การเปิดตัว Galaxy S๒๔ เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนเกมของธุรกิจสมาร์ทโฟนครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งก็ว่าได้ โดยเฉพาะการมาของฟีเจอร์ที่เรียกว่า Galaxy AI ซึ่งสิ่งนี้ซัมซุงมั่นใจว่าเป็นตัวพลิกเกม หรือ Game changing ครั้งสำคัญเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซัมซุงได้จัดงานแถลงข่าวกลุ่มย่อย เกี่ยวกับทิศทางของธุรกิจสมาร์ทโฟน รวมถึงปรากฏการณ์ของ Galaxy AI ฟีเจอร์สำคัญที่มาพร้อมกับการเปิดตัวของ Samsung Galaxy S๒๔ Series ซึ่งประกอบไปด้วย Galaxy S๒๔, Galaxy S๒๔ Plus และ Galaxy S๒๔ Ultraสิทธิโชค นพชินบุตร รองประธานองค์กร ธุรกิจโมบายล์ เอ็กซ์พีเรียนซ์ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวถึงภาพรวมของตลาดสมาร์ทโฟน โดยชี้ว่าการมาของปัญญาประดิษฐ์ ที่ถูกคิกออฟจากการมาของ ChatGPT ในเดือนพฤศจิกายน ๒๐๒๒ เป็นตัวเปลี่ยนเกม หรือ Game changing โดยแท้จริงสิทธิโชค ได้กล่าวถึงตัวเลขตลาดเอไอของประเทศไทยในปี ๒๐๓๐ โดยเชื่อว่า น่าจะมีตัวเลขการเติบโตที่ ๒๓.๔๖ เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นมูลค่าประมาณ ๑,๐๘๔ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนตลาดโลกในภาพรวมภายในปี ๒๐๓๒ คาดว่าน่าจะอยู่ที่ ๑.๓ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ tt ttสิทธิโชค นพชินบุตร“ผมเชื่อว่าตัวเลขการเติบโตของเอไอในประเทศไทยน่าจะสูงกว่านั้น เนื่องจากแนวโน้มการใช้งานมีทิศทางที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยมากกว่า ๑ ใน ๓ หรือ ๓๕ เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะใช้เอไอ ทั้งใช้ชีวิตส่วนตัวและใช้เกี่ยวกับการทำงาน”พร้อมกันนี้ สิทธิโชค มองว่า คน Gen Z มีแนวโน้มที่จะเป็นซุปเปอร์ยูสเซอร์ (Super users) ด้านเอไอเป็นพิเศษ นอกจากนี้แล้ว การมาของเอไอ ยังทำให้เกิดอาชีพใหม่ นั่นคือ นักเขียนพรอมต์ (Prompt) สำหรับเอไอ เพราะการที่ใครสามารถเขียนพรอมต์ได้ดี จะได้รับผลลัพธ์ที่แตกต่างและมีประสิทธิภาพ ที่แตกต่างจากคนที่เขียนพรอมต์ไม่ได้เมื่อพูดถึงตลาดสมาร์ทโฟนในภาพรวม สิทธิโชค ยอมรับว่า ในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างนิ่ง โดยที่ตลาดมักจะพูดถึงแค่เรื่องของกล้องหน้า หรือกล้องหลัง แต่การมาของ Galaxy AI จะเข้ามาเป็นตัวเปลี่ยนได้จริงtt ttตลาดสมาร์ทโฟนจะเปลี่ยนจากการพูดถึงเรื่องของกล้องไปเป็นเรื่องของเอไอแทนผลสำรวจคน Gen Z ที่มีต่อฟีเจอร์ Galaxy AI พบว่า ๔๙ เปอร์เซ็นต์ให้ความสำคัญกับฟีเจอร์ Photo Assist, ๔๐ เปอร์เซ็นต์สนใจกับ Live Translate ตามด้วย Note Assist ที่ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ และ ๓๘ เปอร์เซ็นต์ให้ความสนใจกับ Circle to Searchในส่วนตัวเลขจำนวนสมาร์ทโฟนในประเทศไทยในปี ๒๐๒๓ สิทธิโชค ยกตัวเลขจากจีเอฟเค (GFK) ตลาดสมาร์ทโฟนในไทยในปี ๒๐๒๓ ลดลงจากปี ๒๐๒๒ เหลือ ๑๐.