ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธฯ ขอนแก่น ถูกแก๊งคอลฯดูดเงิน ๑.๑๙ ล้านบาท หลังหลงกลสมัครบัตรสมาชิกของสายการบินไทย เจ้าตัวเผยเงินหมดเกลี้ยงบัญชีคิดฆ่าตัวตาย โทร.ไปลาพระแต่พระเตือนสติให้อยู่ต่อ เตรียมตั้งทนายฟ้องธนาคารที่ไม่มีความปลอดภัยด้านการเงิน ขณะที่โฆษกดีอีแจง มิจฉาชีพคุยโทรศัพท์เพียง ๒ นาทีดูดเงินเกลี้ยงบัญชี เป็น “เฟกนิวส์” อย่าตกใจผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.ขอนแก่น ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ดูดเงินไปกว่า ๑ ล้านบาท เปิดเผยเมื่อเวลา ๑๓.๐๐ น. วันที่ ๑๓ ก.พ. ว่าที่ ร.ต.จุลสัน ทันอินทร์อาจ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยเรื่องราวที่ถูกมิจฉาชีพดูดเงินเกลี้ยงบัญชีว่า เมื่อวันที่ ๒ ก.พ. จองตั๋วเครื่องบินไปกรุงเทพฯ ในวันที่ ๕-๖ ก.พ. หาข้อมูลจากกูเกิล จากนั้นเห็นลิงก์ของสายการบินไทยสอบถามราคาตั๋ว แต่ยังไม่ทันได้ซื้อตั๋ว เพราะจองสายการบินอื่นได้ก่อนในราคาถูกกว่า จากนั้นมีไลน์สายการบินไทยทักมาว่าสนใจสมัครสมาชิกหรือไม่ ตนเห็นว่าสายการบินไทยเป็นของคนไทย สมัครสมาชิกไว้ก็ไม่เสียหาย ถือเป็นการช่วยสายการบินของประเทศไทยไปในตัว ตัดสินใจสมัครโดยการส่งชื่อภาษาอังกฤษกับเบอร์โทรศัพท์ประจำตำแหน่ง ไม่ใช่เบอร์ส่วนตัวที่ผูกกับแอปพลิเคชันของธนาคารกรุงไทย ที่มีเงินในบัญชีเพราะกลัวมิจฉาชีพว่าที่ ร.ต.จุลสันเปิดเผยอีกว่า ช่วงบ่ายมีไลน์ของการบินไทยที่ใช้ติดต่อกัน วิดีโอคอลเข้ามาหาแต่ต้นทางไม่เปิดหน้า เพื่อให้ตนยืนยันการสมัครมีทั้งการสแกนใบหน้า ด้วยความที่คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยของสายการบินต้องสแกนใบหน้าและตั้งรหัสยอมทำตาม ก่อนมิจฉาชีพจะวางสายไป จากนั้นช่วงค่ำวันเดียวกัน ตนเปิดแอปฯธนาคารกรุงไทยเพื่อเช็กเงินในบัญชีจำนวน ๑.๑๙ ล้านบาท แต่พอดูยอดเงินกลับเหลือเพียง ๐.๘๗ สตางค์ ตนถึงกับช็อกเงินหายไปได้อย่างไร จากนั้นเข้าแจ้งความที่ สภ.เมืองขอนแก่น ต่อมาเช้าวันที่ ๓ ก.พ. โทร.ไปแจ้งธนาคารตรวจสอบพบว่าเงินถูกโอนเข้า ๒ บัญชีของธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา เมื่อตรวจสอบทั้ง ๒ บัญชีมีเงินเหลือเพียง ๓๐๐ บาท หลังจากนี้ตนจะเดินทางไปขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานตำรวจไซเบอร์ ก่อนจะทำเรื่องยื่นฟ้องคดีผู้บริโภคกับธนาคารเจ้าของบัญชีทาง e-Filingผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.ขอนแก่น ยืนยันว่า ไม่ได้เกิดจากความประมาทของตนเพราะไม่ได้มีการเปิดแอปธนาคารกรุงไทยเลยในขณะทำรายการกับลิงก์ที่อ้างว่าเป็นพนักงานการบินไทย แต่เป็นการทักไปในไลน์ และส่งเฉพาะเบอร์มือถือที่ไม่ได้ผูกกับธนาคาร ตนตั้งค่าการโอนเงินไว้ไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท แต่เคสนี้โอนออกเป็นล้าน และการโอนเงินเกิน ๕๐,๐๐๐ บาท ต้องสแกนใบหน้า ต้องการให้ธนาคารผู้รับฝากเงินชดใช้เงินอันเกิดจากระบบความปลอดภัยทางธนาคารไม่เพียงพอ แต่ท้ายสุดในส่วนของคดีอาญาตามเอาเงินคืนกับมิจฉาชีพชีพไม่ได้อยู่ดี เพราะหาตัวตนไม่เจอ ช่วงที่ไปธนาคารมีผู้เสียหายอีก ๒ คนถูกดูดไปถึง ๔ ล้านบาท หลังจากนี้จะดำเนินการจ้างทนายฟ้องธนาคาร โดยนำทองไปขายเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายและฟ้องคดี“ในวันแรกยอมรับว่าคิดฆ่าตัวตาย โทร.ไปลาพระผู้ใหญ่ที่รู้จัก พระท่านสอนว่า คนเราเกิดมาตัวเปล่ากลับไปก็ตัวเปล่า ฉะนั้นอย่าให้การสูญเสียครั้งนี้มาทำลายชีวิตเราที่เหลืออยู่ ทำให้ผมตัดสินใจที่จะไม่ทำร้ายชีวิตของตัวเอง” ว่าที่ ร.ต.