Thursday, 19 December 2024

ส่องนโยบายเรือธงรัฐบาลลุยไฟ เสี่ยงตกม้าตาย

“เตือนเสี่ยงผิดกฎหมาย ขอเสนอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทบทวน”ระดับผู้ที่ผ่านการกำกับนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน ส่งสัญญาณถึงรัฐบาลเพื่อไทย (พท.) มี นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการคลัง ให้ระวังเข็นนโยบายเรือธงดิจิทัลวอลเล็ตโดย นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รัฐมนตรีว่าการคลัง ลูกหม้อแบงก์ชาติ (ธนาคารแห่งประเทศไทย) สมัยรัฐบาล พท. มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกฯ ออกโรงคนแรกๆไม่เห็นด้วย หลังพรรค พท.ออกแคมเปญนี้จนสะเทือนวงการแข่งขันเลือกตั้งเพราะเอาพลังทางการคลัง ภาษีที่เป็นเงินของประชาชน ไปแจกในลักษณะเหวี่ยงแห เพื่อกระตุ้นการอุปโภคบริโภค แจกมากไป เพิ่มภาระการคลัง และหนี้สาธารณะโดยไม่จำเป็น ไม่เน้นเฉพาะคนเปราะบาง นโยบายการคลังควรเน้นเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศจุดขายอีกประการของนโยบายนี้ เน้นพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล นับเป็นก้าวแรกสำคัญทำให้ประเทศก้าวกระโดดขึ้นบันไดทีเดียว ๖-๗ ชั้นเปิดประตูสู่เศรษฐกิจดิจิทัล แบบนี้สังคมยอมรับได้พอดูแนวทางเดิมที่พรรค พท.จะใช้คล้ายเป็นสกุลเงินแบบหนึ่ง “คริปโตเคอร์เรนซี” เข้าข่ายขัด พระราชบัญญัติเงินตรา ทางทีมงานพรรค พท.ก็หาทางป้องกันความเสี่ยงใช้แอปเป๋าตัง เป็นเครื่องมือหลักพาประเทศก้าวกระโดด ที่ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีแบบไฟแลบ ความจริงมันไม่ใช่ เพราะยังใช้แอปเป๋าตังแบบเดิม“ทีมการเมือง” ถามว่า คณะกรรมการเพื่อศึกษาการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีเติมเงิน ๑ หมื่นบาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีนางสุภา ปิยะจิตติ อดีต ป.ป.ช. เป็นประธาน เตือนเสี่ยงต่อการเกิดทุจริตเชิงนโยบาย ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจพร้อมมีข้อเสนอพัฒนาบล็อกเชน เป็นประเด็นที่ท้าทาย ประเทศไทยทำได้ทันหรือไม่ ทันตามระยะเวลาที่กำหนดเริ่มใช้ดิจิทัลวอลเล็ตหรือไม่ขณะที่มีข้อเสนอจากบรรดาสตาร์ตอัพให้ทำดิจิทัลวอลเล็ต ผ่านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ที่ประกอบด้วยเครื่องมือสุดล้ำแห่งยุคที่เรียกว่า Internet of Asset-Public Blockchain ดาต้าไหลเวียนไม่ผ่านตัวกลาง ปลอดภัย รวดเร็ว ประหยัด ทุกองค์กรของรัฐ-เอกชนเสียบปลั๊กใช้ได้ทันทีแต่ดูเหมือนบล็อกเชนเครื่องมือสำคัญสำหรับ “ดิจิทัลวอเล็ต” และเครื่องมือสำคัญสำหรับ “บาทดิจิทัล” ของแบงก์ชาติด้วย แต่ทำแซนด์บ็อกซ์ยังไม่ไหลลื่น พรรค พท.