Thursday, 19 December 2024

ยกระดับอาหารปลอดภัย ชุมชนพื้นที่สูงร่วมเกินร้อย

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยถึงการติดตามประเมินผลโครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร ซึ่งในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ได้กำหนดเป้าหมายเกษตรกรบนพื้นที่สูง ๒,๗๐๐ ราย พบว่า มีเกษตรกรที่ได้รับการยกระดับในการผลิตและได้รับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยมีจำนวน ๓,๗๒๒ ราย หรือ ร้อยละ ๑๓๗.๘๕ นางธัญธิตา บุญญมณีกุลและจากการติดตามผลโครงการตัวอย่างของกลุ่มเกษตรกรในชุมชนห้วยเขย่ง จ.กาญจนบุรี พบว่า เกษตรกรในชุมชนมีประสบ การณ์ในการทำการเกษตรเฉลี่ย ๑๓ ปี หลังจากเข้าร่วมโครงการในปี ๒๕๖๖ ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สพวส.) เข้า ไปส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในชุมชนเกี่ยวกับการใช้สารชีว ภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลง การทำปุ๋ยหมักเพื่อลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรมีการนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการเพาะปลูกพืชของตนเอง ส่งผลให้สามารถช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้ามาทำลายผลผลิตของเกษตรกร ลดการใช้สารเคมีทำให้ผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ช่วยรักษาความชื้น และอุณหภูมิภายในโรงเรือน อีกทั้งการปรับปรุงดิน และการกำจัดวัชพืชก็สามารถทำได้สะดวก เกษตรกรในชุมชนห้วยเขย่งทุกราย ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย (ใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์) ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทพืชผัก เช่น ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักชี และผักกาดหอม ทั้งนี้ เกษตรกรทุกรายยังมีความต้องการต่ออายุใบรับรองฯ (ใบรับรองฯ มีอายุ ๒ ปี) เนื่องจากเป็นการ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ผลผลิตสามารถจำหน่ายได้ในราคาสูงกว่าตลาด ทั่วไป รวมทั้งการจำหน่ายผลผลิต ต้องใช้ใบรับรองด้วย รองเลขาธิการ สศก. เผยอีกว่า นอกจากการส่ง เสริมองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร ในชุมชนแล้ว สพวส. ยังช่วยในการประสาน จัดทำข้อตกลงระหว่างเกษตรกร ในชุมชนกับบริษัทเอกชนให้เข้ามารับซื้อ โดยให้มีการทำสัญญาประกันราคารับซื้อผลผลิตระหว่างบริษัทเอกชนกับเกษตรกรในชุมชน เพื่อให้เกษตรกรได้รับรายได้ ที่เหมาะสมกับคุณภาพสินค้าเกษตรซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าตลาดทั่วไป และยังมีการจำหน่ายผลผลิตบางส่วนให้กับผู้บริโภคภายในชุมชนอีกด้วย ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยรายละ ๕๕๔,๔๕๗ บาทต่อปี สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ ๔๙๗,๔๐๗ บาทต่อปี มีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ ๕๗,๐๕๐ บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๑.๔๖ “อย่างไรก็ตาม เกษตรกรในชุมชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ มีข้อจำกัดหลายประการในการเข้าร่วมโครงการหรือเข้าถึงสิทธิ์ต่างๆจากภาครัฐ เช่น การขอรับรองมาตรฐานต่างๆในประเทศไทย เนื่องจากมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น ดังนั้น การดำเนินโครงการในระยะต่อไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ควรพิจารณาสนับสนุนมาตรฐานกลุ่มภายใต้การรวมตัวของเกษตรที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ และเป็นมาตรฐานที่ภาคธุรกิจและการตลาดยอมรับและให้การรับรอง พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อรวบรวมผลผลิตให้มีปริมาณมากเพื่อการต่อรอง ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ อาทิ ตู้แช่เย็นรวบรวมผลผลิต เพื่อช่วยรักษาคุณภาพผลผลิตให้คงความสดใหม่ได้นานยิ่งขึ้น” นางธัญธิตา กล่าว.ชาติชาย ศิริพัฒน์คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม