Thursday, 21 November 2024

ตัวเลข ทฤษฎี โศกนาฏกรรม

กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขคาดการณ์ อัตราเงินเฟ้อ ทั่วไปในปี ๒๕๖๗ จะอยู่ที่ระดับ-๐.๓-๑.๗% อัตราเงินเฟ้อในปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ ๑.๒๓% ซึ่งถ้ายึดตามตัวเลขนี้ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน สามารถที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาได้ปัญหาการขาดสภาพคล่องของเม็ดเงินในระบบเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง การขาดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ เสริมสภาพคล่องของธุรกิจ ทำให้รัฐต้องแบกรับภาระหนี้จากการลงทุนและการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าปัจจัยของอัตราเงินเฟ้อและตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน เช่น การเพิ่มเม็ดเงินเข้าไปในระบบ การลดอัตราดอกเบี้ย เป็นเพียงทางออกบางส่วนในการบรรเทาวิกฤติ เนื่องจากบริษัทเอกชนที่มีความเปราะบาง มีความเสี่ยงเรื่องเม็ดเงินการลงทุน เริ่มไม่สามารถชำระหนี้ได้ ประสบปัญหาสภาพคล่องและเริ่มปิดตัวไปบ้างแล้วหนี้คงค้างในตลาดตราสารหนี้ ปีที่แล้วมีมูลค่า ๑๕.๘ ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นพันธบัตรรัฐบาล ๗.๘ ล้านล้านบาท หุ้นกู้เอกชน ๔.๕ ล้านล้านบาท และอื่นๆอีก ๓.๕ล้านล้านบาท ดังนั้นการที่รัฐต้องการจะออกพันธบัตรเพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้ในโครงการต่างๆตามนโยบายของรัฐจึงไม่ราบรื่นการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังเป็นบวก ส่งสัญญาณว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงกับเกิดสภาวะเงินฝืด หลังจากที่มีความพยายามในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ตามเป้าหมายมีเสียงเรียกร้องให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย พิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยเชิงนโยบายลงมาบ้าง จะได้ช่วยเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจอีกแรง แต่ปัญหาคือ บริษัทหรือธุรกิจเปราะบาง มีภาระหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบในช่วงที่เกิดวิกฤติโรคระบาดโควิด-๑๙ ประกอบกับกำลังการบริโภคที่หายตามไปด้วย การฟื้นตัวหรือการดำเนินธุรกิจต่อไปจึงเป็นไปด้วยความยากลำบากตกอยู่ในสภาพ ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่ายการเรียกร้องให้มีการลดดอกเบี้ย หรือปล่อยให้ค่าเงินเคลื่อนไหวตามกลไก จึงเป็นการเปิดช่องทางและโอกาสทางธุรกิจ ส่วนภาคธุรกิจ ภาคเอกชน จะดิ้นรนต่อไปได้อย่างไร ยังมีปัจจัยอื่นที่จะต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วยมีหนี้บ้านหนี้รถ ที่มีปัญหาผ่อนต่อไม่ไหว ค้างค่างวด พุ่งกว่าร้อยละ ๓๗ แนวโน้มยอดปฏิเสธสินเชื่อบ้านอาจเพิ่มขึ้นร้อยละ ๖๐มีประชากรไทย ไม่ต่ำกว่า ๒๕ ล้านคน มีภาระหนี้รุนแรง จากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น และการขาดสภาพคล่องทางธุรกิจ มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย มีมูลค่าหนี้เพิ่มขึ้น ๒-๓ เท่าในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมาและก่อให้เกิดหนี้เสีย ๒ ใน ๓ เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือหนี้เสีย ที่ไม่ได้มาจากการลงทุนแต่เกิดจากการดำรงชีวิตประจำวันทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สูงถึงร้อยละ ๒๐ คนไทยทุกเพศทุกวัย ตกอยู่ในสภาพที่ต้องแบกรับภาระหนี้ครัวเรือน หนี้สาธารณะและหนี้นอกระบบ เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น่ากังวลเข้าสู่สังคมหนี้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด.หมัดเหล็กmudlek@thairath.co.thคลิกอ่านคอลัมน์ “คาบลูกคาบดอก” เพิ่มเติม