จุลสันกล่าวขณะที่มีกระแสข่าวแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรศัพท์หลอกล่อคุยกับผู้เสียหายเพียงแค่ ๒ นาที สามารถดูดเงินในบัญชีไปเกลี้ยง โดยไม่ต้องกดลิงก์หรือโหลดแอปพลิเคชัน ทำให้ชาวบ้านหวาดผวานั้น นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะโฆษกกระทรวง กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง และความเป็นไปได้ในทางเทคนิคยังไม่พบรูปแบบ หรือวิธีการหลอกลวงดูดเงินจากบัญชีได้ เพียงแค่การพูดคุยทางโทรศัพท์ หากไม่ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ปลายทาง ทั้งนี้อาจจะมีขั้นตอนก่อนหน้านี้ เช่น กดลิงก์หรือสมัครแอปพลิเคชันไว้ก่อนหน้านี้ และโทร.สอบถามรหัสผ่าน หรือหลอกบันทึกเสียงพูด เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนเข้าระบบธนาคารด้วยเสียง“เรื่องนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก อย่างไรก็ตาม มีวิธีการป้องกันมิจฉาชีพหลอกติดตั้งแอปพลิเคชันและดูดเงิน ได้แก่ ๑.ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรมจากแหล่งอื่น นอกจากแหล่งที่ได้รับการควบคุมและรับรองความปลอดภัยจากผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการที่เป็น Official Store อาทิ Play Store หรือ App Store เท่านั้น ๒.ไม่ตั้ง password ซ้ำ หรือใช้ร่วมกับ Mobile Banking ๓.ไม่สแกนใบหน้า หรือยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก ๔.ไม่กดลิงก์จากเอสเอ็มเอสแปลกปลอม เพราะธนาคารไม่มีนโยบายส่งข้อความเอสเอ็มเอสแนบลิงก์ทุกชนิด หรือมีข้อความให้แอด Line ID หากได้รับเอสเอ็มเอสดังกล่าวอย่าหลงเชื่อเด็ดขาด ๕.ควรสังเกตโลโก้ที่อยู่ด้านหน้า Line account เสมอ ควรมีโล่สีเขียว หรือน้ำเงินเข้มเท่านั้น ๖.หากต้องการทำธุรกรรมใดๆ ควรโทร.กลับไปที่หน่วยงานที่ถูกแอบอ้างด้วยตนเอง ๗.ไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลข ๑๓ หลักบัตรประชาชนผ่านทางโทรศัพท์ และ ๘.โทร.แจ้ง ๑๔๔๑ สามารถโทร. แจ้งระงับอายัดบัญชีคนร้ายด้าน พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษก ตร. กล่าวว่า ตรวจสอบข้อมูลการรับแจ้งความคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท.และ บก.ปอท. ยังไม่พบว่ามีแจ้งความร้องทุกข์ในกรณีดังกล่าว กรณีของการถูกดูดเงินออกจากบัญชีธนาคารที่พบนั้น มีสาเหตุมาจากการถูกหลอกให้ส่งข้อมูลบัญชีผู้ใช้รหัสผ่าน และ OTP หรือถูกหลอกให้กดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมเครื่องระยะไกล หรือแอปดูดเงินเพื่อควบคุมโทรศัพท์ของเหยื่อแล้วถอนเงินออกจากบัญชีธนาคารผ่านแอปธนาคารในโทรศัพท์จนเงินหมดบัญชีรองโฆษก ตำรวจกล่าวว่า ขอเรียนประชาชนอย่าตื่นตระหนกและวิตกกังวลกับกรณีดังกล่าว เพราะตรวจสอบจากหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศยังไม่พบข้อมูลว่ามีกลุ่มมิจฉาชีพที่มีเทคโนโลยีในลักษณะดังกล่าว ประกอบกับยังไม่มีผู้เสียหายเข้ามาแจ้งความร้องทุกข์ กรณีถูกดูดเงินจากบัญชีธนาคาร จากการคุยโทรศัพท์กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์เกิน ๒ นาที ตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด หากพี่น้องประชาชนได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี แจ้งความร้องทุกข์ที่ศูนย์รับแจ้งความออนไลน์บนเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.go.th หรือสายด่วน ๑๔๔๑ ตลอด ๒๔ ชั่วโมงอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่
ดีอียันเฟกนิวส์ คุย ๒ นาทีดูดเงิน ชี้อย่าตระหนก มี ๘ วิธี ป้องกัน
Related posts