“สังคมไทย” ในปัจจุบัน กำลังเปลี่ยน แปลงไปสู่ความเป็น… “เมือง (urbanization)” กระจายไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ เกิดเมืองขนาดใหม่เพิ่มมากขึ้น ทั้งในระดับจังหวัดและอำเภอข้อมูลจาก สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง พบว่า จำนวนชุมชนในกรุงเทพฯมี ๒,๐๗๑ ชุมชน เป็นชุมชนแออัด ๖๓๘ ชุมชน ชุมชนเมือง ๕๓๗ ชุมชน หมู่บ้านจัดสรร ๔๒๕ ชุมชน ชานเมือง ๓๒๓ ชุมชน เคหะชุมชน และอาคารสูง ๑๔๘ ชุมชนน่าสนใจว่า… “ชุมชนคนในเมือง” เหล่านี้กำลังเผชิญกับปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต หรือสุขภาวะเขตเมือง (urban health) ทั้งหนาแน่น แออัด และสภาพแวดล้อมทรุดโทรม ใช้ชีวิตเร่งรีบ ขยะล้นส่วนด้านสุขภาพพบผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs โดยวัยแรงงาน ๘-๑๐% ในชุมชนเป็น…โรคความดันสูงและเบาหวาน น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มชูกำลัง ขาดการออกกำลังกายที่สำคัญ…ยังพบผู้ป่วยติดเตียงจากความดันโลหิต และโรคหลอดเลือดในสมองตีบเพิ่มมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในเรื่องของสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพข้างต้นนี้ สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก ๓) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จับมือกับมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ดำเนินโครงการส่งเสริมการจัดการระบบสุขภาวะชุมชนรอบศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ หรือรอบๆที่ตั้งสำนักงาน สสส. ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร ซึ่งประกอบด้วย ๓ ชุมชน ได้แก่ ชุมชนหน้าสมาคมธรรมศาสตร์, ชุมชนบ้านมั่นคงสวนพลู และชุมชนบ้านเอื้ออาทรสวนพลูพัฒนาเพื่อนำร่องการจัดการสุขภาพของคนในชุมชนเมือง โดยใช้ “ต้นทุนชุมชน” ในการแก้ไขปัญหาและสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนนพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เล่าให้ฟังว่า เราได้ทำงานขับเคลื่อนสร้างสุขภาวะชุมชนร่วมกับ ๓ ชุมชน ตั้งแต่ปี ๒๕๕๓อาทิ โครงการของบางกอกฟอรัมทำงานกับเยาวชนและผู้นำของ ๓ ชุมชน โครงการ for Oldy พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อสส.ชุมชน “เพื่อนดูแลเพื่อน” สวนผักคนเมือง จัดการขยะ กลุ่มแม่บ้านชุมชนจุดเด่นทั้ง ๓ ชุมชนที่ค้นพบคือ มีต้นทุนกลไก อย่างคณะกรรมการชุมชน ซึ่งมีบทบาทสำคัญขับเคลื่อนงานชุมชน มีผู้นำที่มีบทบาทสำคัญต่อชุมชน และสมาชิกชุมชนที่ต้องการการแก้ไขปัญหาเชิงระบบ“สสส.ได้ขับเคลื่อนส่งเสริมการจัดการระบบสุขภาวะชุมชนรอบศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ พัฒนาระบบการจัดการพื้นที่ นวัตกรรมจัดการปัญหาของชุมชน นำมาสู่การจัดการตนเอง บูรณาการเชื่อมโยงพัฒนาระบบสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน ด้วยแนวคิดสำคัญคือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”ถัดมา…ใช้พื้นที่เป็นฐานในการพัฒนา คำนึงถึงสุขภาพในทุกงานหรือทุกนโยบาย และการเฝ้าระวังร่วมกันในละแวกบ้าน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน“ป้าแมว” หรือ สุนันทา ไพศาลมงคลกิจ หนึ่งในคณะกรรมการชุมชนบ้านมั่นคงสวนพลู บอกว่า เมื่อได้ทำโครงการนี้รู้สึกเหมือนกับการเปิดโลกกว้าง ได้รู้จักการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เห็นข้อมูลหมดเลยว่า ในชุมชนมีผู้สูงอายุเท่าไหร่ ป่วยเป็นโรคอะไรบ้าง แล้วนำข้อมูลมาออกแบบกิจกรรมที่เหมาะกับคนในชุมชน“ใครๆก็เรียกเราว่า นักวิจัย ป.๔ พอเราได้ทำงาน มีอาจารย์จาก สสส.