Saturday, 5 October 2024

อากาศ..ร้อนสุดขั้ว อาชีพเสี่ยงต้องระวัง

บันทึกไว้ เช้าวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๗ จังหวัดเชียงใหม่ มีค่าฝุ่น PM ๒.๕ สูงติดอันดับ ๒ ของโลก มีค่าฝุ่น PM ๒.๕ อยู่ในระดับสีแดง วัดได้ “๑๘๓ AQI US” มีผลกระทบต่อสุขภาพในระดับสูงสุด นอกจากนี้แล้ว…จุดความร้อนมีมาก “เผา” กันทั้งภาค รวมทั้ง ประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงด้วย“เชียงใหม่” โมเดลแก้ปัญหาฝุ่น PM ๒.๕ เกิดอะไรขึ้น…? อาจารย์ สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ตั้งคำถาม สนธิ คชวัฒน์มุมมองหนึ่งสะท้อนไว้ว่า “ปัญหาฝุ่น…ปัญหาหมอกควัน” ไม่ใช่เป็นปัญหาท้องถิ่นอีกต่อไปแล้วและอาจไม่ใช่ปัญหาภูมิภาคด้วยซ้ำ มันน่าจะเป็นปัญหาฝุ่นและละอองน้ำสะสมในบรรยากาศที่ลอยไปตามกระแสลมในแถบเส้นศูนย์สูตร ที่กำลังคุกคามชีวิตของสิ่งที่มีชีวิตจริงๆแล้วการสะสมนี้ก็เกิดจากฝีมือ… “มนุษย์”ข้อมูลที่น่าจะนำมาวิเคราะห์ก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างฮอตสปอตในประเทศและในประเทศเพื่อนบ้านกับระยะเวลาและค่า AQIหาก..AQI ยังสูง ขณะที่จำนวนฮอตสปอตลดลง ก็แสดงว่าบัดนี้… “ฝุ่น” เป็นภัยของมนุษยชาติจริงๆตอกย้ำประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดจากฝีมือมนุษย์ อาจารย์สนธิ พุ่งเป้าต่อเนื่องไปที่ประเด็นการกำจัด “ขยะ”…อะไรทำให้ประเทศไทยมีแต่ “หลุมขยะ” และ “เตาเผาขยะ”ข้อแรก…กฎกระทรวงการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ.๒๕๖๐ ตามพ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ หมวด ๒ การจัดการมูลฝอยทั่วไปกำหนดในข้อ ๕ …“เพื่อประโยชน์การเก็บมูลฝอยทั่วไปให้ผู้ซึ่งก่อให้เกิดมูลฝอยคัดแยกมูลฝอยที่อย่างน้อยต้องคัดแยกเป็นมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนโดยให้คัดแยกมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ออกจากมูลฝอยทั่วไป ด้วยราชการส่วนท้องถิ่นอาจออกข้อกำหนดของท้องถิ่นกำหนดให้มีการคัดแยกมูลฝอยอินทรีย์หรือมูลฝอยประเภทอื่นออกจากมูลฝอยทั่วไปได้”ข้อสอง…กฎหมายกำหนดชัดเจนว่า ท้องถิ่นต้องกำหนดให้บ้านทุกหลังหรือร้านค้าทุกแห่งต้องทำการแยกขยะทั่วไป, ขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่และขยะพิษออกจากกัน และท้องถิ่นนำขยะที่แยกแล้วไปจัดการต่อไปรวมทั้งควรต้องออกข้อบัญญัติให้ทุกแหล่งกำเนิดทำการคัดแยกขยะที่ต้นทาง…. แต่ข้อเท็จจริงคือ ไม่มีการกระทำดังกล่าว ท้องถิ่นรวมทั้ง กทม.