Thursday, 19 December 2024

เหตุจากสงครามในยูเครน ยุโรปนำเข้าอาวุธพุ่งเกือบ ๒ เท่า

13 Mar 2024
82

ผลการศึกษาล่าสุดพบว่า ยุโรปมีการนำเข้าอาวุธยุทโธปกรณ์เพิ่มเกือบ ๒ เท่าในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมา โดยปัจจัยสำคัญเกิดจากสถานการณ์การสู้รบในยูเครนและรัสเซียที่ยืดเยื้อมานาน จนทำลายเสถียรภาพความมั่นคงในภูมิภาคยูเครนกลายมาเป็นประเทศผู้นำเข้าอาวุธสงครามรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ ๔ ของโลก ขณะที่ฝรั่งเศสขึ้นมาแทนที่รัสเซียเป็นประเทศผู้นำเข้าอาวุธสงครามมากเป็นอันดับ ๒ รองจากสหรัฐอเมริกาที่ครองอันดับ ๑เป็นที่น่าสังเกตว่ารัสเซียกลับมีการนำเข้าอาวุธสงครามลดลงกว่าครึ่ง ตกมาอยู่อันดับที่ ๓ ของโลกเป็นครั้งแรก รวมถึงยังส่งออกอาวุธน้อยลง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการคว่ำบาตรจากหลายชาติต่อกรณีการบุกโจมตียูเครนผลวิจัยโดยสถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศแห่งสตอกโฮล์ม พบว่ายุโรปมีการนำเข้าอาวุธยุทโธปกรณ์เพิ่มเกือบ ๒ เท่าในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมา โดยปัจจัยสำคัญเกิดจากสถานการณ์การสู้รบในยูเครนและรัสเซียที่ยืดเยื้อมานาน จนทำลายเสถียรภาพความมั่นคงในภูมิภาค ในขณะที่ยูเครนกลายมาเป็นประเทศผู้นำเข้าอาวุธสงครามรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ ๔ ของโลก ส่วนฝรั่งเศสขึ้นมาแทนที่รัสเซียเป็นประเทศผู้นำเข้าอาวุธสงครามมากเป็นอันดับ ๒ ตามหลังสหรัฐอเมริกาที่ครองอันดับ ๑ โดยฝรั่งเศสเป็นผู้ส่งออกอาวุธราว ๑๑ เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกอาวุธทั่วโลกในปี ๒๐๑๙-๒๐๒๓ และประสบความสำเร็จในการขายเครื่องบินรบราฟาเอลนอกทวีปยุโรปด้วย ที่น่าสนใจ คือพบว่ารัสเซียกลับมีการนำเข้าอาวุธสงครามลดลงกว่าครึ่ง ตกมาอยู่อันดับที่ ๓ ของโลกเป็นครั้งแรก รวมถึงยังส่งออกอาวุธน้อยลง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการถูกคว่ำบาตรจากหลายชาติต่อกรณีการบุกโจมตียูเครนทั้งนี้ การนำเข้าอาวุธสงครามของประเทศในยุโรปเพิ่มขึ้นถึง ๙๔ เปอร์เซ็นต์ ในช่วงปี ๒๐๑๙-๒๐๒๓ เปรียบเทียบกับช่วง ๕ ปีก่อนหน้า ในขณะที่การนำเข้าส่งออกอาวุธภาพรวมทั่วโลกลดลงเล็กน้อยอย่างไรก็ตาม สถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศแห่งสตอกโฮล์มยังบันทึกไว้ด้วยว่า มีอย่างน้อย ๓๐ ประเทศ ที่มีส่วนช่วยในการส่งอาวุธหลักๆ ให้แก่ยูเครน นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี ๒๐๒๒ ในขณะเดียวกันชาติอื่นในยุโรปก็มีการเพิ่มการนำเข้าอาวุธด้วยเช่นกัน โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐฯ ยิ่งมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ โดยเพิ่มขึ้นทั้งยอดส่งออกอาวุธ รวมทั้งเพิ่มจำนวนประเทศคู่ค้ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในช่วงปี ๒๐๑๙-๒๐๒๓ การนำเข้าอาวุธมายังยุโรป ๕๕ เปอร์เซ็นต์ ล้วนแล้วแต่มาจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ๓๕ เปอร์เซ็นต์ ในช่วงระหว่างปี ๒๐๑๔-๒๐๑๘ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศในยุโรปส่วนใหญ่เป็นสมาชิกนาโตและหุ้นส่วนของสหรัฐฯ ในการพัฒนาระบบอาวุธ เช่น เครื่องบินขับไล่ F-๓๕  การส่งออกอาวุธในรัสเซียที่ลดลงแคทรีนา ยอคิค นักวิจัยของสถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศแห่งสตอกโฮล์ม ระบุว่าการนําเข้าอาวุธจากสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น นับเป็นการแสดงให้เห็นว่าหลายประเทศในยุโรปพึงพอใจที่จะซื้ออาวุธที่ผลิตสำเร็จ มากกว่าที่จะพัฒนาระบบขึ้นมาใหม่ โดยยอดส่งออกอาวุธของสหรัฐฯ เติบโตขึ้นถึง ๑๗ เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นส่วนแบ่งการส่งออกอาวุธเพิ่มขึ้นเป็น ๔๒ เปอร์เซ็นต์ในขณะที่รัสเซีย ซึ่งเคยครองตำแหน่งผู้ส่งออกใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ ๒ ของโลก ปรากฏว่ายอดการส่งออกลดลงมาถึง ๕๓ เปอร์เซ็นต์ ระหว่างปี ๒๐๑๔-๒๐๑๘ และ ๒๐๑๙-๒๐๒๓ ซึ่งไม่เพียงแต่ยอดการส่งออกอาวุธจะลดลงเท่านั้น แต่ยังมีประเทศที่เป็นคู่ค้าลดน้อยลงอีกด้วย โดยมีการส่งออกไปยัง ๑๒ ประเทศในปี ๒๐๒๓ เปรียบเทียบกับปี ๒๐๑๓ ที่มี ๓๑ ประเทศ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายที่สำคัญของคู่ค้ารายใหญ่อย่างจีน ที่เป็นปัจจัยสำคัญด้วย เพราะก่อนหน้านี้จีนนับเป็นผู้ซื้ออาวุธรายใหญ่ของรัสเซียมาก่อน แต่ปัจจุบันจีนหันมาพัฒนาการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ในประเทศเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม รัสเซียยังคงส่งออกไปยังจีนราว ๒๑ เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่อินเดียเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดที่ ๓๔ เปอร์เซ็นต์ โดยในขณะที่รัสเซียมียอดส่งออกอาวุธลดลง แต่ยอดส่งออกของฝรั่งเศสเติบโต ๔๗ เปอร์เซ็นต์ ทำให้ฝรั่งเศสเฉือนเอาชนะรัสเซียกลายมาเป็นผู้ส่งออกอาวุธใหญ่ที่สุดอันดับ ๒ ของโลก การละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมนอกจากปัจจัยจากสงครามในยูเครนจะส่งผลต่อท่าทีในการเร่งสะสมอาวุธของชาติต่างๆ ในยุโรปแล้ว สงครามในกาซาก็มีผลกับการนำเข้าหรือส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของประเทศต่างๆ ทั่วโลกด้วยเช่นกัน นายซาอิน ฮุสเซน อีกหนึ่งนักวิจัยของสถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศแห่งสตอกโฮล์ม ระบุว่าสงครามในฉนวนกาซาในเวลานี้ ส่งผลกระทบต่อการนำเข้าอาวุธสงครามโดยอิสราเอล โดยยังคงมีการถ่ายโอนอาวุธจากสหรัฐอเมริกาไม่ว่าจะผ่านความช่วยเหลือทางทหารใหม่หรือการเร่งสัญญาที่มีอยู่แล้ว ซึ่งนายฮุสเซนเตือนว่า ผลกระทบในระยะยาวจากความขัดแย้งนี้อาจจะรุนแรงและยากเกินจะคาดการณ์”เราได้เห็นแล้วในบางประเทศของยุโรปที่มีการผลักดันโดยนักแสดงหรือรัฐต่างๆ เพื่อจํากัดการส่งอาวุธให้กับอิสราเอลในระหว่างที่ยังคงมีการปฏิบัติการทางทหาร ในฉนวนกาซา เนื่องจากเป็นการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งมาตรการเหล่านั้นจะส่งผลต่อการส่งอาวุธให้อิสราเอลแน่นอน และจะยังคงมีคำถามตามมาอีกว่า หลังจากที่อิสราเอลยอมหยุดยิง หรือยุติการโจมตีฉนวนกาซาแล้ว มาตรการเหล่านี้จะยังคงเอาไว้อีกหรือไม่”อย่างไรก็ตาม อิสราเอลยังนับว่าเป็นชาติที่เป็นตัวแปรสำคัญในการค้าอาวุธทั่วโลก ในฐานะที่เป็นผู้ส่งออกอาวุธทันสมัยรายใหญ่ โดยชาติสมาชิกอียูบางประเทศอย่าง เยอรมนีและฟินแลนด์ ก็เพิ่งมีการตกลงสั่งซื้ออาวุธกับอิสราเอล ขณะเดียวกันยูเครนเองก็ร้องขอไปยังอิสราเอลให้ส่งมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศขั้นสูงและอาวุธอื่นๆ เพื่อปกป้องตัวเองจากการรุกรานของรัสเซียด้วย. ผู้เขียน : อาจุมมาโอปอลที่มา : แชนแนลนิวส์เอเชีย, SIPRI, reutersคลิกอ่านข่าวเกี่ยวกับ ยุโรป