การลดอันตรายจากยาสูบ ถือเป็นประเด็น ที่ถกเถียงและรณรงค์กันมายาวนาน โดยเฉพาะระยะหลังที่มี “ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่” เข้ามาเป็นทางเลือกเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา การประชุมชาติสมาชิกของกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (FCTC) ที่ประเทศปานามา ก็มีการหารือกัน ในเรื่องที่ว่า ควรควบคุมผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยหลักการเดียวกับ “บุหรี่มวน” แบบเก่า แต่แน่นอนงานนี้ได้ทำให้ถูกคัดค้านจากนักวิชาการบางส่วน โดยเฉพาะฝ่ายที่สนับสนุนหลักการ “ลดอันตราย” และมองว่าอันตรายของบุหรี่ อยู่ที่ การ “เผาไหม้” สูบเขม่าทาร์โรเบิร์ต บีเกิลโฮล อดีตผู้อำนวยการศูนย์โรคเรื้อรังและการส่งเสริมสุขภาพขององค์การอนามัยโลก เขียนบทความลงนิตยสารการแพทย์ เดอะ แลนเซ็ท ของอังกฤษว่า ปัจจุบันนี้โลกได้ ถูกแบ่งอย่างชัดเจนระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้ว กับประเทศในกลุ่มรายได้ต่ำถึงปานกลาง กล่าวคือกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ สวีเดน นอร์เวย์ นิวซีแลนด์ ได้นำแนวคิดลดอันตรายไปใช้ ไม่ได้แบนผลิตภัณฑ์แบบใหม่ อย่างอังกฤษที่นำบุหรี่ไฟฟ้ามาเป็นเครื่องมือช่วยเลิกบุหรี่ สวีเดนและนอร์เวย์ที่ใช้ถุงนิโคตินใส่ช่องปาก หรืออย่างนิวซีแลนด์ที่อัตราสูบบุหรี่มวนต่อวันได้ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา ถึง ๔๙ เปอร์เซ็นต์ หลังมีผลิตภัณฑ์นิโคตินแบบใหม่มาเป็นทางเลือกอย่างไรก็ตาม สิ่งนี้กลับตรงข้ามสำหรับประเทศรายได้ต่ำถึงปานกลาง โดยองค์การอนามัยโลกให้รางวัลแก่ ๓๔ ประเทศที่แบนผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ทั้งที่องค์การอนามัยโลกสามารถให้การสนับสนุนทางเทคนิคแก่ประเทศที่พิจารณานำบุหรี่ไฟฟ้าหรือผลิตภัณฑ์นิโคตินอื่นๆมาใช้ เพื่อช่วยลดปริมาณการสูบบุหรี่มวนแบบเก่า เช่นเดียวกับการจัดการของ FCTC ที่ให้แต่ละประเทศเลือกกันเอง ว่าจะควบคุมผลิตภัณฑ์แบบใหม่กันเช่นไร ซึ่งทั้งหมดนี้มองว่า เป็นการจำกัด “ทางเลือก” ทางสุขภาพ ของผู้คนแน่นอนว่าการบริโภคยาสูบทั้งหมดมี “ผลกระทบต่อสุขภาพ” แต่การลดการสูบบุหรี่ก็ถือเป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพในการลดอัตราการ “เสียชีวิต” ปัจจุบันมีคนสูบบุหรี่ทั่วโลก ๑,๓๐๐ ล้านคน การใช้หลักการลดอันตรายผ่าน “นวัตกรรมนำส่งนิโคติน” จึงไม่ควรถูกปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง.ตุ๊ ปากเกร็ดคลิกอ่านคอลัมน์ “หน้าต่างโลก” เพิ่มเติม
“ลดอันตราย” ยาสูบ
Related posts