ยังชอบเก็บขนขยะแบบรวมและนำไปฝังกลบหรือเอาไปเผาผลิตไฟฟ้าก่อให้เกิดปัญหามลพิษในหลายพื้นที่ปัจจุบันมีกองขยะแบบเทกองเป็นภูเขาทั่วประเทศเกือบ ๒,๐๐๐แห่ง สิ่งที่แปลกก็คือ มีกฎหมายออกมาอย่างชัดเจนให้แยกขยะแต่ราชการส่วนท้องถิ่นก็ไม่ทำตาม หน่วยงานที่ออกกฎหมายตาม พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ คือ กรมอนามัยโดยคณะกรรมการสาธารณสุขก็ไม่เคยสนใจ เมื่อออกกฎกระทรวงมาแล้วก็ทิ้งขว้าง ไม่ติดตาม ไม่ตรวจสอบว่า มีหน่วยงานใดทำหรือไม่…อย่างนี้เสียของทุกวันนี้ที่แปลกก็คือ แทนที่จะเน้นการลดขยะที่ต้นทางด้วยการ Reduce…ลด Reuse…ใช้ซ้ำ และ Recycle…รีไซเคิล แต่กลับไปเน้นกำจัดที่ปลายทางทั้งการเผาและการฝังกลบ ซึ่งมีทั้งผลประโยชน์และก่อมลพิษ รวมทั้งยังเป็นสาเหตุให้โลกร้อนอีกด้วยข้อสาม…หากดูประเทศญี่ปุ่นซึ่งต้นแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในเมืองย่านการค้าของประเทศญี่ปุ่นจะไม่มีถังขยะตั้งอยู่เลย ทุกคนต้องเอาขยะกลับไปทิ้งที่บ้าน ยกเว้นบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินและสถานที่ท่องเที่ยวเท่านั้น จึงจะมีถังที่แยกขยะติดป้ายชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่มี ๓ ประเภทคือขยะเผาได้, เผาไม่ได้, รีไซเคิลได้ หากทิ้งขยะบนพื้นจะถูกกล้องถ่ายไว้และมีระบบติดตามตัวให้ไปเสียเงินค่าปรับราคาแพง ร้านค้าทุกแห่งทั้งสะดวกซื้อและตลาดทั่วไปยังแจกถุงพลาสติกแก่ลูกค้าทุกคนถ้าต้องการข้อสี่…เนื่องจากญี่ปุ่นมีกฎหมายบังคับให้ทุกครัวเรือนและร้านค้าต้องแยกขยะก่อนให้เทศบาลมาเก็บขน ทุกแหล่งกำเนิดจะแยกขยะตามข้อกฎหมาย โดยเทศบาลจะนำเศษพลาสติก…ขยะที่เผาได้ไปเป็นเชื้อเพลิงของโรงงานเผาขยะผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ (มากกว่า ๕๐ เมกะวัตต์ ไม่ใช่แค่ไม่เกิน ๑๐ เมกะวัตต์ แบบบ้านเรา)โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะเป็นของรัฐบาลซึ่งจะมีระบบป้องกันมลพิษอย่างดีเยี่ยม ส่วนขยะพลาสติกจะส่งเข้าโรงงานรีไซเคิล ทำการล้างทำความสะอาดอย่างดีและแยกออกมาเป็นพลาสติกรีไซเคิล และนำส่งไปเข้าโรงงานผลิตพลาสติกในประเทศ รวมทั้งยังส่งออกไปขายประเทศอื่นด้วยน่าสนใจว่า…ทุกวันนี้ “ญี่ปุ่น” ส่งออกมายัง “ประเทศไทย” เป็นอันดับ ๑ มนุษย์สร้าง “มลพิษ” เป็นสาเหตุให้ “โลกร้อน”…ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเราๆท่านๆต้องเจอกับสภาพอากาศร้อนอย่างโหด วัดด้วย “ค่าดัชนีความร้อน” ที่บอกถึงอันตรายต่อสุขภาพชัดเจนมากกรมอุตุนิยมวิทยาออกคำเตือน (๖ มีนาคม๖๗) จะมีค่าดัชนีความร้อนสูงสุดที่จังหวัดชลบุรีที่ ๕๑.๔ องศาฯ อยู่ในเกณฑ์ระดับอันตราย (สีส้ม) และ กทม.