Thursday, 19 December 2024

สสส. สานพลัง ‘สมาคมฮักชุมชน’ ยก “เทศบาลตำบลสบเตี๊ยะ” เป็นพื้นที่ต้นแบบขับเคลื่อนการเลิกสุรา

24 Jan 2024
152

สสส. สานพลัง ‘สมาคมฮักชุมชน’ ลงพื้นที่ถอดบทเรียนความสำเร็จ “เทศบาลตำบลสบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่” มีศักยภาพพร้อมเป็น “พื้นที่ต้นแบบชุมชนสุขภาวะ” ขับเคลื่อนการเลิกสุราผ่านกิจกรรม “กลุ่มฮักครอบครัว” ช่วยเลิกดื่มสำเร็จนพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนที่ ๒ และประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ ๑ สสส. กล่าวภายหลังการลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้งานบูรณาการความปลอดภัยทางถนนและการลดปัจจัยเสี่ยงด้านแอลกอฮอล์ในระดับพื้นที่ที่เทศบาลตำบลสบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ว่า จากผลสำรวจสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในภูมิภาคของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี ๒๕๖๔tt ttพบภาคเหนือมีความชุกของนักดื่มมากที่สุดในประเทศคือ ๓๓.๑% โดยมีสัดส่วนผู้ที่ดื่มหนัก (ดื่มสุรา ๕-๗ วัน/สัปดาห์) ๓๙.๓% ของนักดื่มทั้งหมดที่มี ๒.๒ ล้านคน ซึ่งผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ ครอบครัว อุบัติเหตุและอาชญากรรมส่งผลต่อสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ๑๖๕,๔๕๐ ล้านบาท และเป็นปัจจัยทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร สร้างความสูญเสียกับประเทศในวงกว้าง สสส. จึงร่วมกับสมาคมฮักชุมชน ริเริ่มโครงการขับเคลื่อนการดูแลผู้มีปัญหาสุราและสุขภาวะโดยชุมชน เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าสู่กระบวนการ ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเน้นการทำงานผ่านชุมชน และวัด เพราะใกล้ชิดกลุ่มเป้าหมายและการป้องกันแก้ไขปัญหาในชุมชนร่วมกัน“การทำงานลดผลกระทบเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พื้นที่ ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ สะท้อนให้เห็นถึงความสามัคคีของหน่วยงานและคนในพื้นที่ที่ตระหนักถึงปัญหาน้ำเมาและช่วยกันทำให้ชุมชนห่างไกลปัจจัยเสี่ยง เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้คนทุกช่วงวัยมีกาย จิต ปัญญา และสังคมที่ดี ตรงตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ สสส. ที่ต้องการสร้างสังคมให้มีสุขภาวะ ทั้งนี้ สสส. ตั้งเป้าหมายให้พื้นที่ ต.สบเตี๊ยะ เป็น ๑ ในพื้นที่ต้นแบบการสานพลังภาคีเครือข่ายลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมุ่งขยายให้เกิดพื้นที่ต้นแบบในทุกภูมิภาคต่อไป นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวtt ttนางสาวรักชนก จินดาคำ นายกสมาคมฮักชุมชน กล่าวว่า โครงการขับเคลื่อนการดูแลผู้มีปัญหาสุราและสุขภาวะโดยชุมชน มีกระบวนการทำงาน ๒ รูปแบบ คือ ธรรมนำทาง และกลุ่มฮักครอบครัว ดำเนินการใน ๒๖ พื้นที่ ๙ จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕ จังหวัด ภาคเหนือ ๓ จังหวัด และกรุงเทพฯ เป็นรูปแบบธรรมนำทาง ๑๐ พื้นที่ รูปแบบกลุ่มฮักครอบครัว ๑๖ พื้นที่ โดยสร้างกลไกขับเคลื่อนงานที่ชุมชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของปัญหา มีความเข้าใจ มีความรู้ ทักษะ มีเครื่องมือดูแลผู้มีปัญหาสุราที่พร้อมดำเนินการบำบัดดูแลผู้มีปัญหาสุรา โดยที่ต.สบเตี๊ยะมีการขับเคลื่อนงานร่วมกับอปท.และหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เป็นกลไกการทำงานขับเคลื่อนการดูแลผู้มีปัญหาสุราโดยชุมชน เพื่อให้ผู้มีปัญหาสุรามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก ดื่มสุรา มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนในครอบครัวและชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น“การทำงานในพื้นที่นำร่อง ๘ หมู่บ้าน ในต.สบเตี๊ยะเป็นรูปแบบกลุ่มฮักครอบครัว ดำเนินการมา ในระยะ ๒ ปี มีการอบรม พัฒนาทักษะคนในพื้นที่ ๑๒๔ คน ให้มีความรู้ด้านบริหารจัดการ และการจัดกิจกรรมกลุ่มฮักครอบครัว บำบัดการเลิกเหล้า โดยมีผู้มีปัญหาจากการดื่มสุราที่มีแนวโน้มดื่มจนทำให้เกิดปัญหากับตนเอง ครอบครัว และชุมชน เข้าร่วม ๕๕ คน สามารถปรับพฤติกรรมการดื่มสุรา มีผู้ที่เลิกดื่มสำเร็จ ๑๒ คน (๒๒%) ลดการดื่ม ๓๘ คน (๖๙%) ดื่มในระดับเดิม ๔ คน (๗%) และเสียชีวิตด้วยโรคประจำตัว ๑ คน ทั้งนี้ ผู้มีปัญหาสุราส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยลดการดื่มสุรา มีสุขภาพดีขึ้น ได้รับโอกาสมีการจ้างงาน มีความเข้าใจในครอบครัวมากขึ้นและเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนมากขึ้น” นางสาวรักชนกกล่าวtt ttนายอภิวัฒน์ วังใจชิด ผู้ใหญ่บ้านบ้านห้วยโจ้ หมู่ที่ ๘ ต.สบเตี๊ยะ ๑ ใน ๘ หมู่บ้านนำร่องกลุ่มฮักครอบครัว จากทั้งหมด ๒๑ หมู่บ้านในต.สบเตี๊ยะ ในฐานะผู้นำกลุ่มฮักครอบครัว กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาสุราเป็นเรื่องที่ท้าทายเพราะคนในพื้นที่มองเป็นเรื่องส่วนบุคคล ความสนุกสนาน ไม่ผิดกฎหมาย อีกทั้งประเพณี วิถีวัฒนธรรมของชุมชนก็มีเรื่องเหล้าเกี่ยวข้องมายาวนาน ปัญหาการดื่มสุราในพื้นที่ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ความรุนแรงในครอบครัว และความปลอดภัยในชุมชน จึงตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มฮักครอบครัวในปี ๒๕๖๔ ปัจจุบันในหมู่บ้านมีผู้ดื่มสุรา ๔๐ คน ในจำนวนนี้เป็นผู้มีปัญหาจากการดื่ม ๖ คน จาก ๖ ครอบครัว จากการร่วมโครงการทำให้คณะทำงานได้เรียนรู้การมีส่วนร่วม มีทักษะการนำกลุ่ม มีความรู้มีทักษะประเมินปัญหาสุรา สามารถสร้างแรงจูงใจให้ตระหนักถึงปัญหาสุราและผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้คนในพื้นที่มีความเข้าใจกันมากขึ้นtt tt“ขณะนี้มีผู้เลิกดื่มสุราได้ ๓ คน ส่วนอีก ๓ คน มีการปรับพฤติกรรมลดการดื่มสุราลง ส่งผลให้เกิดความเข้าใจในครอบครัวกันมากขึ้น เกิดความอบอุ่นในครอบครัว ช่วยลดปัญหาการขาดงานลางานจากการดื่มสุรา ทำให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ทั้งนี้ ปัญหาสุราต้องใช้เวลา ต้องเริ่มมาจากความสมัครใจ ตระหนักถึงปัญหา ข้อดีการลด ละ เลิก และได้รับการสนับสนุนจากคนในครอบครัว ชุมชน เทศบาล รพ.สต. และมีสสส. และภาคีให้ความช่วยเหลือให้แนวทางการการทำงาน ทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นพลัง ไม่โดดเดี่ยว ทำให้ต.สบเตี๊ยะสามารถเป็นต้นแบบจูงใจให้เกิดการทำงานในระดับตำบลให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น” นายอภิวัฒน์ กล่าวtt ttทั้งนี้ รูปแบบกิจกรรมของโครงการฯ มี ๒ รูปแบบ ๑. ธรรมนำทาง ระยะเวลา ๑๒ เดือน มีกิจกรรมรู้ธรรม อยู่วัด ๗ วัน ๖ คืน และกิจกรรมติดตาม นำ หนุน ใจ ๗ ครั้ง โดยมีกลไกขับเคลื่อนงาน ๓ ภาคีหลักในชุมชน คือ ๑. พระสงฆ์ ให้หลักธรรม สร้างสติ หนุนเสริมปัญญา ๒. บุคลากรสุขภาพ ให้ความรู้ผลกระทบสุรา การดูแลสุขภาพ การเฝ้าระวังภาวะถอนพิษสุรา และผู้นำชุมชน และ อสม. ช่วยสร้างแรงจูงใจให้ผู้มีปัญหาสุราสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม สนับสนุนกระบวนการการติดตามผล สร้างความเข้าใจ ให้โอกาสกับผู้ที่อยากเลิกสุรา และลดการกระตุ้นการกลับไปดื่มซ้ำ ๒. กลุ่มฮักครอบครัว ระยะเวลา ๑๒ เดือน มีกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชุดทักษะความรู้ ๘ ครั้ง ๘ สัปดาห์ และกิจกรรมติดตาม นำ หนุน ใจ ๘ ครั้ง โดยผู้มีปัญหาสุราและสมาชิกในครอบครัวจะต้องมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งtt tt