“รองนายกฯ สมศักดิ์” สั่งปรับแก้กฎหมายคุมโรงงานพลุชุมชน หวั่นระเบิดซ้ำ หลัง EOD รายงานว่า พื้นที่โรงงานมีสัดส่วนไม่เหมาะสม พบเครื่องครัว อุปกรณ์ไฟฟ้า ใกล้จุดประกอบพลุ จี้ออกใบมรณบัตรให้เสร็จทุกรายภายในวันนี้วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๗ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมแนวทางการบริหารจัดการการอนุญาตให้ทำและค้าดอกไม้เพลิง การเยียวยา และแนวทางการแก้ไขในอนาคต ณ ห้องประชุม ๓๐๑ ตึกบัญชาการ ๑ ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งมีตัวแทนจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม อาทิ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และภาคเอกชนนายสมศักดิ์ ระบุว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้มีการแก้ไขปัญหาโรงงานพลุไฟ และสถานที่เก็บวัตถุอันตรายไม่ให้เกิดเหตุระเบิดอีก โดยที่ประชุมได้สรุปแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งพบว่าจริงๆ แล้วมีประกาศเรื่องเกี่ยวกับพลุไฟ ๕ กระทรวง ซึ่งได้มาประชุมทั้งหมด และมาดูรายละเอียดนำมาซึ่งประกาศร่วมกัน วันนี้ได้ตรวจสอบประกาศ เบื้องต้นมีการระบุถึงระเบียบเรื่องสถานที่อาคารที่มีการเก็บวัตถุระเบิด และผลิต แต่ในที่ประชุมมีมติปรับแก้ประกาศกลางทั้ง ๕ กระทรวง เพื่อเพิ่มความปลอดภัย โดยมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมไปร่างกฎหมายโรงงานพลุที่ใช้กำลังคนทำพลุ เนื่องจากอยู่นอกกระทรวงอุตสาหกรรมควบคุม เพราะเป็นโรงงานไม่มีเครื่องจักร หรือมีเครื่องจักรที่มีกำลังน้อยกว่า ๕๐ แรงม้า มีคนงานน้อยกว่า ๕๐ คน ทำให้ไม่ขึ้นตรงกับกฎหมายกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งจะต้องมีการปรับแก้ไข โดยมอบหมายให้รองปลัดไปจัดทำร่าง และสั่งให้ ๕ กระทรวงออกตรวจตราโรงงานพลุตามหน้าที่ และร่างประกาศให้เสร็จภายใน ๗-๑๐ วัน ด้าน นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่า ทั้ง ๕ กระทรวงจะไปหาแนวทางปรับแก้ประกาศควบคุมโรงงาน สถานที่เก็บ โกดัง และสถานที่จำหน่ายพลุไฟต้องมีรายละเอียดอย่างไร ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ส่วนการปรับ พระราชบัญญัติโรงงาน ที่มีการปรับปรุงในปี ๒๕๖๒ ครอบคลุมเฉพาะโรงงานที่มีเครื่องจักรเกิน ๕๐ แรงม้า และมีคนงานเกิน ๕๐ คน ทำให้ตอนนี้มีโรงงานพลุ แค่ ๘ แห่งเท่านั้นที่อยู่ใต้กำกับของกระทรวงอุตสาหกรรม ส่วน ๔๒ โรง ที่ถูกจำหน่ายออกไปตาม พระราชบัญญัติโรงงาน เช่น โรงงานพลุที่เกิดเหตุใน จ.สุพรรณบุรี และ จ.