Sunday, 19 January 2025

ปี ๖๗ โควิดยังอยู่นะจ๊ะ JN.๑ครองการระบาด

17 Jan 2024
118

ข้อมูลล่าสุดเสมือนคำเตือนดังๆ จาก Dr. Maria Van Kerkhove ซึ่งเป็น WHO COVID–๑๙ technical lead ระบุ ไตรมาสสุดท้ายของปี ๒๐๒๓ ที่ผ่านมา “จำนวนผู้ป่วย”…รักษาตัวในโรงพยาบาลทั่วโลกเพิ่มขึ้น ๔๒% และ “จำนวนผู้ป่วยหนัก”…ในไอซียูเพิ่มถึง ๖๒%นอกจากนี้ “จำนวนคนเสียชีวิต” ทั่วโลกที่รายงานไปยัง WHOนั้นทะลุเกิน ๗ ล้านคนไปแล้ว โดยองค์การอนามัยโลกประเมินว่าจำนวนเสียชีวิตจริงทั่วโลกนั้นมากกว่าที่รายงานอย่างน้อย ๓ เท่าปัจจุบันโควิดสายพันธุ์ “JN.๑” ครองการระบาดหลัก โดยตรวจพบมากกว่า ๕๐%แน่นอนว่า “WHO” เน้นย้ำความสำคัญของมาตรการควบคุมป้องกันโรคภายในประเทศ การตรวจสายพันธุ์ รวมถึงพฤติกรรมป้องกันตัวของประชาชน ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ใส่หน้ากาก การตรวจโรค วัคซีน และการเข้าถึงยารักษามาตรฐานดังนั้น…ไม่ควรเชื่อข่าวลวงที่พยายาม “minimize harm”…ลดอันตรายให้เหลือน้อยที่สุด“โควิด–๑๙ นั้นทำให้ป่วยได้ ตายได้ ไม่ใช่หวัดธรรมดาครับ”tt ttรศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัว “Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)” ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับไวรัสร้าย “โควิด–๑๙” ที่ยังไม่จบง่ายๆอีกว่า ตัวเลขราว ๑๐% คือความเสี่ยง “ลองโควิด” จากการติดเชื้อ…การได้รับวัคซีนมาก่อนตั้งแต่ ๒ เข็มขึ้นไป และการได้รับยาต้านไวรัสมาตรฐานในการรักษา…จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้ราวครึ่งหนึ่งอย่างไรก็ตาม การติดแต่ละครั้งมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการต่อเนื่องยาวนานหลายเดือน ในสัดส่วน ๓๐-๖๐% เมื่อทราบข้อมูลเช่นนี้ ไตร่ตรอง และตัดสินใจเลือกทางปฏิบัติของเราเอง หากใส่ใจสุขภาพ ความเสี่ยงย่อมน้อยกว่า…ทั้งนี้ หากติดเชื้อก็รีบตรวจรักษาและปฏิบัติตัวให้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อตัวคุณและคนใกล้ชิด“ติดซ้ำๆ ไม่ควรโชว์ proud…(ภูมิใจ) นะครับ…เห็นหลายคนอวดเพื่อนฝูงกันว่า ฉันติดครั้ง ๒, ๓, ๔, ๕ ไม่เห็นเป็นอะไรเลย แป๊บเดียวก็หาย…ขอเตือนด้วยข้อมูลทางวิชาการว่า การติดโควิดแต่ละครั้งนั้นล้วนมีความเสี่ยงตามมาเสมอ ทั้งการป่วย เสียชีวิต รวมถึงลองโควิดอีกด้วย”แม้โอกาสไม่มาก แต่หากเกิดปัญหาขึ้นมา อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายต่างๆในระยะยาว“ลองโควิด” นั้นเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติในระบบต่างๆของร่างกายได้แทบทุกระบบ ตั้งแต่…สมอง ระบบประสาท ระบบหายใจ หัวใจ และหลอดเลือด ทางเดินอาหารรวมถึงการเพิ่มความเสี่ยงของโรคเรื้อรังอย่าง “เบาหวาน” อีกด้วยซึ่งกลไกการทำให้เกิดปัญหานี้มีหลายกลไก เช่น การติดเชื้อคงค้างระยะยาว การคงค้างของชิ้นส่วนไวรัสในร่างกาย การเกิดกระบวนการอักเสบเรื้อรังต่อเนื่อง การกระตุ้นให้เกิดภูมิต่อต้านตนเอง ฯลฯดังนั้น จึงควรมีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอtt ttพลิกแฟ้มข้อมูลโควิดสายพันธุ์ “JN.๑ (BA.๒.๘๖.๑.๑)” ที่ติดกันมาก แพร่ง่าย เพราะดื้อต่อภูมิคุ้มกัน น่าสนใจด้วยว่างานวิจัยมากมายชี้ให้เห็นว่ามีสมรรถนะจับตัวรับ ACE๒ ที่ผิวเซลล์ได้แน่นกว่าตัวพ่อแม่อย่าง BA.๒.๘๖ ติด…แล้วป่วยได้ รุนแรงได้ ลงปอดได้ ตายได้ และเสี่ยงต่อลองโควิดด้วยอย่าเชื่อข่าวลวง…โควิด–๑๙ ไม่ใช่หวัดธรรมดา ไม่ใช่หวัดใหญ่ และยังไม่ใช่โรคระบาดตามฤดูกาลดูตัวเลขที่ป่วย ตาย และภาวะเรื้อรัง ที่ทั่วโลกฉายให้เห็น หรือมองรอบตัวตลอดหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน คนที่มีสติและปัญญาย่อมประจักษ์ชัดด้วยตนเองย้ำอีกครั้งว่า ขอให้จดจำบทเรียนที่ผ่านมาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างและเพราะเหตุใด เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ทำในสิ่งที่ควรทำ ควรป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอครับ อย่าให้เราตกไปสู่ภาวะที่ “ไม่น่าเลย…รู้งี้…” เลยครับ…เพราะไม่มีทางที่จะนั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลากลับไปแก้ไขได้เสริมด้วยข้อมูลจากงานวิจัยล่าสุดของประเทศญี่ปุ่น เพิ่งเผยแพร่ใน The Lancet Infectious Diseases (๓ มกราคม ๒๐๒๔)แสดงให้เห็นว่า “JN.๑” นั้นดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆหลายเท่า…เราจึงไม่แปลกใจที่คนติดกันตรึม ตอนนี้ไม่ว่าจะติดครั้งแรกหรือคนที่เคยติดเชื้อมาก่อนก็ติดซ้ำได้ง่ายหากไม่ป้องกันตัวอย่างที่เกริ่นไปแล้วในตอนต้น…“JN.๑” แพร่ระบาดในขณะนี้ครองสัดส่วนหลักทั่วโลก ตรวจพบแล้วอย่างน้อยใน ๕๑ ประเทศ ตลอดการระบาดของโควิด-๑๙ จนถึงปี ๒๐๒๔ ซึ่งนับเป็นปีที่ ๕ แล้วนั้น จะพบว่าเราเจอลักษณะของไวรัสที่มีการกลายพันธุ์มากภายในครั้งเดียว (hypermutated virus) ไม่บ่อยนักครั้งสุดท้ายที่พบคือ การเกิดขึ้นของ “โอมิครอน” ซึ่งมีการกลายพันธุ์มากกว่า ๓๐ ตำแหน่ง เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ก่อนหน้าอย่าง “เดลต้า”…ที่จริงแล้ว JN.๑ หรือ BA.๒.๘๖.๑.๑ (รวมถึงรุ่นพ่อแม่คือ BA.๒.๘๖) มีการกลายพันธุ์มากกว่า ๓๐ ตำแหน่งเช่นกัน เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ที่ระบาดก่อนหน้าอย่าง XBB.๑.๕ด้วยลักษณะการกลายพันธุ์ของ JN.๑ เช่นนี้ เราจึงไม่แปลกใจที่ระลอกที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่นี้ จึงมีการติดเชื้อแพร่เชื้อกันจำนวนมากมายและรวดเร็วtt ttสอดคล้องกับข้อมูลการระบาดในอเมริกา ข้อมูลจาก US CDC ชี้ให้เห็นว่า JN.๑ (BA.๒.๘๖.๑.๑) เป็นสายพันธุ์ที่ครองการระบาดหลักในประเทศสหรัฐอเมริกา ทุกภูมิภาคปัจจุบันมีสัดส่วนตรวจพบสูงถึง ๖๑.๖%ปรากฏการณ์ลักษณะนี้นับเป็นครั้งแรกในรอบปีกว่าๆที่ผ่านมา ที่มีสายพันธุ์หลักครองการระบาด บ่งชี้ถึงสมรรถนะของ JN.๑ ที่แพร่ระบาดได้เร็ว เนื่องจากดื้อต่อภูมิคุ้มกันอย่างมาก และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของประชากรในสังคมที่ไม่ได้ระแวดระวังป้องกันตัวอย่างดีพอ“มนุษย์” เรานั้นมีคุณสมบัติที่ดีคือ การปรับตัวเพื่อรับมือกับภัยคุกคาม เพื่อให้มีสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิต และให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ดังนั้นการปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคระบาดนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง หากไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ไม่ได้ใส่ใจอย่างเพียงพอก็จะเสี่ยงที่จะติดเชื้อ แพร่เชื้อ ป่วย เสียชีวิตtt ttการศึกษาจากสวีเดนและนอร์เวย์ (medRxiv) ชี้ให้เห็นว่า การทำงาน การเดินทาง การจับจ่ายซื้อของ และการท่องเที่ยวหย่อนใจเป็นกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่สัมพันธ์กับการแพร่เชื้อติดเชื้อโรคโควิด-๑๙ ถึง ๔๐-๖๐% ของจำนวนการติดเชื้อทั้งหมด…๔ กิจกรรมดังกล่าวจึงควรให้ความใส่ใจ ระมัดระวัง ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอสำหรับไทยเรา รอบตัวตอนนี้จะเห็นได้ว่า “ติดเชื้อ” และ “ป่วย” กันมากมายเน้นย้ำเรื่องการมีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ หากไม่สบายควรหยุดไปตรวจรักษาให้หายดีเสียก่อน ไม่งั้นคนรอบข้างจะติดเชื้อกันได้มาก“ป่วยมีอาการ ตรวจวันแรกๆได้ผลลบ อย่าชะล่าใจ ให้ตรวจซ้ำจนถึงวันที่ ๔-๕ หลังจากเริ่มมีอาการป่วย เพราะไวรัสจะพีกช่วงนั้นครับ…การใส่หน้ากากป้องกันตัวจะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก”อาการไอเป็นสิ่งที่สังเกตได้ง่ายที่สุด…และเตือนให้เราพยายามรักษาระยะห่าง ป้องกันตัว ใส่หน้ากาก ลดระยะเวลาคลุกคลีใกล้ชิด แม้ “ฝุ่น” เยอะจะส่งผลให้ระคายเคืองทางเดินหายใจ ไอ ระคายคอ มีน้ำมูกได้ แต่อย่าเพิ่งปักใจว่าเป็นเหตุจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ…“โควิด–๑๙”.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม