หนึ่งหลักความรู้จากครู “ตรียัมปวาย” (อริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่มพระสมเด็จ พิมพ์ครั้งทีี่ ๖ พ.ศ.๒๕๒๒) คือ “ปุ่มปมหัวเข่าซ้ายองค์พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ นูนสูงลาดเอียงไปหาปลายพระชานุขวาปี พ.ศ.นั้น พระปลอมยังทำกันง่ายๆ ห่างทั้งพิมพ์ทรงและเนื้อหาอีกราว ๒๐ ปีต่อมา คุณวิโรจน์ ใบประเสริฐ (เฮียเท้า) สำนักท่าพระจันทร์ เปิดเผยเคล็ดลับแม่พิมพ์พระพิมพ์ใหญ่ สี่แม่พิมพ์ที่ตรงกัน ๑๑ ข้อ…(พรีเชียสสเปเชียล รังสรรค์ ต่อสุวรรณ พ.ศ.๒๕๓๙)หนึ่งข้อที่กลมกลืนกับหลักตรียัมปวาย คือ ทั้งองค์พระตั้งแต่พระเกศลงมาถึงพระเพลา เอียงไปทางขวา (องค์พระ) ขณะที่ฐานทั้งสามชั้น บิดเบนเอนไปทางซ้ายจึงเป็นทีเด็ดเคล็ดลับสำคัญให้คนรักพระสมเด็จ ใช้การตัดสินพระแท้…เท่าที่เคยส่องกันตรงๆ ก็เริ่มมีการส่องแบบตะแคง ดูมิติการบิดเบนเอียงเอนขององค์พระนับแต่นั้น (ของปลอม) ก็ทำตามหลักเฮียเท้าอีกข้อ…เส้นกรอบกระจกทั้งสี่ด้าน ด้านขวา (องค์พระ) บนล่าง เว้นช่องไฟห่างเส้นซุ้มครึ่งวงกลมพอประมาณ แต่เส้นกรอบด้านซ้าย เริ่มจากบนตัดตรงลงมาชิด…แนบกับเส้นซุ้มระหว่างแนวกลางของลำพระกรซ้ายในเพจ “พระสมเด็จศาสตร์” ด็อกเตอร์คมสัน สนองพงษ์ คมสันเสนอแนวทางการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง ตามหลักการพิสูจน์หลักฐาน เท่าที่ได้อ่านเป็นตอนที่ ๒ ในเนื้อหา ๑๑ หน้า ผมขอรวบรัดเอาตั้งแต่หน้าที่ ๘พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงใหญ่ จะมีลักษณะไม่สมมาตร เมื่อมองตรงๆจากด้านหน้าแต่เมื่อทดลองหมุนตะแคงองค์พระทวนเข็มนาฬิกาไปประมาณ ๓๐-๔๕ องศา แล้วมองตรงจากมุมเดิม จะพบว่าพระสมเด็จองค์นั้นจะมีลักษณะเข้าสู่สมมาตร ทั้งในส่วนของกรอบกระจกพระที่มีการตัดขอบข้างห่างจากเส้นกรอบแม่พิมพ์เส้นซุ้มทั้งในสวนของพระเกศที่เดิมจะค่อนไปทางซ้ายมือองค์พระ พระพักตร์ที่เดิมเทลาดเหมือนผินพระพักตร์มาทางขวา หูพระซ้ายที่ติดรำไร แต่หูขวามักไม่ติดเนื่องจากหูขวาจมลงในผนังจากการที่มีการผินพระพักตร์ไปทางขวาลำพระองค์ที่เดิมเหมือนกับมีการบิดตัวไปทิศทางเดียวกับการผินพระพักตร์ พระชานุ (เข่า) และพระชงฆ์ (หน้าแข้ง) ที่เดิมจะสูงเด่นขึ้นมาทางด้านซ้ายและสุดท้ายคือฐานพระที่ปกติถ้ามองตรงๆจากด้านหน้าจะไม่สมมาตร แต่เมื่อหมุนตะแคงแล้วจะมีความสมมาตรให้เห็นปรากฏทั้งสามชั้นมาถึงส่วนของกรอบกระจกด้านขวาองค์พระที่แล่นเป็นเส้นนูนจากบนลงล่าง จนชิดกับเส้นซุ้มผ่าหวาย ไม่มีคำถาม ไม่น่ามีอะไรผิดปกติ แต่คำถามที่ค้างมาเป็นเวลานาน เหตุใดเส้นกรอบกระจกด้านซ้ายจึงแล่นลงมาระหว่างข้อศอกองค์พระ แล้วจมหายไปกับเส้นซุ้มผู้วิจัยค้นคว้าหาข้อมูลหาเหตุผลมานาน ในที่สุดก็ได้คำตอบ ช่วงเวลาที่ช่างหลวงแกะแม่พิมพ์สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ช่างหลวงได้รับอิทธิพลศิลปะตะวันตก ซึ่งแผ่เข้ามาสมัย ร.๔ ร.๕ โดยสรุปการที่องค์พระประธานในโบสถ์ เมื่อมองตรงๆจากด้านหน้าแล้วไม่สมดุล แต่ เมื่อหมุนตะแคงแล้วเกิดความสมดุล เกิดจากการที่ช่างผู้ออกแบบจินตนาการว่า ได้มององค์พระประธานจากการนั่งบนพื้นพระอุโบสถ แล้วมองจากด้านหน้าค่อนไปทางซ้ายมือองค์พระนี่คือการมองตามหลักทัศนภาพ ตามอิทธิพลของศิลปะตะวันตก ที่ช่างหลวงไทยรับเอามาประยุกต์ใช้ในพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่อ่านงานวิจัย ด็อกเตอร์คมสัน แล้วหันไปดูภาพพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่องค์ในคอลัมน์ นี่คือองค์ที่ติดแม่พิมพ์ชัดทุกสัดส่วน ทั้งหูตาจมูกปาก สังฆาฏิ พระเพลา รวมทั้งเส้นกรอบ กระจกที่ติดชัดสามด้าน ควรดูเป็นองค์ครู ชุดความรู้นี้อาจไม่ช่วยให้ตัดสินพระเก๊พระแท้ได้ แต่ก็ถือว่าผู้ที่มีมุมมองศิลปะในแม่พิมพ์พระได้ลึกซึ้ง เป็นเหตุเป็นผลที่อธิบายได้ขนาดนี้ ในวงการพระเครีื่องเมืองไทยหาได้ยากเต็มที.พลายชุมพลคลิกอ่านคอลัมน์ “ปาฏิหาริย์ จาก หิ้งพระ” เพิ่มเติม
Related posts