จะมีค่าที่ ๔๘.๑ (สีส้ม) และวันอื่นๆมีค่าสูงถึงเดือนเมษายนถัดมา…ดัชนีความร้อน (Heat Index) คือ อุณหภูมิของร่างกายที่เรารู้สึก เป็นไปตามความสัมพันธ์กันระหว่างอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่มนุษย์รู้สึกได้ว่าบรรยากาศในขณะนั้นร้อนหรือเย็นแค่ไหน ซึ่ง…จะไม่ตรงกันกับอุณหภูมิที่เกิดขึ้นจริงในบรรยากาศแต่…เป็นอุณหภูมิที่รวมถึงความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศด้วย เช่นหากอุณหภูมิในบรรยากาศมีค่า ๓๘.๐ องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ ๗๐% ค่าดัชนีความร้อนดังกล่าวเราจะรู้สึกว่าอยู่ในอุณหภูมิถึง ๖๒ องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นความร้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก (ระดับสีแดง)ให้รู้ต่อไปอีกว่า…การเตือนภัยต่อสุขภาพของค่าดัชนีความร้อนกรณีที่ค่าดัชนีความร้อนมีค่า ๒๗–๓๒ องศาฯ (สีเขียว) อาจจะเกิดอาการอ่อนล้า อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียนได้ หากมีกิจกรรมกลางแจ้งอาจเกิดอาการปวดแสบปวดร้อนเพิ่มขึ้นได้๓๒–๔๑ องศาฯ (สีเหลือง) เกิดอาการตะคริว เพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานานอาจเกิดอาการเพลียแดดได้ (Heat Exhaustion) …๔๑–๕๔ องศาฯ (สีส้ม) เกิดอาการปวดเกร็ง เพลียแดด หน้ามืด หากทำกิจกรรมต่อเนื่องกลางแดดเป็นเวลานานอาจเสี่ยงต่อการเกิดอาการลมแดด (Heat Stroke) ได้ กรณี ๕๔ องศาฯขึ้นไป (สีแดง) อาจเกิดสภาวะลมแดดหรือHeat Stroke ได้ตลอดเวลา และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต อาจารย์สนธิ ย้ำว่า ช่วงอากาศร้อนจัด ไม่ควรตากแดดในช่วงเวลากลางวันจนถึงบ่าย ๓ โมง…ควรอยู่ในที่ร่มเท่านั้น ดื่มน้ำบ่อยๆ ออกกำลังในร่มช่วงนี้ดีที่สุดอาชีพที่เสี่ยงกับโรคร้อนตับแลบจำเป็นต้องรู้ ปีนี้ช่วงที่อากาศร้อนที่สุด…อาจจะมีอุณหภูมิสูงถึง ๔๕ องศาฯ…โรคที่จะเกิดเมื่ออยู่ในสถานที่อากาศร้อนจัดที่ต้องระวัง ได้แก่ โรคลมแดด, โรคเพลียแดด, ตะคริว,โรคแดดเผา และโรคผดร้อน โดยเฉพาะโรคลมแดดเป็นภาวะวิกฤติ…หากได้รับการรักษาที่ล่าช้าก็มีอันตรายถึงตายอาชีพที่ควรระวัง…การก่อสร้างกลางแจ้งที่ต้องตากแดด พ่อค้าแม่ค้าริมถนน คนเก็บขยะ ชาวไร่ชาวนา ผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ ผู้ออกกำลังกายกลางแจ้ง ขอทานรินถนน ฯลฯ อากาศร้อนอย่างรุนแรงในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมปีนี้ “Extreme heat”…ร้อนสุดขั้ว…ระวังตัวกันด้วยนะครับ.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม