Thursday, 19 December 2024

โควิดสายพันธ์ุใหม่ JN.๑ ติดง่ายแพร่เร็ว พบในน้ำเน่าเสีย ระวังเชื้อลงลำไส้

11 Jan 2024
160

ผู้ป่วยโควิดทั่วโลกเพิ่มขึ้นหลังปีใหม่ตามการคาดการณ์ และโควิดสายพันธ์ุย่อยตัวใหม่ JN.๑ คาดกันว่าจะเข้ามาระบาดแทนที่สายพันธุ์อื่น กลายเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทย หลังระบาดไปกว่า ๕๑ ประเทศทั่วโลก จนกรมควบคุมโรคของไทย ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมกับการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ และไข้เลือดออกตัวเลขผู้ป่วยโควิดในไทยเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลกรมควบคุมโรคพบว่าระหว่างวันที่ ๓๑ ธ.ค. ๒๕๖๖ ถึง ๖ ม.ค. ๒๕๖๗ มีผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล จำนวน ๖๖๔ ราย หรือเฉลี่ย ๙๕ คนต่อวัน ส่วนผู้เสียชีวิต จำนวน ๔ ราย เฉลี่ย ๑ รายต่อวัน และผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งข้อมูลกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รายงานช่วง ๔ สัปดาห์ที่ผ่านมา พบโควิดสายพันธุ์ย่อย XBB และ EG.๕ ขณะที่สายพันธุ์ย่อยตัวใหม่ JN.๑ สายพันธุ์รุ่นลูกของโอมิครอนกำลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อาการผู้ป่วยโควิดสายพันธ์ุ JN.๑ จะคล้ายไข้หวัด มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ เหมือนโรคทางเดินหายใจ ระดับความรุนแรงของโรคไม่ได้เพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์เดิม แต่ติดต่อได้ง่ายและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว หากเป็นแล้วก็เป็นอีกได้ ทำให้ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกรมควบคุมโรค คาดว่าผู้ป่วยจะเริ่มลดลงหลังเข้าสู่เดือน ก.พ. แล้วจะสงบลงในเดือนมี.ค. จนไปถึงฤดูกาลใหม่ในเดือนมิ.ย. ๒๕๖๗โควิดสายพันธ์ุ JN.๑ พบครั้งแรกในสหรัฐฯ เป็นลูกของสายพันธุ์ BA.๒.๘๖ และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้เป็นสายพันธุ์ที่น่าสนใจ (Variants of Interest) เนื่องจากมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว อีกทั้งโปรตีนหนามเปลี่ยนไปจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ ทำให้สามารถหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายคนเราได้มากขึ้น จนผู้เชี่ยวชาญบางส่วนกังวล เกรงว่าจะยากต่อการรับมือ แต่วัคซีนยังคงช่วยป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตได้tt ttสายพันธ์ JN.๑ ไม่รุนแรง แต่ความร้ายกาจไม่ได้ลดลงด้วยเพราะโควิดสายพันธ์ุ JN.๑ สามารถหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้มากขึ้น “ศ.เกียรติคุณ ด็อกเตอร์วสันต์ จันทราทิตย์” หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ออกมาเตือนว่า แม้คนติดเชื้อโควิดสายพันธุ์นี้มีอาการไม่รุนแรง แต่ความร้ายกาจของมันไม่ได้ลดลง จากวิวัฒนาการของไวรัสมีการปรับตัว ทำให้องค์การอนามัยโลกต้องพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ๆ ออกมาป้องกันโควิดสายพันธ์ุใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องขณะเดียวกันโควิดสายพันธ์ุ JN.