Friday, 15 November 2024

วาเลนไทน์ หาคู่ลวงออนไลน์ เหยื่อเด็ก ๙% ไม่กล้าแจ้งความ ถูกขู่แบล็กเมล์ซ้ำ

13 Feb 2024
95

วาเลนไทน์ หาคู่ลวงออนไลน์ เหยื่อเด็กกว่า ๙% ไม่กล้าแจ้งความ ถูกล่วงละเมิดทางเพศซ้ำๆ บางรายนำคลิป ภาพไปแบล็กเมล์ ปล่อยในดาร์กเว็บ คนร้ายใช้ช่องทางออนไลน์หาเหยื่อ ตีสนิท เมื่อหลงกลจะนัดเจอ พร้อมล่วงละเมิดทางเพศ ขณะคนใกล้ตัว ก็อาจเป็นคนร้ายสุดแสบ ถ้าไม่รักษาระยะห่างให้เหมาะสมtt tt”กมลวรรณ เพชรโชติ” เจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็ก องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวกับทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์ ว่า สถานการณ์คุกคามทางเพศเด็กผ่านโลกออนไลน์ มีเพิ่มมากขึ้น เช่น แต่ก่อนพ่อแม่สอนไม่ให้ไปกับคนแปลกหน้า ไม่ให้ไปอยู่ในที่เปลี่ยวในที่ลับตาคน แต่ตอนนี้เด็กเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ รูปแบบความเสี่ยงเกิดขึ้นทุกเวลา หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะความเสี่ยงและภัยออนไลน์มีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าอดีต ที่สำคัญคือ อะไรที่ถูกเอาไปไว้บนพื้นที่ออนไลน์แล้ว มีโอกาสอยู่ตลอดไป หรือที่เรียกว่ามี ดิจิทัลฟุตพริ้นท์ หรือร่องรอยทิ้งไว้บนโลกดิจิทัลtt ttทุกวันนี้เด็ก ๑๒-๑๗ ปี เกือบทุกคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ต พบว่า มีเด็กในไทยเกือบ ๔๐๐,๐๐๐ คน หรือ ๙% เคยตกเป็นผู้เสียหายจาการล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ ส่วนใหญ่ไม่บอกใคร น้อยมาก คือ ๑-๓% แจ้งตำรวจ แต่จริงแล้ว ตัวเลขเด็กที่เคยถูกละเมิดออนไลน์น่าจะสูงกว่านี้มากเหตุผลที่เด็กไม่อยากเล่าให้ใครฟัง หรือไม่อยากไปแจ้งเหตุทางช่องทางที่เป็นทางการ เกิดจากการไม่รู้ว่าต้องแจ้งที่ไหน หรือบางครั้งผู้ปกครองและครูฟัง อาจยังขาดความรู้เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางออนไลน์ บางอย่างก็คิดว่าแค่นี้เอง คงแจ้งความไม่ได้ นอกจากนี้เหตุผลหลักอีกอย่างที่เด็กไม่เล่าเหตุการณ์ให้ใครฟัง เกิดจากความกลัวว่าสังคม คนรอบตัวจะตีตรา หรือตำหนิกล่าวโทษว่าเป็นความผิดของพวกเขาtt ttการถูกล่วงละเมิดทางเพศของเด็กทางออนไลน์ เป็นปัญหาใหญ่ในหลายประเทศ โดยปัญหามีดังนี้- เข้าหาเด็กเพื่อล่วงละเมิดทางเพศ (Grooming) มีทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ อาจเริ่มจาก มาตีสนิทเด็ก เลือกเหยื่อที่มีความเปราะบาง พยายามแยกเด็กออกจากคนรอบตัว ล่อลองตีสนิทให้ไว้ใจ เพื่อมาหลอกละเมิดทางเพศ- ข่มขู่กรรโชกบนโลกออนไลน์ (Sextortion) โดยใช้ภาพ คลิป สื่อทางเพศ ที่หลอกล่อ บังคับให้ผู้เสียหายถ่ายเก็บไว้ เอากลับมาขู่แบล็คเมล์ซ้ำ มีทั้งแบบเอาเงิน ขอมีสัมพันธุ์กับเหยื่อ บางรายให้ถ่ายภาพ ถ่ายคลิปเพิ่ม เพื่อเอาไปขายต่อในช่องทางออนไลน์- เด็กผลิตภาพตัวเอง ถ่ายภาพวาบหวิว วิดีโอตัวเอง แล้วแชร์ลงออนไลน์ ส่งให้แฟนหรือคนอื่น แล้วคนนั้นไปแชร์ต่อ เป็นดิจิทัลฟุตพริ้นท์สำหรับเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ มีแทบทุกเพศ แต่ที่มีมากจะเป็นเพศหญิง โดยกระทบต่อจิตใจ เช่น ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ บางรายมีพฤติกรรมแยกตัวจากสังคม รู้สึกแปลกแยก รู้สึกว่าถูกตีตรา นำไปสู่พฤติกรรมทำร้ายตัวเองแนวทางแก้ไข ผู้ปกครองและโรงเรียน ควรให้ความรู้เยาวชน รู้ทันรูปแบบความเสี่ยง สามารถให้คำแนะนำลูกหลานได้ เมื่อมาขอความช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความใกล้ชิด ความอบอุ่นในครอบครัวช่วยได้มากในเรื่องการป้องกัน พ่อแม่ต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมลูก เมื่อมีความผิดปกติ เช่น เริ่มเก็บตัวผิดปกติ หรือมีสัญญาณอื่นๆด้านภาครัฐ ระบบการให้บริการและความช่วยเหลือในลำดับถัดไป เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องมีความพร้อม และความรู้ในเรื่องการรับมือเหยื่อออนไลน์ เพื่อทำให้เด็กไม่รู้สึกว่าถูตีตรา หรือถูกกระทำซ้ำ.