เศรษฐกิจญี่ปุ่นตกอยู่ในภาวะถดถอยอย่างไม่คาดคิด หลังจากที่เศรษฐกิจหดตัว ๒ ไตรมาสติดต่อกันผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ ๐.๔% ในช่วงสามเดือนสุดท้ายของปี ๒๕๖๖ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และเกิดขึ้นหลังจากที่เศรษฐกิจหดตัว ๓.๓% ในช่วงไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าค่ามัธยฐานโดยประมาณสำหรับการเติบโต ๑.๔% ตัวเลขจากสำนักงานคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นยังบ่งชี้ด้วยว่า ญี่ปุ่นอาจสูญเสียตำแหน่งประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ ๓ ของโลกให้แก่เยอรมนีนักวิเคราะห์บางคนเตือนถึงการหดตัวของจีดีพีในไตรมาสปัจจุบัน เนื่องจากอุปสงค์ที่อ่อนแอในจีน การบริโภคที่ซบเซา และการหยุดการผลิตที่หน่วยหนึ่งของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยอุปสรรคทั้งนี้ การหดตัวของเศรษฐกิจ ๒ ไตรมาสติดต่อกันถือเป็นคำจำกัดความทางเทคนิคของภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจแม้ว่านักวิเคราะห์หลายคนยังคงคาดหวังว่าธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ บีโอเจ จะยุติมาตรการกระตุ้นทางการเงินครั้งใหญ่ในปีนี้ แต่ข้อมูลดังกล่าวอาจทำให้เกิดความสงสัยว่าค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจะหนุนการบริโภคและรักษาอัตราเงินเฟ้อให้คงอยู่ตามเป้าหมายที่ ๒%สเตฟาน อังริก นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Moody’s Analytics กล่าวว่า “จีดีพีที่ลดลง ๒ ไตรมาสติดต่อกัน และอุปสงค์ในประเทศที่ลดลง ๓ ไตรมาสติดต่อกันถือเป็นข่าวร้าย แม้ว่าการแก้ไขอาจเปลี่ยนแปลงตัวเลขสุดท้ายที่ส่วนต่างก็ตาม” และกล่าวว่า “สิ่งนี้ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นพิจารณาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ยากขึ้น”โยชิทากะ ชินโดะ รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจญี่ปุ่น เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องบรรลุการเติบโตของค่าจ้างที่มั่นคงเพื่อสนับสนุนการบริโภค ซึ่งเขาอธิบายว่า “ขาดโมเมนตัม” เนื่องจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น เมื่อถามเกี่ยวกับผลกระทบต่อนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น เขากล่าวว่า “ความเข้าใจของเราคือ บีโอเจได้พิจารณาข้อมูลต่างๆ อย่างครอบคลุม รวมถึงการบริโภค และความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจในการชี้นำนโยบายการเงิน”ขณะที่เงินเยนทรงตัวหลังจากการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว และปิดที่ ๑๕๐.๒๒ เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ ๓ เดือนในช่วงต้นสัปดาห์เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส จีดีพีลดลง ๐.๑% เทียบกับการคาดการณ์เฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น ๐.๓% และเทียบกับการหดตัว ๐.๘% ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการบริโภคภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ลดลง ๐.๒% ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ซึ่งจะเพิ่มขึ้น ๐.๑% เนื่องจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นและสภาพอากาศที่อบอุ่นทำให้ประชาชนเลือกที่จะไม่ออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านและซื้อเสื้อผ้าฤดูหนาวส่วนรายจ่ายการลงทุนซึ่งเป็นกลไกสำคัญอีกประการหนึ่งของการเติบโตของภาคเอกชน ลดลง ๐.๑% เทียบกับการคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ๐.๓% เนื่องจากข้อจำกัดด้านอุปทานทำให้โครงการก่อสร้างต่างๆ ล่าช้า ข้อมูลยังเผยว่า อุปสงค์จากภายนอกคิดเป็น ๐.๒% ต่อจีดีพี เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้น ๒.๖% จากไตรมาสก่อนหน้าในงานแถลงข่าวที่โตเกียวในเดือนนี้ นางกีตา โกปินาธ รองกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวว่าเหตุผลสำคัญที่ทำให้ญี่ปุ่นอันดับตกต่ำลง ก็คือค่าเงินเยนที่ร่วงลงประมาณ ๙% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้วอย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินเยนได้ช่วยเพิ่มราคาหุ้นของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดบางแห่งของญี่ปุ่น เนื่องจากทำให้การส่งออกของประเทศ เช่น รถยนต์ มีราคาถูกกว่าในตลาดต่างประเทศส่วนในสัปดาห์นี้ ดัชนีนิกเกอิ ๒๒๕ ทะลุระดับ ๓๘,๐๐๐ จุดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ๒๕๓๓ ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ทรุดตัวลงทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โดยดัชนีนิกเกอิ ๒๒๕ ทำสถิติสูงสุดที่ ๓๘,๙๑๕.๘๗ เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๒.ที่มา: Reutersติดตามข่าวต่างประเทศเพิ่มเติมที่ https://www.thairath.co.th/news/foreign
Related posts