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ความคืบหน้าโครงการรถแดงไฟฟ้า (EV) ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบ ๓ เชียงใหม่, แผนการเดินทางไปสถานที่ท่องเที่ยว ๗ แห่ง, การพัฒนาถนนเพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงเชียงใหม่และจังหวัดในภาคเหนือ ตลอดจนโครงการก่อสร้างสนามบินล้านนา (เชียงใหม่แห่งที่ ๒)tt ttสำหรับการพัฒนาทางถนน ได้แก่ ถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่ รอบที่ ๑ ทางหลวงหมายเลข ๑๑ และทางหลวงหมายเลข ๑๑๔๑ ระยะทางรวม ๑๘.๒๓๘ กิโลเมตร, ถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่ รอบที่ ๓ ทางหลวงหมายเลข ๑๒๑ ระยะทางรวม ๕๒.๙๕๗ กิโลเมตร, แผนพัฒนาทางแยกระดับถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่ รอบที่ ๓, การพัฒนาถนนเลี่ยงเมืองแม่ริม อำเภอแม่ริม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง ๔๕ กิโลเมตร ปัจจุบันสำรวจออกแบบแล้วเสร็จ, การพัฒนาถนนเลี่ยงเมืองต้นเปา ระยะทาง ๑๖.๕๐ กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างของบประมาณจ่ายค่าเวนคืน ด้านแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ (CM-PMAP) โดยมีระบบหลัก (Trunk Route, LRT) ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้า สายสีแดง โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคีระยะทาง ๑๒.๕๔ กิโลเมตร จำนวน ๑๒ สถานี ปัจจุบันอยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบการดำเนินโครงการที่เหมาะสม และพิจารณาผลการศึกษาเปรียบเทียบร่วมกันของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ขณะที่โครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงินระยะทาง ๑๐.๔๗ กิโลเมตร จำนวน ๑๓ สถานี สายสีเขียว ระยะทาง ๑๑.๙๒ กิโลเมตร จำนวน ๑๐ สถานี และระบบ Feeder (รถประจำทาง) ประกอบด้วย ระบบรอง จำนวน ๗ เส้นทาง ระยะทาง ๘๙ กิโลเมตร ระบบเสริม จำนวน ๗ เส้นทาง ระยะทาง ๘๕ กิโลเมตรส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ประกอบด้วย ระยะที่ ๑ กรุงเทพมหานคร-พิษณุโลก ระยะทาง ๓๘๐ กิโลเมตร ปัจจุบันฝ่ายญี่ปุ่นศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและการเงินของโครงการแล้วเสร็จ และผลการศึกษา R-Map บรรจุเส้นทางอยู่ในแผนงานระยะกลาง (พ.ศ. ๒๕๗๑-๒๕๗๕) สำหรับระยะที่ ๒ พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง ๒๘๘ กิโลเมตร ปัจจุบันผลการศึกษา R-Map บรรจุเส้นทางอยู่ในแผนงานระยะยาว (พ.ศ. ๒๕๗๖-๒๕๘๕) โดยกรมทางหลวงพิจารณาขออนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในภาพรวม สำหรับดำเนินโครงการเพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้น หรือจัดลำดับความสำคัญแผนงาน และจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในระยะเร่งด่วน (ระยะ ๓ ปี) เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเชื่อมโยงโครงข่ายทางถนนให้ต่อเนื่องเพื่อความสะดวกในการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวนอกจากนี้ มอบให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กำหนดเส้นทางรถโดยสารสาธารณะ (รถสี่ล้อแดง) สำหรับบริการประชาชนและนักท่องเที่ยวให้เหมาะสมตอบโจทย์การเดินทางผู้โดยสารที่ใช้บริการ สำหรับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อลดปัญหามลพิษและฝุ่น PM ๒.๕ มอบให้กรมการขนส่งทางบกพิจารณากำหนดมาตรฐานการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ของรถโดยสารสาธารณะ รวมทั้งหาแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมและปลอดภัยtt ttขณะเดียวกันยังให้บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) หาแนวทางการใช้ประโยชน์พื้นที่สโมสรวิทยุการบิน เชียงใหม่ เช่น การใช้เป็นพื้นที่เช็กอิน โหลดสัมภาระ หรือพื้นที่พักคอยสำหรับผู้โดยสาร โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านการบินขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ International Civil Aviation Organization (ICAO) รวมทั้งประสานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการร่วมกัน โดยให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ สร้างการรับรู้กับประชาชนในพื้นที่ให้มีความเข้าใจถึงประโยชน์ในโครงการของการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่จะมีการสร้างงาน สร้างรายได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดและประเทศ.