กลางเดือนที่ผ่านมา สำนักข่าว Irra waddy รายงานว่า “กองทัพพม่า” บังคับชาวบ้านในหลายเมืองของเขตพะโคเป็นทหารใหม่ โดยประกาศให้แต่ละหมู่บ้านในพื้นที่ต้องส่งชายเข้ามาฝึกทหารกับกองทัพ หมู่บ้านละ ๓๐–๕๐ คนเชื่อว่า…การเกณฑ์ทหารใหม่ครั้งนี้เป็นสัญญาณเตือนว่ากองทัพพม่ากำลังขาดแคลนทหารอย่างหนัก และหวั่นว่า “กรุงย่างกุ้ง” และ “กรุงเนปิดอว์” นั้นจะถูกโจมตีจากฝ่ายต่อต้านเนื่องจากขณะนี้กองทัพกะเหรี่ยง KNLA และพันธมิตรได้พยายามที่จะยึดเขตพะโค ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมต่อฐานบัญชาการใหญ่สำคัญของกองทัพพม่าระหว่างย่างกุ้งและเนปิดอว์แม้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าแผนการเกณฑ์ทหารใหม่จะเริ่มดำเนินเมื่อไหร่ แต่ข่าวนี้ทำให้ประชาชนในเมืองตองอูต่างหวาดกลัวที่จะต้องไปเป็นทหาร ประชาชนไม่กล้าออกจากบ้านหรือชาวบ้านบางส่วนไปอาศัยหลับนอนที่ไร่ แม้แต่พ่อค้าแม่ค้าไม่กล้าตั้งร้านในช่วงเวลาเช้ามืด ทำให้บรรยากาศในเมืองตองอูเงียบเหงาผิดปกตินับตั้งแต่กองทัพพม่ายึดอำนาจ ภาพสะท้อนความสูญเสียในกองทัพพม่าเริ่มปรากฏชัดมากยิ่งขึ้น ตัวเลขทหารเป็นจำนวนมากยอมยกธงขาววางอาวุธในหลายพื้นที่ที่ถูกฝ่ายต่อต้านโจมตีทั่วประเทศยกตัวอย่างที่เขตปกครองตนเองโกก้างที่ทหารพม่ากว่า ๒,๐๐๐ นายยอมวางอาวุธ อีกทั้งกองทัพพม่าได้สูญเสียฐานที่มั่นราว ๖๐๐ แห่งในทางเหนือของรัฐฉานและในรัฐอาระกันจาก…ปฏิบัติการโจมตี ๑๐๒๗tt ttขณะที่ความเคลื่อนไหวล่าสุด กองทัพเอกราชคะฉิ่น KIA ได้ออกมาประกาศว่า สามารถยิงเครื่องบินรบของกองทัพพม่าตกเป็นเครื่องที่ ๒ ภายในเดือนนี้เพียงเดือนเดียว ซึ่งเครื่องบินรบของกองทัพพม่าถูกยิงตกที่หมู่บ้านน่ำพักก๋า เมืองโก้ดข่าย ทางเหนือของรัฐฉาน“สันติภาพในพม่า” ถูกกล่าวถึงและให้ความสนใจกันมากขึ้น “สำนักข่าวชายขอบ” (www.transbordernews.in.th) ย้ำว่า เนื่องจากสถานการณ์การสู้รบในประเทศพม่าที่ยังรุนแรงทั่วทุกภาค โดยฝ่ายกองกำลังฝ่ายต่อต้านสามารถยึดพื้นที่ฐานที่มั่นทางทหารพม่าได้เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะใน “รัฐชาติพันธุ์” ต่างๆใน “รัฐฉาน” กลุ่มพันธมิตรทางเหนือของพม่า ที่เรียกตัวเองว่า The Brotherhood Alliance ประกอบด้วย กองทัพโกก้าง (Myanmar National Democratic Alliance Army-MNDAA) กองทัพตะอางหรือปะหล่อง (Ta’ang National Liberation Army-TNLA) และ กองทัพอาระกัน (Arakan Army-AA)…ได้ปฏิบัติการโจมตีในชื่อ “Operation ๑๐๒๗” ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ จนสามารถยึดพื้นที่ต่างๆในภาคเหนือของรัฐฉานไว้ได้จำนวนมาก ขณะที่ทหารพม่าจำนวนไม่น้อยได้ยอมวางอาวุธทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า “ประเทศพม่า” กำลังเข้าสู่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญแต่…ยังไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้ชัดเจนว่าสถานการณ์จะก้าวไปสู่จุดไหน“จริงๆแล้วการสู้รบในพม่าก็เกิดขึ้นมาโดยตลอดเพียงแต่ครั้งนี้มีกองกำลังจากหลายกลุ่มเพิ่มขึ้น มีคู่ขัดแย้งเพิ่มขึ้น เช่น PDF (People’s Defense Force หรือกองกำลังพิทักษ์ประชาชน) NUG รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (National Unity Government) ตอนนี้มีพลวัตของความขัดแย้งมากกว่าเดิม มีคู่ขัดแย้งมากขึ้น…แล้วกลุ่มต่างๆก็มีมิติใหม่คือจับกลุ่มกัน อย่างกรณีที่ประสบความสำเร็จ Operation ๑๐๒๗ ของกลุ่ม ๓ พี่น้องคือโกก้าง ตะอาง และอาระกัน”tt tttt ttดร.ลลิตา หาญวงษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดน ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เปิดประเด็น“ส่วนตัวคิดว่ามีพัฒนาการที่สำคัญอย่างมากในช่วงนี้คือการแทรกแซงกิจการภายในของจีน ซึ่งเป็นมหาอำนาจภายนอกอย่าง Operation ๑๐๒๗ ที่ทราบกันดีว่าเข้าไปแทรกแซงโดยให้กลุ่ม ๓ พี่น้องไปซ้าย-ขวา จนในที่สุดก็สามารถยึดเมืองเล่าก์ก่ายและพื้นที่รอบข้าง ที่ถือว่าเป็นเมืองเอกในเขตปกครองพิเศษของโกก้างสำเร็จ”แม้ล่าสุดจีนยังมีความพยายามที่จะเป็นสื่อกลางจัดประชุมประสานใจระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆโดยเฉพาะกลุ่ม ๓ พี่น้องกับกองทัพพม่า แต่สุดท้ายก็มีการเปิดฉากโจมตีกันอยู่ดี เขาแซวกันว่า…“การไปเจรจาสันติภาพให้หยุดยิงที่คุนหมิงครั้งนี้ทำไปเพื่อให้บรรลุ KPI ของกระทรวงการต่างประเทศจีนเท่านั้น”“การที่จีนเข้าไปปลุกปั่นกลุ่มกองกำลัง ๓ พี่น้องมีส่วนทำให้เมืองเล่าก์ก่ายแตก เพราะเคยส่งคำเตือนถึงกองทัพพม่าหลายรอบแล้วให้ปราบปรามกลุ่มจีนเทาในเขตเล่าก์ก่ายและเขตโกก้าง แต่กองทัพของพม่าไม่ได้มีอำนาจสิทธิเด็ดขาดที่จะปกครองเขตโกก้างทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถปราบปรามได้”กลุ่มที่ควบคุมได้คือ “BGF” ของโกก้าง เพราะฉะนั้นถ้าจะทำความ เข้าใจความขัดแย้งทั้งหมดในประเทศพม่า ปัจจุบันมีปัจจัยอย่างแรกคือ… “กลุ่มชาติพันธุ์” แต่ละกลุ่มมีวาระที่แตกต่างกันถัดมา…มีการแทรกแซงจากประเทศที่ทรงอิทธิพลที่สุดในภูมิภาคนี้คือ “จีน”… ที่ตัดสินใจว่าถ้ารัฐบาลพม่าไม่ทำอะไรก็จะเข้าไปจัดการเอง เช่น ส่งตำรวจเข้าไปในเขตเล่าก์ก่ายเพราะชายแดนติดกัน แล้วเขตโกก้างจีนก็มีอิทธิพลอยู่แล้ว ทำให้สถานการณ์แย่ลงเรื่อยๆtt tt“ในมุมของกลุ่มชาติพันธุ์ ประโยชน์ในอนาคตจาก Operation ๑๐๒๗ ชัดเจนมากกว่า ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์อื่นได้รับแรงบันดาลใจและอาจมีเซอร์ไพรส์เกิดขึ้นในกลุ่มชาติพันธุ์อื่นเรื่อยๆ”พุ่งเป้าไปที่ความพ่ายแพ้ในรัฐฉานเหนือ…คำถามตามมามีว่าไม่ใช่เพียงแต่กองทัพพม่า แม้แต่ชาวไทยใหญ่ที่เคยมีกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนเหล่านี้ ต่างก็รู้สึก “พ่ายแพ้” เพราะถูกกองกำลังอื่นยึดครองพื้นที่?ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ลลิตา วิเคราะห์ให้ฟังว่า รัฐฉานเป็นรัฐซ้อนรัฐมีเมืองเล็กๆ แล้วมีกองกำลังขนาดใหญ่มากๆอยู่ ๒ กองกำลังคือ SSA (Shan State Army South หรือกองทัพรัฐฉานใต้) ของเจ้ายอดศึก และ SSA North ซึ่งแม้แต่รูปร่างหน้าตาก็ไม่เหมือนกันเลย ภาษาที่ใช้บางทีก็ไม่เหมือนกัน“รัฐฉาน” เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และเป็นกันชนระหว่างจีนกับพม่าแท้ การจะทำให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนเป็นไปได้ยาก ถ้าวันหนึ่งมีการหยุดยิงแล้วใครจะการันตีได้ว่าจะสงบ เพราะในรัฐฉานเองเหนือกับใต้ก็รบกันดังนั้น การเข้ามาของ ๓ พันธมิตรในรัฐฉานตอนเหนือจะทำให้คนไทยใหญ่ในรัฐฉานสูญเสียความน่าเชื่อถือหรือกองทัพอ่อนกำลังลง จึงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้เมื่อคนที่มีทรัพยากรมากกว่าจะค่อยๆรุกคืบเข้าไปในพื้นที่ที่สามารถโจมตีได้…ที่ควรเข้าไปดูอย่างใกล้ชิดคือ “กลุ่มว้า” เนื่องจากมีเป้าหมายในระยะยาว…มีความฝันที่จะครอบครองพื้นที่บางส่วนในรัฐฉานเพื่อขยายอาณาเขตมาถึงรัฐฉานตอนใต้จดชายแดนไทยหรือฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินทั้งหมด ถ้าความใฝ่ฝันของว้าแดงมีความสำเร็จ ไม่ใช่แค่ SSA เหนือ…ใต้จะลดบทบาทลงไป แต่ยังเป็นกองกำลังเล็กๆในรัฐฉานที่จะถูกกองกำลังใหญ่กว่าตีแตกตราบใดที่ผู้ออกนโยบายในพม่าไม่มีความจริงใจในการรวมกลุ่มชาติพันธุ์ จะไม่มีทางบรรลุเป้าหมายเจรจาสันติภาพอย่างยั่งยืน… “ไม่มีทางเลย ถ้ากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆไม่มาคุยกัน”ตอกย้ำ “สันติภาพในพม่า” ด็อกเตอร์ลลิตา หาญวงษ์ มองว่าในโลกใบนี้มีเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่จะช่วยพม่าได้ในการเจรจาสันติภาพ คือ “ไทย”…ผ่านความสัมพันธ์ในหลายๆมิติกับทุกๆฝ่าย.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม
“สันติภาพ”..ในพม่า กลุ่มชาติพันธุ์ตัวแปร
Related posts