จึงมีนโยบายสนับสนุนดิจิทัลบาท จุดนี้เป็นปมหนึ่งที่ขัดแย้งกันระหว่างพรรคเพื่อไทยกับแบงก์ชาติtt ttนายธีระชัย บอกว่า แบงก์ชาติพัฒนาโครงการอินทนนท์ที่เป็นจุดเริ่มต้นสกุล “ดิจิทัลบาท” และขยายบทบาทเชื่อมเหมือนเป็นร่มตัวกลางครอบสกุลดิจิทัลที่จะออกมาเพื่อพัฒนาให้คริปโตเคอร์เรนซีของประเทศไทย เพราะเรายังไม่มีสเตเบิลคอยน์ที่เป็นตัวเชื่อม หากทำให้เกิดได้ บล็อกเชนของไทยก็ไปอีกระดับหนึ่งขณะนี้แบงก์ชาติมีร่มอยู่แล้ว แต่รัฐบาลยังไม่สนใจที่ไปคุยกับแบงก์ชาติ แม้พรรค พท.มีนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ก็ไม่สนใจเครื่องมือที่แบงก์ชาติมีอยู่ เพราะต้องการพัฒนาเครื่องมือใหม่ให้เอกชนทำ เหมือนเดินคนละถนน“รัฐบาล และ รัฐมนตรีว่าการคลังไม่สนใจไปคุย เชื่อว่าแบงก์ชาติไม่พยายามต่อต้าน แต่ที่จะยอมให้เอกชนออกร่มมาครอบ เข้าข่ายเป็นเงินตรา ก็ต้องขออนุญาตแบงก์ชาติไทยไม่ควรให้เอกชนเป็นคนออก จะมีปัญหาด้านความมั่นคงตามมา เมื่อพูดมีร่ม ทั้งร่มของแบงก์ชาติหรือร่มเอกชน เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลร่มส่วนร่ม แจกเงินส่วนแจกเงิน คนละประเด็น กรณีในสหรัฐฯ ยุโรป สเตเบิลคอยน์ที่ออกมาเขาก็ไม่ได้แจกเงิน”“วิกฤติเศรษฐกิจ” นิยามต่างกัน ทำให้ รัฐมนตรีว่าการคลังกับผู้ว่าการแบงก์ชาติปะทะกันเป็นระยะกลายเป็นรอยร้าวของฝ่ายที่คุมนโยบายการคลัง และฝ่ายที่คุมนโยบายการเงิน นายธีระชัย บอกว่า ข้อขัดแย้งเท่าที่ดู เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก ได้ไม่คุมเสียอาทิ กลายเป็นไปสร้างหนี้ เพื่อมาแจก เป็นภาระงบประมาณ แจกแบบเหวี่ยงแหเกินความจำเป็น สร้างหนี้สาธารณะเพิ่ม ทั้งที่ไม่จำเป็น ถ้ารัฐบาลมีเงินอยู่ในเก๊ะ มีรายได้แต่ละปีเข้ามาเยอะ แบบนี้แจกไม่เป็นอะไรวิกฤติเศรษฐกิจ มีนิยามอย่างไร ถ้ามีวิกฤติจริงต้องออกเป็น พระราชบัญญัติหรือ พ.ร.ก. นายธีระชัย บอกว่า ตามหลักระบอบประชาธิปไตยต้องทำผ่าน “พระราชบัญญัติงบประมาณ” รัฐสภาอนุมัติ เพื่อความโปร่งใส อนุมัติไปแล้วยังมีกระบวนการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดแต่รัฐบาลนึกอยากกู้ก็กู้ หลุดออกจากกระบวนการงบประมาณไม่ได้ เกิดขึ้นง่ายไม่ได้ ถ้าทำได้ง่ายต่อไปต้องเลิกกระบวนการงบประมาณ ถึงได้ออกกฎหมายที่ใช้กระบวนการพิเศษ ต้องเกิดเหตุการณ์ ๒ อย่างเกิดวิกฤติใหญ่ เร่งด่วนถึงขั้นออกเป็นพ.ร.ก.เช่น วิกฤติต้มยำกุ้ง วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ โควิดระบาด หากไม่เกิดสภาพวิกฤติแบบนั้น ยังเปิดช่องให้กู้ได้โดยออกเป็น พ.ร.บ. ภายใต้เงื่อนไขที่เข้มข้นtt ttวิกฤติประเทศ-แก้ปัญหาต่อเนื่อง-ตั้งงบฯไม่ทัน“ที่ตั้งงบประมาณไม่ทัน มันก็ลำบากแล้ว เพราะรัฐบาลรู้ตัว แล้วยังเสนองบประมาณ และไม่เอาไปใส่เข้าไปในงบประมาณปี ๖๗ ตั้งได้แต่ไม่ตั้งคำว่าวิกฤติยังมีข้อถกเถียงจะยอมรับสภาพไหนถึงวิกฤติ วิกฤติต้มยำกุ้ง เจ๊งหมดแบบนี้ยอมรับได้ วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ก็เข้าใจได้แต่ขณะนี้ไม่ได้เกิดวิกฤติแบบนั้น ตรงนี้เป็นข้อสังเกตของ ป.ป.ช.ชุดเล็กถือว่าออกมาเตือน อาจมีคนท้าทายฟ้องศาล อาจเป็นศาลรัฐธรรมนูญว่าประเทศยังไม่วิกฤติ ขอย้ำเวลาสู้ในชั้นศาล ต้องมีหลักถกเถียงว่าอันนี้วิกฤติหรือไม่วิกฤติแนวทางหนึ่งที่นิยมอ้างอิง คือธนาคารโลก มีทั้งหมด ๗ ตัว แต่ดูแล้วไม่เข้าสักตัว รัฐบาลก็เหนื่อย”“วิกฤติเศรษฐกิจ” ตามหลักของธนาคารโลก ๑.ต้องเกิดวิกฤติต่อสถาบันการเงิน๒.ทุนสำรองต่ำ๓.เงินเฟ้อเกิน ๔๐% ต่อเดือน๔.สกุลเงินอ่อนค่ารุนแรง๕.หนี้สาธารณะเพิ่มมาก และเร็วเกินไป๖.ขาดดุลงบประมาณเรื้อรัง เกิน ๓๐%และ ๗.จีดีพีหดตัวหรือติดลบ ๒ ไตรมาสกำลังสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลผ่านด่านรัฐสภา แต่ไม่ผ่านด่านรัฐธรรมนูญ นายธีระชัย บอกว่า ไม่ชำนาญพอที่ไปแนะนำรัฐบาลแบบนั้น ในฐานะที่ผมเป็นประธานวิชาการพรรคพลังประชารัฐ เอาใจช่วยรัฐบาลฉะนั้นการนำเสนอต่อ ครม. ต้องทำให้ชัดเจน ปลอดภัยในแง่กฎหมาย เพื่อคุ้มครองคณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ต ข้าราชการที่เกี่ยวข้องไม่เช่นนั้นพรรคร่วมรัฐบาลคงยังมีข้อกังวลใจหากรัฐบาลย้ำว่าวิกฤติต้องหักล้าง ๗ ข้อนี้ให้ได้มีข้อเสนออย่างไรต่อรัฐบาลหลัง ป.ป.ช.ชุดเล็กส่งสัญญาณเตือนแบบนี้ นายธีระชัย บอกว่า สมมติเป็นเอกสารจริง ป.ป.ช.ชุดใหญ่คงคลอดเนื้อหาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเห็นชัดเจนมี ๘ เสี่ยง คือ ๑.ทุจริตเชิงนโยบาย ๒.ผิด พระราชบัญญัติเลือกตั้ง ๓.เอื้อทุนใหญ่ ๔.ไม่คุ้มค่าด้านเศรษฐกิจ ๕.ตีความวิกฤติเศรษฐกิจ ๖. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง ๗.แจกเหวี่ยงแห และ ๘.ตัวทวีคูณไม่เป็นไปตามคาดและมีข้อเสนอ คือ ๑.ให้กลุ่มเปราะบาง ๒.ระวังหาเสียงต่างจากทำจริง ๓.เศรษฐกิจยังไม่วิกฤติ ๔.ได้ไม่คุ้มเสีย สร้างหนี้เพิ่ม ๕ แสนล้านบาท ๕.พิจารณากฎหมายให้รอบคอบ ๖.ควรมีมาตรการป้องกันทุจริต ๗.ควรใช้เป๋าตังครม.ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ หลักนิติธรรม และนิติรัฐ เพื่อประโยชน์ของประเทศ และความผาสุกโดยรวมของประชาชนฉะนั้นรัฐบาลควรแจกเฉพาะคนเปราะบาง และเปลี่ยนจากการกู้มาใช้งบประมาณปกติแต่ถ้ารัฐบาลเดินหน้ากู้ ระวังติดคุกเพื่อไทยเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้ง.ทีมการเมืองคลิกอ่านคอลัมน์ “วิเคราะห์การเมือง” เพิ่มเติม