“ใบตองแห้ง” สื่อมวลชนอาวุโส พร้อมตัวแทน ส.ศิวลักษณ์ นักศึกษา ประชาชน ร่วมยื่นแถลงการณ์ต่อศาลอาญา พิจารณาไม่รับฝากขังและคัดค้านการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ตะวัน แฟรงค์ฯ ชี้เป็นสิทธิของผู้ต้องหา ทั้งสองป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหาที่พนักงานอัยการยังไม่ได้ฟ้องเป็นคดีต่อศาล และเป็นการต่อสู้ทางความคิด ไม่มีเหตุผลใดที่จะคุมขังเด็กไว้ตามคำร้องขอของรัฐวันที่ ๘ มี.ค. ๖๗ ที่ศาลอาญา มีนักศึกษาประชาชนมารวมกลุ่มเพื่อแสดงกิจกรรมทางการเมือง ได้มี นายอธึกกิต แสวงสุข หรือรู้จักกันในนามใบตองแห้ง สื่อมวลชนอาวุโส และนายสายน้ำ นภสินธุ์ แนะนำตนว่าเป็นตัวแทนของ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ นักคิดนักเขียนชื่อดังหลายรางวัล ได้เดินทางมายื่นคำแถลงของนาย ส.ศิวลักษณ์ ขอให้ศาลพิจารณาไม่รับฝากขังและคัดค้านการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว น.ส.ตะวัน และนายแฟรงค์ และคนอื่นๆ ที่มีแนวคิดเดียวกันนายอธึกกิต กล่าวว่า เชื่อว่าไม่มีใครอยากย้อนกลับไปอยู่ใต้ระบบเก่า และประเทศไทยจะต้องตั้งหลักจากประชาธิปไตย โดยมีหลักใหญ่ใจความคืออำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน และเชื่อว่าองค์กรตุลาการเป็นเสาหลักซี่งรับประกันความปลอดภัยและสิทธิเสรีภาพของประชาชนเหล่านี้ ดำรงตนเป็นจุดเชื่อมโยงที่พิทักษ์รักษาให้ความปลอดภัยระหว่างประชาชนกับการปกครองขอยืนยันว่าการปล่อยตัวชั่วคราวบุคคลนั้นเป็นสิทธิของบรรดาผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา การจำคุกกักขังควบคุมบุคคลใดเกินกว่าที่สมควรตามเหตุผลที่กฎหมายกำหนดนั้นจะกระทำมิได้ด้วยความเคารพต่อศาลอาญา ตนเห็นว่าการรับฝากขังผู้ต้องหาทั้งสองในคดีนี้ไว้ ไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราวออกไปทั้งที่ทั้งสองมิได้มีพฤติการณ์หลบหนี ยินยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมที่บริเวณหน้าศาลอาญา และโดยที่ทั้งสองไม่ใช่บุคคลที่จะสามารถเข้ายุ่งเหยิงพยานหลักฐาน และกระทำการขัดขวางสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนนั้น เป็นกรณีที่เป็นอันตรายต่อกระบวนการยุติธรรมและต่อตัวเยาวชนทั้งสองโดยอาจเป็นการด้อยค่าสิทธิมนุษยชนของพวกเขาในการพิทักษ์รักษากระบวนการยุติธรรม และดำรงไว้ซึ่งระบบอันที่พวกเราผู้ใหญ่และเราเพิกเฉยละเลยต่อการพิทักษ์รักษาสิทธิมนุษยชน ปัญญาชนทั้งหลายเป็นเสาหลักในการดูแลประชาชนนั้นไปไม่ได้ และเราต่างเรียนรู้หลักการตามนิติปรัชญา เพื่อนำมาใช้สร้างความเป็นธรรมให้ทุกคนเท่าเทียมกันขอเรียนท่านผู้พิพากษาโปรดพิจารณาไม่รับฝากขังผู้ต้องหาทั้งสองนี้ต่อไป ขอให้ผู้พิพากษาผู้พิจารณาปล่อยชั่วคราวจำเลย และพิจารณาให้ความเป็นธรรมปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทางความคิดทั้งหลาย เมื่อคราวที่ท่านมีอำนาจพิจารณาด้วยนายอธึกกิต กล่าวต่อว่า สื่อบางที่สร้างกระเเสให้ทานตะวัน เป็นเหมือนเเม่มด จนกดกันให้ตำรวจต้องหาข้อหาที่ร้ายเเรงมาสนองกระแสสังคม ทั้งที่จริงดูจากพฤติการณ์ การไม่ฟังคำสั่งของตำรวจที่อยู่ท้ายขบวนเสด็จควรจะเป็นแค่ความผิดจราจรเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องความไม่ปลอดภัยต่อราชวงศ์ ตนมองว่าการตั้งข้อหา ๑๑๖ เป็นการตั้งข้อหาที่เกินกว่าเหตุ ดูจากพฤติการณ์คือเด็กทั้งสองออกรถก่อนที่ตำรวจจะอนุญาต ตำรวจก็มาล้อมการบีบแตรดังกล่าวจึงเป็นการบีบใส่ตำรวจ แต่ที่ไม่มีการตั้งข้อหา ๑๑๒ คงเพราะจะกลัวว่าเป็นการอ้างสถาบันมากเกินไปก็เลยตั้งข้อหา ม.๑๑๖ เพื่อสนองความรู้สึกกระแสดราม่านายสายน้ำ นภสินธุ์ ตัวแทนของนายสุลักษณ์ ได้อ่านแถลงการณ์แทนนายนายสุลักษณ์ ความว่า ข้าพเจ้าเนติบัณฑิตอังกฤษ จากสำนักเดอะมิดเดิ้ล เทมเปิล ซึ่งเชื่อมั่นว่าโดยหลักแห่งนิติปรัชญา ทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม และบุคคลจะต้องมีสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกันการควบคุมกักขังที่ชอบด้วยกฎหมายจะต้องทำเพื่อป้องกันภยันอันตรายอื่นใดหรือการหลบหนีเท่านั้น ต้องมีการประกันอิสรภาพของบุคคลอย่างเคร่งครัด และจะตีความกฎหมายจำกัดสิทธิเสรีภาพเป็นหลักไม่ได้ ตนเห็นว่าผู้ต้องหาทั้งสองคน เป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหาที่พนักงานอัยการยังไม่ได้ฟ้องเป็นคดีต่อศาล และการต่อสู้ของเยาวชนสองคนนี้เห็นชัดว่าเป็นกรณีของการต่อสู้ทางความคิด ไม่มีเหตุผลใดทั้งทางมนุษยธรรมและทางหลักกฎหมายที่จะควบคุมขังเด็กไว้ตามคำร้องขอของรัฐ ขอศาลได้ปลดปล่อยเด็กเหล่านี้ ตามอำนาจที่ศาลยุติธรรมมีอยู่ เพื่อให้เขามีสิทธิต่อสู้ทางความคิด และมีสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่หากผิดก็ลงทัณฑ์ หากถูกก็ให้ยกฟ้อง และให้ปล่อยเด็กโดยทันที จากนั้นได้ยื่นหนังสือต่องานสารบรรณ รับเรื่องเสนออธิบดีศาลอาญาต่อไป
ส.ศิวลักษณ์ แถลงการณ์ขอศาลปล่อย "ตะวันและเพื่อน" ชี้เป็นสิทธิผู้ต้องหา
Related posts