Thursday, 19 December 2024

ผู้นำไต้หวันคนใหม่

16 Jan 2024
106

กลายเป็นเรื่องชัดเจนแล้วว่า “ไล่ ชิงเต๋อ” ตัวแทนพรรครัฐบาลประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) ของไต้หวัน คือผู้ชนะศึกเลือกตั้งวันที่ ๑๓ ม.ค. อย่างเป็นทางการ และมีกำหนดเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งผู้นำคนใหม่แทนประธานาธิบดี “ไช่ อิงเหวิน” ในเดือน พฤษภาคมนี้ไล่ ชิงเต๋อ วัย ๖๔ ปี หรือชื่อภาษาอังกฤษ ว่า “วิลเลียม ไล่” จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดอันโด่งดังในสหรัฐอเมริกา เริ่มเข้าสู่แวดวงการเมืองในปี ๒๕๔๑ ก่อนได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเมือง “ไถหนาน” ทางภาคใต้ของเกาะไต้หวัน เมื่อปี ๒๕๕๓ ตามด้วยการได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในยุครัฐบาลไช่ อิงเหวิน สมัยแรก และอัปสถานะเป็นรองประธานาธิบดีไต้หวัน ในรัฐบาลไช่ อิงเหวินสมัยสอง เมื่อปี ๒๕๖๓ในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไล่ ชิงเต๋อเคยประกาศจุดยืนว่าจะพัฒนาความร่วมมือกับชาติ “ประชาธิปไตย” อื่นๆ โดยส่งสัญญาณว่ามุ่งเน้นความสัมพันธ์กับ “สหรัฐฯ” และ “ญี่ปุ่น”อย่างไรก็ตาม เจ้าตัวเคยสร้างประเด็นให้กับรัฐบาลสหรัฐฯมาแล้ว หลังประกาศความหวังว่า สักวันหนึ่งประธานาธิบดีไต้หวันจะได้รับอนุญาตให้เข้าเยือนทำเนียบขาว กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แบบเดียวกับ “ผู้นำประเทศ” คนอื่นๆ และ ถึงแม้สหรัฐฯจะไม่ยอมให้นักการเมืองระดับสูงของไต้หวันเยือนกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แต่ไล่ ชิงเต๋อ ก็เคยเยือนเมืองหลวงอเมริกามาแล้ว โดยประกาศว่าเป็นทริปส่วนตัวด้านรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ ต่อต้านการ “แลกเปลี่ยน” อย่างเป็นทางการระหว่างสหรัฐฯกับไต้หวัน เนื่องจากยึดถือหลักการ “จีนเดียว” โดยเมื่อเดือน สิงหาคมปีก่อน เคยประกาศตีตราว่าไล่ ชิงเต๋อคือ ตัวสร้างปัญหา และการไปเยือนสหรัฐฯครั้งนั้นถือเป็นการละเมิดหลักการจีนเดียวอย่างร้ายแรง ทั้งเคยใช้มาตรการคว่ำบาตรกับ “เซียว บีคิม” คู่หูรองประธานาธิบดีไต้หวัน ของว่าที่ผู้นำไล่ ชิงเต๋อด้วยปัจจัยเหล่านี้ จึงไม่แปลกแต่อย่างใด ที่รัฐบาลสหรัฐฯจึงต้องเล่นบทบาทลดความตึงเครียด และประกาศจุดยืนว่า สหรัฐฯไม่สนับสนุน “เอกราช” ไต้หวัน เพื่อรักษา “สถานะ ที่เป็นอยู่” ตามแผน “ยุทธศาสตร์แบบคลุมเครือ” ที่สหรัฐฯใช้ดำเนินความสัมพันธ์กับไต้หวันมาโดยตลอด.ตุ๊ ปากเกร็ดคลิกอ่านคอลัมน์ “หน้าต่างโลก” เพิ่มเติม