รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เผยถึงหนึ่งในผลงานวิจัยที่สามารถนำพัฒนาต่อยอดยกระดับการพัฒนา และนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์มากกว่า ๒๐ โครงการ นั่นคือ การพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตและสร้างมูลค่าใหม่แก่กาแฟแบบครบวงจรในพื้นที่ปางขอน จ.เชียงราย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด็อกเตอร์สมฤทัย ตันมา และคณะ ที่มีการพัฒนา เพิ่มผลผลิต และสร้างมูลค่าใหม่แก่กาแฟแบบครบวงจร โดยนักวิจัยได้พัฒนารายงานสภาพดินจากแหล่งปลูกกาแฟบ้านปางขอนเพื่อเปรียบเทียบดินปลูกกาแฟจากสวนผสมผสานและสวนเชิงเดี่ยว และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์กาแฟด้วยการสร้างระบบเอไอ ข้อมูลรสชาติเฉพาะสายพันธุ์ของกาแฟด้วยจมูกอิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบ เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลเอไอ เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์เฉพาะกลิ่นแต่ละชนิดสายพันธุ์ จากพื้นที่การปลูกกาแฟต่างๆของจังหวัดเชียงราย เป็นผลิตภัณฑ์เมล็ดกาแฟจีไอ หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยมีผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ในแบรนด์สินค้า “เชียงอาย” อีกทั้งสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบกาแฟคาเฟอีนต่ำจากพื้นที่ปางขอน ในชื่อแบรนด์สินค้า “Little Caffeine” ที่มีปริมาณคาเฟอีนลดลงร้อยละ ๙๓.๑๒ และยังคงสารสำคัญและรสชาติของเมล็ดกาแฟเอาไว้ในเมล็ดได้ อีกผลงานวิจัย การสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบเนื้อเทียมจากหัวปลีอรรถประโยชน์สูง สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร และจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด็อกเตอร์สมฤทัย ตันมา และห้างหุ้นส่วนจำกัด มาดี ฟู๊ด อินโนเวชั่น จ.เชียงราย โดยใช้หัวปลีเป็นวัตถุดิบหลักที่อุดมไปด้วยเส้นใย โปรตีน มาพัฒนาเป็นเนื้อเทียมที่ประกอบไปด้วยสารอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงและเพิ่มคุณค่าสารอาหารในน้ำนมแม่ เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ แคลเซียม โปแตสเซียม แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง อีกทั้งยังมีแคลอรีและไขมันต่ำ และช่วยยกระดับภูมิคุ้มกันในร่างกาย เป็นต้น “ทั้งสองนวัตกรรมถือเป็นความสำเร็จที่สอดรับกับนโยบายของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการเกษตรฯ ที่มุ่งส่งเสริมให้ภาคการเกษตรเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากบ้านเราเป็นแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงประชากรทั้งในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้เป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี โดยจากข้อมูลการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยปี ๒๕๖๖ มีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เฉลี่ยอยู่ที่ ๙๒๓,๕๕๑ ล้านบาท สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ประมาณร้อยละ ๘.๕ ของ GDP ทั้งประเทศ และมีเนื้อที่ทางการเกษตร ๑๔๗.๗ ล้านไร่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๔๖.๑ ของเนื้อที่ทั้งประเทศ อีกทั้งมีสัดส่วนแรงงานภาคเกษตรประมาณร้อยละ ๔๖.๔ ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ และที่สำคัญภาคเกษตรเป็นแหล่งวัตถุดิบหรือต้นน้ำของอุตสาหกรรมต่างๆ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะหน่วยงานด้านการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนการทำงานและบูรณาการทำงานร่วมกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างสินค้าเกษตรมูลค่าสูงต่อไป” ผู้อำนวยการสกสว.กล่าว.คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม
สกสว.อัปเกรดงานวิจัย-เกษตรมูลค่าสูง โชว์ ๒ นวัตกรรมอัปเลเวลโปรดักส์ไฮเอนด์
Related posts