Thursday, 19 December 2024

๗๔ วัน ยอดคนลงทะเบียนหนี้นอกระบบ ๑๔๑,๓๕๑ ราย รวมเจ้าหนี้ ๑๔๑,๓๕๑ ราย

นับถอยหลังลงทะเบียนหนี้นอกระบบอีก ๑๗ วัน ขณะที่ยอด ๗๔ วัน ประชาชนลงทะเบียนแล้ว ๑๔๑,๓๕๑ ราย มูลหนี้รวม ๙,๘๘๑ ล้านบาท ไกล่เกลี่ยสำเร็จแล้ว ๑๓,๑๔๑ ราย มหาดไทย ยัน ตั้งใจแก้ไขให้คนลงทะเบียนครบ ๑๐๐% วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยความคืบหน้าผลการลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ วันที่ ๗๔ โดยเมื่อเวลา ๑๕.๐๐ น.ที่ผ่านมา สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง รายงานว่า มีประชาชนลงทะเบียนแล้ว ๑๔๑,๓๕๑ ราย มูลหนี้รวม ๙,๘๘๑.๔๕๘ ล้านบาท เป็นการลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ ๑๑๘,๖๖๖ ราย และการลงทะเบียน ณ ศูนย์อำนวยการแก้ไขหนี้นอกระบบ ๒๒,๖๘๕ ราย รวมจำนวนเจ้าหนี้ ๑๑๐,๙๑๐ ราย พื้นที่/จังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนมากที่สุด ๕ ลำดับแรก ๑. กรุงเทพมหานคร ยังคงมีผู้ลงทะเบียนมากที่สุด ๑๑,๑๑๗ ราย เจ้าหนี้ ๘,๐๖๑ ราย มูลหนี้ ๘๕๘.๙๔๓ ล้านบาท ๒. จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผู้ลงทะเบียน ๕,๖๙๓ ราย เจ้าหนี้ ๕,๓๐๐ ราย มูลหนี้ ๓๘๗.๖๙๕ ล้านบาท ๓. จังหวัดสงขลา มีผู้ลงทะเบียน ๕,๒๓๐ ราย เจ้าหนี้ ๔,๑๗๘ ราย มูลหนี้ ๓๔๓.๙๐๑ ล้านบาท ๔. จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ลงทะเบียน ๔,๙๐๘ ราย เจ้าหนี้ ๓,๙๔๒ ราย มูลหนี้ ๔๒๓.๐๘๖ ล้านบาท ๕. จังหวัดสุรินทร์ มีผู้ลงทะเบียน ๓,๗๘๔ ราย เจ้าหนี้ ๒,๖๘๒ ราย มูลหนี้ ๓๔๐.๕๕๙ ล้านบาทจังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนน้อยที่สุด ๕ ลำดับแรก ๑. จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีผู้ลงทะเบียน ๒๓๑ ราย เจ้าหนี้ ๒๓๕ ราย มูลหนี้ ๑๔.๑๑๐ ล้านบาท ๒. จังหวัดระนอง มีผู้ลงทะเบียน ๓๒๙ ราย เจ้าหนี้ ๒๔๔ ราย มูลหนี้ ๒๓.๔๒๓ ล้านบาท ๓. จังหวัดสมุทรสงคราม มีผู้ลงทะเบียน ๓๗๒ ราย เจ้าหนี้ ๒๙๐ ราย มูลหนี้ ๑๔.๐๘๖ ล้านบาท ๔. จังหวัดตราด มีผู้ลงทะเบียน ๔๕๐ ราย เจ้าหนี้ ๓๒๙ ราย มูลหนี้ ๑๙.๙๙๙ ล้านบาท๕. จังหวัดสิงห์บุรี มีผู้ลงทะเบียน ๔๖๕ ราย เจ้าหนี้ ๓๕๓ ราย มูลหนี้ ๒๔.๔๑๖ ล้านบาทtt tttt tttt tttt ttสำหรับข้อมูลการไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบทั่วประเทศ พบว่า มีลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยแล้ว ๒๑,๘๑๐ ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ ๑๓,๑๔๑ ราย มูลหนี้ของลูกหนี้ก่อนการไกล่เกลี่ย ๑,๙๘๔.๑๑๘ ล้านบาท หลังการไกล่เกลี่ย ๑,๓๐๘.๗๙๓ ล้านบาท มูลหนี้ลดลง ๖๗๕.๓๒๔ ล้านบาท และจังหวัดที่สามารถนำลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยได้มากที่สุดยังคงเป็นจังหวัดนครสวรรค์เช่นเดิม โดยมีลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ๓,๑๙๗ ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ ๓๔๙ ราย มูลหนี้ของลูกหนี้ก่อนไกล่เกลี่ย ๒๖๓.๐๒๐ ล้านบาท หลังการไกล่เกลี่ย ๓๔.๒๐๗ ล้านบาท ทำให้มูลหนี้ของพี่น้องประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ลดลง ๒๒๘.๘๑๓ ล้านบาท “กรณีที่ไม่ได้รับความร่วมมือกระทั่งไม่สามารถดำเนินการไกล่เกลี่ยได้ เจ้าหน้าที่ได้ส่งต่อเรื่องไปยังพนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจในพื้นที่ดำเนินคดีไปแล้ว ๒๖๗ คดี ใน ๓๔ จังหวัด” นายสุทธิพงษ์ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการรับลงทะเบียนหนี้นอกระบบมาอย่างต่อเนื่อง โดยยังเหลือระยะเวลาเปิดรับอีกประมาณ ๒ สัปดาห์ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐได้บูรณาการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ เราได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนกำนันผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเราได้ร่วมกันขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล โดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีความมุ่งมั่นในการที่จะช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เป็นหนี้นอกระบบ เพราะต้องชำระดอกเบี้ยสูงมากและเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งยังมีกระบวนการวิธีการทวงหนี้ที่ใช้ความรุนแรงโหดร้ายทารุณ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เปรียบเปรยว่า คนที่เป็นหนี้นอกระบบเปรียบเสมือนทาสยุคใหม่ ดังนั้น