Sunday, 20 October 2024

ปทุมวันโมเดล มหาวิทยาลัยในโรงงานเรียนพ่วงฝึกวิชาลดปัญหาตีกัน!

กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ผนึกกำลังสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ผุดไอเดีย “ปทุมวันโมเดล” แก้ปัญหาการทะเลาะวิวาท ปรับหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่หมดภายใน ๓ เดือน นักศึกษาต้องเรียนไป-ทำงานไปในโรงงานตั้งแต่ปี ๑ ในรูปแบบ “มหาวิทยาลัยในโรงงาน” สร้างจุดแข็งด้าน “ช่างกล- หุ่นยนต์-ระบบอัตโนมัติ”กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.) ผุดไอเดียการจัดการเรียนการสอน “ปทุมวันโมเดล” เพื่อลดปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาระหว่างสถาบัน ที่ห้องประชุมสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ชั้น ๗ อาคารเฉลิมพระเกียรติ สถาบัน เทคโนโลยีปทุมวัน เมื่อวันที่ ๑๗ ก.พ. น.ส.สุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. ศ.ด็อกเตอร์ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัด อว. น.ส.วราภรณ์ รุ่งตระการ ที่ปรึกษาด้าน ระบบบริหารการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ประชุมร่วมกับ รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์เสถียร ธัญญศรีรัตน์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันและผู้บริหารรวมถึงบรรดาศิษย์เก่าเรื่องการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ “ปทุมวันโมเดล”น.ส.สุชาดากล่าวว่า “ปทุมวันโมเดล” เป็นการ จัดการศึกษารูปแบบใหม่ตามนโยบายของ น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการการอุดมศึกษาฯ ที่มุ่งสร้างสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันให้เป็นเลิศ ในการพัฒนากำลังคน ทางด้านช่าง ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ลดปัญหาการทะเลาะ วิวาทของนักศึกษาระหว่างสถาบัน มีการออกแบบหลักสูตรภายใต้กรอบนโยบาย “เรียนดี มีความสุข มีรายได้” ที่ให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน เพื่อได้ มีประสบการณ์ในสถานประกอบการจริงพร้อมกับมีรายได้ไปด้วย เมื่อจบมาได้งานทำอย่างต่อเนื่อง โดยสถาบันจะหางานให้ทำตั้งแต่เข้าเรียนปี ๑ เพื่อให้ นักศึกษาอยู่ในพื้นที่ทำงานมากกว่าอยู่ในสถาบัน ทั้งนี้ “ปทุมวันโมเดล” จะปลดล็อกปัญหาที่สะสมมาเป็นเวลานานพร้อมกับการผลิตบัณฑิตให้ตรงกับ ความต้องการของตลาดแรงงานขณะที่ ศ.ด็อกเตอร์ศุภชัยกล่าวว่า สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ต้องคำนึงถึงจุดแข็งของตนเองที่เป็นสถาบันทางช่างที่เก่าแก่ มีศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จมากมาย มีความเข้มแข็งทางด้านช่างกล วิทยาการหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ โดยนำแนวทางและกลไก ต่างๆของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เช่น เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปี ๒๕๖๕ ที่เปิดกว้างให้สถาบันอุดม ศึกษาทำงานร่วมกับองค์กรอื่นๆ ในการผลิตบัณฑิต ได้ง่ายขึ้น การใช้ระเบียบหลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ที่ให้สถาบันอุดมศึกษาจัดทำหลักสูตรที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรได้ รวมถึงหลักสูตรในรูปแบบ สหกิจศึกษาหรือบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เป็นต้น มาช่วย พัฒนาและจัดการเรียนการสอนให้ทันสมัยมากขึ้น“ปทุมวันโมเดลจะเป็นการออกแบบร่วมกันกับ สถานประกอบการ โดยจะต้องจัดการเรียนการสอนทั้งในสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการ แต่เน้น ในสถานประกอบการในรูปแบบ “มหาวิทยาลัยในโรงงาน” หรือ University in Factory พร้อมดึง ศิษย์เก่าที่มีประสบการณ์มาร่วมสอนร่วมพัฒนานักศึกษา การเรียนการสอนควรเป็นแบบโมดูล หรือชุดวิชา ใช้ระบบคลังหน่วยกิต ที่ผู้เรียนสามารถสะสม หน่วยกิตไว้ได้ มีการจัดทำ Skill Transcript เพื่อระบุทักษะของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักศึกษาและสถานประกอบการรู้ทักษะของนักศึกษาและนำไปสู่การพัฒนาต่อไป” ศ.ด็อกเตอร์ศุภชัยกล่าวด้าน รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์เสถียรกล่าวว่า สถาบันเทคโนโลยีปทุมวันจะร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษาฯ และศิษย์เก่า ปรับปรุงหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนในทุกสาขาของสถาบัน โดยใช้ระเบียบและกลไกใหม่ๆ ของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ปทุมวันโมเดลจะเป็น การพัฒนานักศึกษาสู่อนาคตที่ยั่งยืน เบื้องต้นการออกแบบหลักสูตรและการจัดการศึกษาแบบปทุมวันโมเดลจะเป็นรูปเป็นร่างภายใน ๓ เดือน และจะเป็นมิติใหม่ของอุดมศึกษาไทยอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่