Friday, 20 December 2024

โครงการอุทยานคาเฟ่อเมซอน สร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้ลำปาง

05 Mar 2024
219

“กาแฟ” กลายเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของสังคมไทยมานานแล้ว จะเห็นได้จากการเป็นเครื่องดื่มพื้นฐานมีติดไว้ประจำบ้านและสำนักงาน รวมทั้งร้านกาแฟที่มีอยู่จำนวนมากในปัจจุบัน ธุรกิจร้านกาแฟเติบโตอย่างโดดเด่นสวนกระแสธุรกิจอื่นทำให้ บริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยน้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เล็งเห็นความสำคัญ เตรียมผุด โครงการพัฒนาอุทยานคาเฟ่อเมซอน (Cafe’ Amazon park) บนพื้นที่ดิน ๖๑๕ ไร่ ณ ต.กล้วยแพะ อ.เมืองลําปาง เพื่อเนรมิตเป็นไร่กาแฟที่ใหญ่อีกแห่งหนึ่งของภาคเหนือนายพงษ์ศักดิ์ ภัทรเมธีวิญญู ผู้อำนวยการโครงการบริหารห่วงลูกโซ่อุปทานเมล็ดกาแฟดิบ เปิดเผยว่า OR พร้อมจะเริ่มโครงการปลูกกาแฟในที่ดินดังกล่าวแล้ว เพื่อสร้างเป็นระบบนิเวศทางธุรกิจของคาเฟ่อเมซอนให้ยั่งยืน นายกิตติกร โล่ห์สุนทร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้ความสนใจลงพื้นที่ดูที่ดิน ๖๑๕ ไร่ ใน ต.กล้วยแพะ อ.เมืองลำปาง ในโครงการอุทยานคาเฟ่อเมซอน (Cafe’ Amazon Park) ถือเป็นโครงการสร้างรายได้ให้เกษตรกร.อุทยานคาเฟ่อเมซอนจะเป็นทั้งแปลงเพาะปลูก ศูนย์วิจัย และพัฒนากาแฟสายพันธุ์ดี โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อต่อยอดเสริมความเข้มแข็งให้กับธุรกิจต้นน้ำอีกทั้งยังเป็นการพัฒนาพื้นที่และพัฒนาชุมชนของ จ.ลําปาง ให้มีแลนด์มาร์กแห่งใหม่ หรือเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย นอกจากนั้นจะเพิ่มให้พื้นที่ ต.กล้วยแพะ เป็นพื้นที่สีเขียว การปลูกกาแฟคือการปลูกป่า ลดฝุ่น PM ๒.๕ และนอกจากนั้นยังสร้างงานในชุมชนอีกด้วยขณะเดียวกัน นายกิตติกร โล่ห์สุนทร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ดูที่ดินกว่า ๖๐๐ ไร่ ใน ต.กล้วยแพะ อ.เมืองลำปาง พร้อมกล่าวว่า นับเป็นโครงการสําคัญและเป็นโครงการที่น่ายินดีมากที่ จ.ลําปาง จะมีไร่กาแฟที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของภาคเหนือ โรงสีกาแฟของ OR อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ มีเทคโนโลยีทันสมัยด้วยระบบคัดแยกและกรองเมล็ดกาแฟ ปราศจากสิ่งปนเปื้อน พร้อมตั้งจุดรับซื้อกาแฟจากเกษตรกร.นายพงษ์พันธ์ จันทรภูมิ ผจก.