เราจึงเต็มใจที่จะร่วมไม้ร่วมมือเชิญชวนพี่น้องประชาชนที่มีปัญหาความเดือดร้อนให้มาลงทะเบียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเพื่อดำเนินการให้การช่วยเหลือโดยทันที “ในส่วนของการนำเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ปัจจุบันมีประชาชนที่มาลงทะเบียนหนี้นอกระบบที่เป็นลูกหนี้ จำนวนกว่า ๑๔๐,๐๐๐ คน ซึ่งบางส่วนที่ไม่สามารถให้ข้อมูลเจ้าหนี้นอกระบบได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ทำให้การติดตามติดต่อเพื่อเชิญมาไกล่เกลี่ยได้ยาก ซึ่งเราได้มีการประชุมปรึกษาหารือ พบว่าทั้งหมดที่ไม่สามารถให้ข้อมูลเจ้าหนี้นอกระบบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกปล่อยเงินกู้นอกระบบมืออาชีพ มีลูกน้องที่เรียกว่าแก๊งหมวกกันน็อก ไปปล่อยเงินกู้ตามตลาดตามชุมชน ทำให้ชาวบ้านทราบเพียงชื่อเล่นของเจ้าหนี้ ซึ่งใช้วิธีการทวงหนี้แบบเดินเก็บตามตลาด หรือในที่ที่ลูกหนี้ทำมาหากินอยู่” tt tttt tttt tttt ttทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้หารือกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งท่าน พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มอบให้ พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาร่วมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการสืบสวนสอบสวน หาทางจับกุมต่อไป โดยทางกระทรวงมหาดไทยจัดส่งข้อมูลรายละเอียด อาทิ รายชื่อ และสถานที่ที่คนกลุ่มนี้ไปปล่อยกู้ ซึ่งทั้งหมดเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบกิจการปล่อยกู้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังเก็บดอกเบี้ยที่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด รวมถึงได้ส่งข้อมูลการทวงหนี้แบบใช้ความรุนแรงหรือข่มขู่คุกคาม ให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการต่อไปปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะเดียวกัน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังได้เน้นย้ำให้ทุกอำเภอดำเนินการจัดกิจกรรมตลาดนัดแก้หนี้ อย่างน้อยเดือนละ ๔ ครั้ง เพิ่มเติมจากตลาดนัดแก้หนี้ระดับจังหวัด ที่มีการจัดเดือนละ ๑ ครั้ง โดยบูรณาการกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันการเงิน เป็นเหมือน One Stop Service ในการแก้หนี้นอกระบบแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว ซึ่งประชาชนที่มาลงทะเบียนและร่วมกิจกรรมตลาดนัดแก้หนี้ ภาครัฐจะให้การช่วยเหลืออย่างถูกต้อง ครบถ้วน และรวดเร็ว ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมามีผลตอบรับที่ดีและสามารถช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนได้จริง รวมถึงประชาชนที่ไม่ได้เป็นหนี้นอกระบบก็สามารถมารับคำปรึกษาจากสถาบันการเงินได้ อาทิ การปรึกษาเรื่องสินเชื่อเพื่อการลงทุน การประกอบอาชีพ นับเป็นการแก้ไขหนี้นอกระบบในเชิงป้องกันอีกทางหนึ่ง ด้วยแนวทางเพิ่มรายได้ขยายโอกาส ทำให้พี่น้องประชาชนสามารถประกอบสัมมาอาชีพที่มีรายได้ที่ดีอย่างยั่งยืน ไม่ต้องไปเป็นหนี้นอกระบบ ตลอดจนถึงเรื่องกระบวนการไกล่เกลี่ย เราดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะครบทุกกรณี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยขอยืนยันว่าจะทำให้ครบ ๑๐๐% “ชาวมหาดไทยทุกคนดีใจและมีความสุขที่ได้ทำงานตรงนี้ เราทำด้วยใจ ไม่มีเบี้ยเลี้ยง ไม่มีค่าตอบแทนใดๆ แต่เราทำด้วยหัวใจที่อยากบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชน และจะร่วมกับทุกภาคส่วนดำเนินการแก้ไขหนี้นอกระบบอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดความยั่งยืน ขณะนี้ยังเหลือเวลาอีก ๑๗ วันที่พี่น้องประชาชนยังสามารถลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งเราจะรับลงทะเบียนถึงวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ทั้งการเดินทางไปขอคำปรึกษาและลงทะเบียน ณ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด (ห้องศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด) ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง (ห้องศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ) สำนักงานเขตทั้ง ๕๐ เขตของกรุงเทพมหานคร ตลอดจนพื้นที่การจัดมหกรรมตลาดนัดแก้หนี้ระดับจังหวัด และตลาดนัดแก้หนี้อำเภอ หรือสามารถลงทะเบียนทางระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์กรมการปกครอง”