๑ มีการพบเชื้อในน้ำเน่าเสียหรือบ่อเกรอะ ซึ่งมีอุจจาระ และปัสสาวะ ทำให้สงสัยจะมีการแพร่เชื้อไปเกาะในลำไส้ อาจเกิดอาการทางเดินอาหาร จากเดิมเชื้ออยู่แค่ที่ปอด มีอาการทางเดินหายใจส่วนบนเพียงอย่างเดียวปัจจุบันต้องยอมรับประเทศไทยมีการถอดรหัสพันธุกรรมโควิด ได้น้อยลงและยากมากขึ้นเพราะงบน้อย เหมือนกับทั่วโลก อีกทั้งมีการตรวจหาเชื้อด้วย ATK กันที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่มีรายงาน และไม่มีตัวอย่างไวรัสในการถอดรหัสพันธุกรรม โดยขณะนี้ศูนย์จีโนมฯ กำลังหาตัวอย่างจากภาคเอกชนนำไปสุ่มตรวจถอดรหัสพันธุกรรม คาดว่าปลายเดือน มกราคมนี้ ก็น่าจะรู้ผลในการนำสายพันธุ์เดิมไปเทียบสายพันธ์ุ JN.๑ ในการทำฐานข้อมูลโควิดให้ทราบถึงสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้น“สายพันธ์ุ JN.๑ ในขณะนี้ดูหนักในสหรัฐฯ และสิงคโปร์ ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ถ้าถามถึงความรุนแรง ก็คล้ายๆ กัน ประมาณ ๖๐% ของคนติดเชื้อในสหรัฐฯ ถ้าเทียบกับสายพันธุ์เดิม มีคนเข้าโรงพยาบาล และตายไม่มาก แต่ระบาดเร็วมาก แม้อาการไม่รุนแรง แต่จะได้รับผลกระทบจากลองโควิด จะเกิดโรคในระบบอื่น ทำให้คนในสหรัฐฯ กลัวมากเรื่องลองโควิด บางคนตอนนี้ภูมิคุ้มกันดีพอสมควร แต่ภูมิป้องกันการติดเชื้อแผ่วลงมาก จนมีความเสี่ยงสูง จะทำอย่างไรให้ติดเชื้อน้อยลง ก็ต้องให้วัคซีนตัวใหม่โมโนวาเลนต์ จากสายพันธุ์ล่าสุด เพราะข้อมูลจากสหรัฐฯ ชี้ว่าเมื่อฉีดเข้าไป สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี โดยเฉพาะสายพันธ์ุ JN.๑”tt ttอย่าละเลยป้องกันตัวเอง วัคซีนยังช่วยได้ ไม่ให้ตายนอกจากนี้คนเกินครึ่งทั่วโลกเชื่อว่าการระบาดของโควิดได้ยุติไปแล้ว ทำให้ละเลยในการป้องกัน แม้แต่มาตรการต่างๆ ก็ยังหย่อนยานลง ตรงข้ามกับคนไทยแม้การ์ดจะตกลงบ้าง แต่ยังป้องกันตัวเองด้วยการสวมหน้ากากป้องกัน และมีคำถามว่าวัคซีนรุ่นใหม่ ในไทยมีหรือไม่ ซึ่งก็ไม่มี หรืออาจมีในโรงพยาบาลเอกชน ส่วนภาครัฐ ยังคงนำเข้าวัคซีนแต่เป็นรุ่นเก่า ป้องกันสายพันธ์ุ JN.๑ ไม่ได้ แต่ป้องกันการเสียชีวิตได้หรือบางคนคิดว่าติดเชื้อโควิดเหมือนไข้หวัดใหญ่ แต่ต้องระวังลองโควิด และมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่า ๒ เท่า ถ้าเทียบกับไข้หวัดใหญ่ จึงอยากให้คนตระหนักในการป้องกันตัวเอง หากรัฐบาลลงทุนระบบไอทีในการตรวจ ATK จะทำให้การรายงานผลทำได้อย่างเต็มที่ ในการสุ่มตรวจถอดรหัสพันธุกรรม จะช่วยในการวางแผนป้องกันและรักษา ส่วนการฉีดวัคซีน อาจทำเฉพาะกลุ่มเสี่ยง และคนทั่วไปควรสวมหน้ากากป้องกัน รวมถึงการกินร้อน ช้อนกลางtt ttคำแนะนำในการฉีดวัคซีนสำหรับคนทั่วไป ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในทุกๆ ปีในกลุ่มที่มีความเสี่ยง หรือถ้าสุขภาพแข็งแรง คิดว่าไม่มีความเสี่ยง ก็ไม่ต้องฉีด เพราะบางคนกลัวอาการผลข้างเคียงทั้งที่ความจริงมีน้อยมาก แต่ควรป้องกันตัวเองให้มากๆ และในกรณีติดเชื้อโควิด หากช่วง ๑-๓ วัน อาการไม่ดีขึ้น ต้องไปพบแพทย์และกินยาต้านไวรัสหากการตรวจ ATK บางครั้งไม่พบผลบวก เพราะปริมาณเชื้อไวรัสไม่มาก และหลายคนจะมีอาการชัดขึ้นในวันที่ ๔ หรือ ๕ มีปริมาณไวรัสมากพอ จน ATK ตรวจจับได้ หรือบางคนติดเชื้อมีอาการไอมาก ไม่มีไข้ แต่มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ ไม่ควรประมาท ควรไปพบแพทย์ให้ตรวจอย่างละเอียด ในช่วงสถานการณ์โควิดกลับมาระบาดอีก.