ต้องยอมรับว่าผลการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลชุดก่อน โดยฝ่ายค้านชุดก่อน ตั้งแต่ปี ๒๕๖๕ มีส่วนสำคัญให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ๗ ต่อ ๕ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีคมนาคม ตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๖ ในความผิด เกี่ยวกับการถือหุ้นคำวินิจฉัยของศาลระบุว่า นายศักดิ์สยามคงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนบุรีเจริญ คอนสตรัคชั่น โดยมีนายศุภวัฒน์ เกษมสุทธิ์ ครอบครองหุ้นแทนมาโดยตลอด นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ถือเป็นเรื่องการจัดการทรัพย์สินส่วนบุคคล ไม่กังวลว่าอาจถูกยุบพรรครองหัวหน้าพรรคคนหนึ่งยืนยัน นายศักดิ์สยามไม่ได้ทุจริต ไม่มีอะไรเสียหาย เป็นเรื่องส่วนบุคคลก็จริง แต่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา เป็นถึงรัฐมนตรีเป็น สส. และเป็นเลขาธิการพรรคใหญ่อันดับ ๒ ของรัฐบาล นักวิเคราะห์การเมืองบางส่วนฟันธงว่าอาจมีการร้องเรียนให้ยุบพรรคภูมิใจไทย ตามกฎหมายเลือกตั้งมาตรา ๗๒ ของกฎหมายการเลือกตั้ง สส. ห้ามมิให้พรรคหรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรครับบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน ที่รู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าฝ่าฝืนพรรคอาจถูกยุบ ตาม พ.ร.ป.การเลือกตั้ง ม.๙๒ มีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี และถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งทางการเมืองตลอดชีวิตสส.หรือรัฐมนตรีหรือนายก รัฐมนตรีผู้ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ ม.๑๘๗ ถือเป็นการกระทำผิดที่เรียกว่า “การขัดกันแห่งผลประโยชน์” กฎหมายยังห้ามรัฐมนตรีไม่ให้เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการหุ้น หรือกิจการของบริษัท เพราะรัฐมนตรีมีหน้าที่ปกป้องประโยชน์ของประเทศ เช่น การก่อสร้างถนนต้องคุ้มค่าขณะเดียวกันรัฐมนตรียังมีอีกสถานะคือ เป็นเจ้าของบริษัทที่มีสัญญาสัมปทานกับรัฐ จึงต้องปกป้องผลประโยชน์ของบริษัท ก่อให้เกิดความขัดแย้งของ ๒ ประโยชน์ คือ ประโยชน์ของประเทศ และประโยชน์บริษัทส่วนตัว จะเลือกปกป้องผลประโยชน์ใคร โดยปกติมนุษย์ส่วนใหญ่จะเลือกปกป้องประโยชน์ส่วนตนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ทำให้นายศักดิ์สยามพ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรี และต้องลาออกจาก สส.และเลขาธิการพรรคใหญ่ ต้องถือว่าส่วนหนึ่งเป็นผลจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีโดยพรรคฝ่ายค้าน โดยปกติการอภิปรายมักจบลงด้วยชัยชนะของรัฐมนตรี เพราะคุมเสียงข้างมาก แต่ฝ่ายค้านก็ชนะได้ถ้าเก่งจริง.คลิกอ่านคอลัมน์ “บทบรรณาธิการ” เพิ่มเติม
Related posts