นราธิวาส ไม่ได้อยู่ในการกำกับ ซึ่งทางกระทรวงอุตสาหกรรมรับคำสั่งมติที่ประชุมทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทยเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของโรงงานพลุ ๔๒ แห่ง ส่วนการประกอบกิจการโรงงานพลุ เดิมทีมีข้อปฏิบัติที่ดาวน์โหลดจากกระทรวงได้ สำหรับโรงงานพลุ ๔๒ แห่ง ทางกระทรวงอุตสาหกรรมจะเข้าไปตรวจ โดยได้สั่งการให้สำรวจหาโรงงานพลุเข้าไปตรวจสอบดูแลภายใต้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครอง ส่วนแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกิจการพลุ ซึ่งมีการตรวจสอบมีแนวปฏิบัติให้เป็นไปทิศทางเดียวกัน ส่วนการแก้ประกาศกลาง คาดใช้เวลาไม่นานเพราะเคยเสนอให้มีการปรับแก้ไขไปแล้วในปี ๒๕๖๒ ด้านนายสมชัย เลิศประสิทธิพันธ์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ระบุว่าในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทยที่มีข้อบังคับเกี่ยวกับสถานที่เก็บ และร้านจำหน่ายดอกไม้เพลิง รวมถึงโรงงานผลิต จากข้อมูลขณะนี้มี ๑,๒๐๐ แห่ง ส่วนใหญ่เป็นร้านค้าเฉพาะฤดูกาลขอเพื่อจำหน่าย แต่ที่เป็นโรงงานผลิตน่าจะมีน้อย ตอนนี้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ออกตรวจดู ส่วนที่จะตรวจนำไปปรับปรุง เป็นด้านสถานที่ ความแข็งแรง จำกัดจำนวนสารเคมี สารตั้งต้น เป็นต้น ส่วนปัญหาสถานที่โรงงานพลุที่ทำให้เกิดการระเบิดนั้น นายสมชัย ระบุว่า จากรายงานของหน่วยงานเก็บกู้ EOD พบว่า โรงงานพลุที่สุพรรณบุรีมีหลายสัดส่วนอยู่ด้วยกัน ทั้งส่วนผลิตพลุ ห้องครัว ทำอาหารใกล้เคียง และที่จัดเก็บสารเคมี มีอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ อยู่ในบริเวณเดียวกันที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้ระเบิด ซึ่งตามหลักเกณฑ์ไม่ควรเป็นแบบนั้น ทั้งนี้รอเจ้าหน้าที่รายงานสาเหตุการเกิดระเบิดอีกครั้ง ส่วนพื้นที่โรงงานพลุอีก ๔๒ แห่งมีลักษณะคล้ายที่โรงงานพลุจังหวัดสุพรรณบุรีหรือไม่ นายสมชัย ระบุว่า จะต้องออกไปตรวจตามสถานที่ ยอมรับว่าบางโรรงานผลิตพลุตามภูมิปัญญาชาวบ้าน ไม่ได้มีมาตรฐานความปลอดภัยเท่าที่ควร ส่วนที่ประกาศ รวม ๕ กระทรวงนี้ควบคุมแค่สถานที่จำหน่าย ใบอนุญาตนำเข้า ในการผลิตลักษณะโรงงานขนาดเล็กนั้นไม่ได้อยู่ในการควบคุมกฎหมาย ซึ่งจะต้องไปปรับแก้ สำหรับวันนี้ นายสมศักดิ์ ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เร่งรีบในการออกใบมรณบัตรให้เสร็จทุกรายภายในวันนี้ และแต่งตั้งผู้จัดการมรดก สำหรับครอบครัวที่สูญเสียพ่อแม่ หรือสูญเสียเสาหลักครอบครัว ที่จะได้สิทธิ์เงินเพิ่มขึ้นมา ๓๐,๐๐๐-๕๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่มีปัญหาอยู่ขณะนี้คือการตรวจดีเอ็นเอ เนื่องจากสภาพร่างกายผู้เสียชีวิตบางรายไม่ชัดเจน.tt ttนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี
“สมศักดิ์” เผยสาเหตุโรงงานพลุระเบิด ห้องผลิต ห้องครัว ห้องเก็บสารเคมี อยู่ใกล้กัน
Related posts