๗ ล้านเครื่อง เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่ ๑๒.๓ ล้านเครื่องtt ttตลาดพรีเมียมโฟนโดยเฉพาะ Galaxy S๒๔ มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง“ตลาดสมาร์ทโฟนแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ นอน-พรีเมียมโฟน (Non-premium phone) และพรีเมียมโฟน (Premium phone) โดยมีเส้นแบ่งอยู่ตรงที่ราคามากกว่าหรือน้อยกว่าสองหมื่นบาท”มูลเหตุสำคัญที่ทำให้นอน-พรีเมียมโฟนมีแนวโน้มลดลง นั่นเป็นเพราะว่าผลพวงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ เนื่องจากการแพร่ระบาดทำให้ผู้คนมีรายได้ลดลง ผู้คนเลยเลือกที่จะเก็บเงินสดเอาไว้กับตัว จนทำให้ไม่เกิดการบริโภคสมาร์ทโฟนในทิศทางตรงกันข้าม กลุ่มพรีเมียมโฟนกลับไม่ได้รับผลกระทบ เพราะกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อก็ยังคงซื้อหาเป็นเจ้าของพรีเมียมโฟนได้ต่อไป “ในเรื่องของราคาที่แพงขึ้นของพรีเมียมโฟน ต้องยอมรับว่าแพงขึ้นจริง เพียงแต่ต้นทุนและวัสดุการผลิตที่มีราคาสูงขึ้น ทำให้ราคาของพรีเมียมโฟนในช่วงที่ผ่านมามีราคาสูงขึ้นตาม”ขณะเดียวกัน โอกาสที่กลุ่มลูกค้าที่ใช้งานนอน-พรีเมียมโฟน จะเปลี่ยนไปใช้พรีเมียมโฟนก็มีโอกาสมากขึ้น เพราะระบบผ่อนชำระที่มีหลากหลายรูปแบบ จึงเปิดโอกาสให้ผู้คนหันมาหามือถือพรีเมียมมากขึ้นทางด้านมูลค่าตลาดสมาร์ทโฟนในปี ๒๐๒๓ อยู่ที่ ๓,๕๓๓ ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นนอน-พรีเมียมที่มีราคาต่ำกว่า ๒ หมื่นบาทที่ตัวเลข ๑,๗๗๘ ล้านดอลลาร์สหรัฐ และพรีเมียมโฟน ๑,๗๕๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐtt ttGalaxy AI ฟีเจอร์สำคัญของ Galaxy S๒๔สุดท้าย สิทธิโชค เชื่อว่า การแข่งขันในธุรกิจสมาร์ทโฟนจะยังคงเป็นการแข่งขันระหว่างแบรนด์คู่แข่ง (ซึ่งสิทธิโชคไม่ได้ระบุชื่อแบรนด์ที่ชัดเจน แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าคือแอปเปิล) และซัมซุง ทั้งนี้ การแข่งขันของทั้งสองแบรนด์มีความชัดเจน มีลักษณะที่เฉพาะตัว ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์คู่แข่งมีความเป็นมรดก (Heritage) สืบทอดต่อกันมา แต่ซัมซุงเน้นในส่วนที่เป็นนวัตกรรม และเทคโนโลยี ซึ่งจากจุดนี้เองจึงทำให้จะยังไม่มีคู่แข่งรายที่สามในตลาดพรีเมียมโฟนเข้ามาในเวลานี้
Samsung ชี้พรีเมียมโฟนมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง Galaxy AI เป็นตัวพลิกเกม
Related posts