มาแนะนำ ชี้แนวทางบอกกล่าว เราก็รู้สึกเก่งขึ้น นอกจากพัฒนาชุมชน เห็นความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันแล้ว เรายังได้พัฒนาตัวของเราด้วย” ขณะที่ “ป้าแต๋ว” หรือ จิตติมา ช่วงจั่น ประธานชุมชนบ้านเอื้ออาทรสวนพลูพัฒนา บอกว่า บริบทของทั้ง ๓ พื้นที่ที่มีความต่างกัน การทำงานที่ผ่านมา…อย่างในของบ้านมั่นคง เรามีผู้อาศัยทั้งคนในชุมชนเองและกลุ่มคนเช่าอยู่ เมื่อได้มาเก็บข้อมูล เราเห็นตัวเลขของกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนชัดมาก“พี่ๆน้องๆอยู่ตรงไหน ส่วนไหน ใครเป็นโรคอะไร ใครเสี่ยงที่ต้องให้การดูแลเป็นพิเศษก็จะได้เฝ้าระวังมากเข้มข้นขึ้น”ด็อกเตอร์นิสา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รักษาการผู้อำนวยการ สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก ๓) สสส. เสริมว่า ความสำคัญของการขับเคลื่อนและส่งเสริมการจัดการระบบสุขภาวะชุมชนที่เกิดขึ้นทั่วประเทศที่ผ่านมา สสส.พยายามแก้ปัญหานี้มาตลอด โดยทั้ง ๓ ชุมชน รอบศูนย์เรียนรู้สุขภาวะเป็นหนึ่งพื้นที่นำร่องคาดว่าในอนาคตจะเกิดการกระจายองค์ความรู้เหล่านี้ขึ้นในอีกหลายพื้นที่ ดังที่เกิดขึ้นไปแล้วที่แขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวาจากการทำงานโครงการส่งเสริมการจัดการระบบสุขภาพชุมชนรอบศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะทั้ง ๓ พื้นที่ ในช่วง ๖ เดือนที่ผ่านมา (สิงหาคม ๒๕๖๖-มกราคม ๒๕๖๗) ได้ดำเนินการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนแบบมีส่วนร่วมของ ๓ ชุมชน มีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนของแต่ละชุมชน และ…คณะทำงานร่วมของ ๓ ชุมชน ตลอดจนการสานพลังผนึกหลอมสร้างความเป็น “ละแวกบ้านเดียวกัน” โดยมี สสส. ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านให้การสนับสนุนผ่านการทำงานของสำนัก ๓ และศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการเครือข่าย พื้นที่ภาคกลาง (ศวภ.กลาง) ในการร่วมพัฒนาเสริมสร้างสุขภาวะคนใน ๓ ชุมชนต่อมา…ได้มีการพัฒนาระบบข้อมูลของชุมชน เพิ่มทักษะการวิจัยชุมชนด้วยการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณาแบบเร่งด่วน (RECAP) และการพัฒนาระบบข้อมูล (TCNAP) เพื่อรวบรวมข้อมูลชุมชน ก่อนจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปขณะเดียวกัน มีการพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชน โดยสนับสนุนให้เข้าร่วมการอบรมสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่นที่จัดโดย สสส. สำนัก ๓ ตามเวทีต่างๆ และยังวางเป้าหมายการพัฒนานวัตกรรมใน ๔ เรื่องคือ…การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ, การพัฒนาเด็กและเยาวชน, การจัดการขยะ และการเฝ้าระวังความปลอดภัยของชุมชนและละแวกบ้านร่วมกันเมื่อชุมชนได้เติมเครื่องมือ แกนนำ และผู้นำมีศักยภาพเพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชุมชนทุกช่วงวัย รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มและพัฒนากลุ่มต่างๆในชุมชนดร.นิสา ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น กลุ่มเยาวชน กลุ่มอาชีพ และกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อมีความเข้มแข็ง ก็จะสามารถพัฒนาและเข้าถึงสิทธิสวัสดิการขั้นพื้นฐาน“เราพยายามทำให้โมเดลแบบนี้เกิดขึ้นทั่วประเทศ ทั้งในชุมชนเมืองที่กระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ เมื่อความเจริญเข้าไปในพื้นที่ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า…ช่องว่างทางความเหลื่อมล้ำก็เกิดขึ้นเช่นกัน สิ่งที่ สสส. กำลังทำคือ การคอยเป็นที่ปรึกษา ให้ชุมชนค้นหาและใช้ต้นทุนชุมชนที่แต่ละพื้นที่มีแตกต่างกันนั้น พัฒนาตัวเอง”แต่ละพื้นที่ แต่ละชุมชน ทำงานแก้ไขปัญหาของพื้นที่เอง อาจใช้ระยะเวลาในการขยับ แต่เชื่อได้ว่า สิ่งเหล่านี้จะสร้างความเข้มแข็งโดยให้ชุมชนจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืนแน่นอน.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม
Related posts