ส่วนบริหารห่วงลูกโซ่อุปทานเมล็ดกาแฟดิบ กล่าวว่า ผู้บริหารแบรนด์คาเฟ่อเมซอนให้ความสําคัญกับการสนับสนุนเกษตรกรไทยผู้ปลูกกาแฟมาก ตั้งจุดรับซื้อและโรงงานแปรรูปกาแฟคาเฟ่อเมซอนที่ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่เพื่อเป็นจุดรับซื้อกาแฟกะลาอาราบิก้า มีทั้งโรงสี หรือโรงคั่วกาแฟอันทันสมัยของอเมซอน เพราะกาแฟอเมซอนจะไม่ยอมให้มีกากและเศษวัสดุอย่างอื่นปนเปื้อนแม้แต่น้อยนิดที่ผ่านมา OR ร่วมหลายหน่วยงานในการส่งเสริมการปลูกและการรับซื้อกาแฟจากเกษตรกรพื้นที่ จ.เชียงใหม่ จ.แม่ฮ่องสอน และ จ.เชียงราย ให้มีช่องทางการจําหน่ายเมล็ดกาแฟที่มั่นคง มีตลาดที่แน่นอน ตั้งแต่ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๖ คาเฟ่อเมซอนรับซื้อกาแฟจากเกษตรกรไทยกว่า ๖,๑๐๙,๐๐๐ กิโลกรัม หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า ๑,๑๐๐ ล้านบาทสำหรับ โครงการพัฒนาอุทยานคาเฟ่อเมซอน บนพื้นที่ดิน ๖๑๕ ไร่ ต.กล้วยแพะ อ.เมืองลําปาง จะเป็นธุรกิจสีเขียวและเป็นธุรกิจที่เชื่อมความสามัคคีความสัมพันธ์กับทุกฝ่าย สร้างโอกาสเพื่อทุกรูปแบบและด้าน “G” หรือ “GREeN” การสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ นายพงษ์ศักดิ์ ภัทรเมธีวิญญู ผู้อำนวยการโครงการบริหารลูกโซ่อุปทานเมล็ดกาแฟดิบ OR.เพื่อตอบโจทย์เป้าหมาย OR ๒๐๓๐ สร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ทุกภาคส่วนมีชีวิตที่ดีและเติบโตอย่างยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ “คาเฟ่อเมซอนกาแฟที่แฟร์กับคนทั้งโลกเพื่ออยู่คู่กับการเดินทางไปด้วยกัน”นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า แผนการดําเนินงานอุทยานอเมซอนพาร์ค ต.กล้วยแพะ จ.ลําปาง จะแบ่งเป็น ๒ ระยะ หรืออีก ๗ ปีข้างหน้าพร้อมที่จะเป็นรูปเป็นร่างเปิดบริการอย่างแน่นอน คือปี ๒๕๖๗-๒๕๖๙ ทดลองปลูกกาแฟก่อนเพื่อหาพันธุ์กาแฟที่เหมาะสมกับสภาพอากาศของพื้นที่จากนั้นภายในปี ๒๕๗๐-๒๕๗๑ ระยะ ๒ จะเริ่มขยายผลภายในอุทยานจะมีศูนย์การเรียนรู้ครบวงจร และปี ๒๕๗๒-๒๕๗๓ พร้อมเปิดบริการเต็มรูปแบบ เพื่อให้กาแฟอเมซอนเป็นกาแฟที่แฟร์กับคนทั้งโลกอีกทั้งเนรมิต ต.กล้วยแพะ เป็นอีกหนึ่งเเหล่งท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ปลูกกาแฟของอาณาจักรคาเฟ่อเมซอน ประชาชนในพื้นที่จะได้มีส่วนร่วมด้วยการมีงานทํา และท้องถิ่นจะมีรายได้จากการท่องเที่ยวชาวลําปางต่างยินดีที่จะมี “อาณาจักรคาเฟ่อเมซอน” เป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่สร้างรายได้ให้จังหวัด. เจ้าหน้าที่ OR เตรียมนำพันธุ์กาแฟให้เกษตรกรทดลองปลูก เพื่อหาพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพอากาศของพื้นที่ จะเริ่มแผนงาน ๒ ระยะ ตั้งแต่ปี ๒๕๖๗-๒๕๗๑.ผสม ติดธรรม รายงานอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่