สำนักข่าวต่างประเทศ เปิดเผยผลการสำรวจของ สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน จำนวนประชากรจีนในปี ๒๕๖๖ ลดลงไป ๒.๐๘ ล้านคน หรือ ๐.๑๕% อยู่ที่ ๑,๔๐๙ ล้านคน ปี ๒๕๖๕ ประชากรจีนลดลง ๘.๕ แสนคน ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากปัญหาโรคระบาดที่ทำให้ประชากรจีนลดลง ยอดการเสียชีวิต ของคนจีนปี ๒๕๖๖ อยู่ที่ ๑๑.๑ ล้านคน หรือ ๖.๖% ในขณะที่ เด็กเกิดใหม่ของจีน ลดลงไปที่ร้อยละ ๕.๗ อยู่ที่ ๙.๐๒ ล้านคน จะเห็นว่าอัตราคนตายมากกว่าคนเกิด ระหว่างปี ๒๕๒๔-๒๕๕๘ จีนออกมาตรการการควบคุมการมีบุตร เช่น นโยบายลูกคนเดียวเพราะมองว่าอัตราการเกิดเกินความพอดี จากนั้นมานโยบายนี้มีส่วนทำให้ประชากรจีนลดลงเช่นกันสรุปว่า จีนมีอัตราการเกิด ๖.๓๙ ต่อประชากร ๑,๐๐๐ คน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น มีอัตราการเกิดที่ ๖.๓ ต่อประชากร ๑,๐๐๐ คน เกาหลีใต้ ๔.๙ ต่อประชากร ๑,๐๐๐ คน ทั้งนี้ ปัญหาเศรษฐกิจก็มีส่วนในการตัดสินใจการมีบุตรมากขึ้น หลังการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ทำให้พฤติกรรมการดำรงชีวิตของประชากรเปลี่ยนไปอย่างมากปรากฏว่า ในปัจจุบันประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกกลายเป็น อินเดีย อยู่ที่ประมาณ ๑,๔๒๙ ล้านคน ประเทศที่กำลังมีปัญหาเรื่องอัตราการเกิดของประชากรไม่แพ้จีนก็คือ ญี่ปุ่น แต่จีนดีกว่าญี่ปุ่นก็คือ สัดส่วนคนวัยทำงานมากกว่าญี่ปุ่น โดยเฉพาะปัญหาของสังคมของผู้สูงอายุในญี่ปุ่นและอัตราการเกิดที่ลดลงกว่า ๘ แสนคน ตัวเลขผู้เสียชีวิตอยู่ที่ ๑.๕๖ ล้านคน เท่ากับเด็กเกิดใหม่ ไม่ถึงครึ่งของผู้เสียชีวิต คนวัยทำงานลดลงทำให้ญี่ปุ่นต้องใช้แรงงานจากต่างประเทศมากขึ้น ปีที่ผ่านมามีไม่น้อยกว่า ๓.๔ แสนคน ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำงานในญี่ปุ่นที่น่าตกใจคือ ประชากรญี่ปุ่น ๑ ใน ๑,๕๐๐ คน อายุไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปี ปริมาณ คุณภาพ และประสิทธิภาพของประชากร เป็นส่วนสำคัญของปัจจัยการเติบโตเศรษฐกิจและการลงทุน คนมาก กำลังซื้อภายในมาก การสร้างงานมาก การผลิตมาก เศรษฐกิจก็ขยายตัว เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามากกว่าไหลออกที่ต้องจับตาคือ ฐานการลงทุนที่กำลังตัดสินใจเลือกระหว่าง อินเดียกับจีน ที่มีขนาดประชากรใกล้เคียงกัน ที่น่าสังเกตก็คือ ประชากรอินเดียเริ่มย้ายฐานการทำงานออกนอกประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ตลาดมีความต้องการมากขึ้นกลายเป็นว่า ทุกประเทศกำลังแข่งกันซื้อตัวแรงงานที่คุณภาพและทักษะชั้นสูง ดังนั้น แต่ละประเทศเร่งฝึกทักษะแรงงานมีฝีมือ เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนและเป็นแหล่งรายได้เข้าประเทศมากกว่าจะมาขายทรัพยากรเก่าๆครม.ที่ผ่านมาอนุมัติงบให้ สพฐ. หรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก่อหนี้ผูกพันกว่า ๑.๕ หมื่นล้าน เป็นงบปี ๒๕๖๘-๒๕๗๒ ในการเช่า แท็บเล็ต–โน้ตบุ๊ก จำนวน ๖ แสนเครื่อง ภายใต้โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานทุกที่ทุกเวลา และยังเปิดช่องให้สามารถปรับเปลี่ยนอุปกรณ์การเรียนการสอนของโครงการให้ทันสมัยด้วย ใน ๕ ปีนี้ มีโอกาสที่จะของบในการอัปเดตซอฟต์แวร์ได้แบบรัวๆณ จุดนี้ คนไทยสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตร้อยละ ๘๐ ที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ร้อยละ ๒๐ ส่วนใหญ่จะเข้าใช้ยูทูบ เพจเฟซบุ๊ก ติ๊กต่อก ที่มีคนเข้าถึงแพลตฟอร์มละประมาณ ๔๔ ล้านคน นึกถึงอนาคตคุณภาพประชากรไทยแล้วใจหายมีแต่ปริมาณไม่มีคุณภาพก็ไร้ประสิทธิภาพ.หมัดเหล็กmudlek@thairath.co.thคลิกอ่านคอลัมน์ “คาบลูกคาบดอก” เพิ่มเติม
Related posts