Thursday, 19 December 2024

ปมย้ายกากแคดเมียม เส้นทางผลประโยชน์?

แตกตื่นกันทั้งเมืองเมื่อ “ตรวจพบกากแคดเมียมกว่า ๑.๕ หมื่นตัน” ถูกซุกซ่อนไว้โรงงานแห่งหนึ่งใน อ.เมืองสมุทรสาคร สร้างความตระหนกตกใจให้ชาวบ้านเกรงกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพทันทีนั้นในเบื้องต้น “กรมควบคุมมลพิษ (คพ.)” ได้ลงพื้นที่เก็บตัวตัวอย่างตรวจดินนอกโรงงานในรัศมี ๑๐ เมตรจนถึง ๑ กม. “ไม่พบการปนเปื้อน” เว้นแต่ผลการตรวจดินภายในโรงงาน นอกโรงหลอม ไอระเหยบรรยากาศ และน้ำทิ้ง “พบแคดเมียม ๒๔,๘๘๔ มก./กก.” อันเป็นกากของเสียอันตรายเจือปนสูงกว่า ๑๐๐ มก./กก. เรื่องนี้ เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้ติดตามข้อเท็จจริงสำคัญทำให้มีข้อสังเกตกับปมปัญหามาแบ่งปันให้สังคมรับรู้ร่วมกันออกมาแถลงว่า สำหรับกากแคดเมียมตรวจพบใน จ.สมุทรสาคร นั้นถูกย้ายมาจาก จ.ตาก ตั้งแต่ปี ๒๕๖๖-เมษายน๒๕๖๗ มีข้อสังเกตน่าจะเกิดจากผลประโยชน์ในการลงทุนบนพื้นที่ฝังกลบโครงการแล้วมีแผนพัฒนา “แต่ติดปัญหาใต้พื้นที่มีของเสียอันตรายปนเปื้อนแคดเมียม” จนต้องมีแผนขุด และขนย้ายออกมานี้ ส่วนหนึ่งน่าจะเกี่ยวกับผลประโยชน์สอดคล้องกับนโยบายรีไซเคิลกากของเสียนำมาใช้ให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจให้มากที่สุด เพราะกากแคดเมียมแม้มีพิษร้ายแรงแต่สร้างมูลค่าได้อย่างมหาศาลเพียงแค่หลอม ๑ ตันจะมีราคากว่า ๑ แสนบาท สิ่งนี้เป็นแรงจูงใจค่อนข้างมากทั้งยังตอบสนอง “การทำเหมืองแร่จากวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว” สอดคล้องกับนโยบาย BCG อันเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ “รัฐบาล” กำลังผลักดันส่งเสริมการนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หรือกากของเสียอันตรายมาเข้าสู่การรีไซเคิลจนมีการเปลี่ยนคำนิยามวิธีการจาก “กากอันตรายจากอุตสาหกรรม” มาเป็นวัสดุไม่ใช้แล้วนี้แทน เพ็ญโฉม แซ่ตั้งด้วยการนำมา “ใช้เป็นวัตถุดิบในโรงหล่อหลอม หรือกิจการรีไซเคิล” แล้วถ้าพิจารณาการบังคับใช้กฎหมายก็มีช่องรอดให้หลบเลี่ยงรอดได้อย่างเช่น “มาตรการ EIA” มักไม่มีมาตรการติดตามการดำเนินการตามจริง จนกลายเป็นว่า “EIA ไม่มีมาตรการบทลงโทษที่ร้ายแรง” แล้วยิ่งกว่านั้นการอนุมัติย้ายกากกลับทำได้ง่ายด้วยอันเป็นไปตาม “นโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)” ที่ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สามารถอนุมัติการย้ายกากอุตสาหกรรมได้รวดเร็ว และสะดวกมากขึ้นในช่วง ๓ ปีที่ผ่านมานี้ขณะที่ “โรงหล่อหลอม” ก็ไม่ต้องประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ รวมถึงไม่มีมาตรฐานตรวจวัดมลพิษการปล่อยจากโรงหลอมแม้กิจการ หรือวัตถุดิบที่ใช้หลอมจะส่งผลกระทบเพียงใดก็ตามหนำซ้ำ “ข้าราชการบางคนกลับเกรงกลัวอิทธิพลภาคเอกชน” สังเกตจากการมอบนโยบายให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมเร่งรัดออกใบอนุญาตประกอบกิจการให้เร็วเพียงแค่มองมิติให้ภาคเอกชนได้รับความสะดวกรวดเร็ว แต่กลับไม่พิจารณาว่าการออกใบอนุญาตอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนใกล้โรงงานนั้นทั้งไม่พิจารณาว่า “พื้นที่มีศักยภาพรองรับมลพิษได้หรือไม่” ทำให้สิ่งนี้หวนมาทำลายสิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างที่ปรากฏ และยิ่งในหลายเรื่อง “ระบบข้าราชการไม่บังคับใช้กฎหมาย” เพราะเกรงถูกฟ้องคดี อย่างล่าสุดก็ได้ยินว่า “บริษัทเอกชน” ยืนยันทำถูกต้องกับเรื่องที่เกิดขึ้น เตรียมฟ้องคดีต่อกระทรวงอุตสาหกรรมด้วยซ้ำ เท่าที่ติดตามกรณี “การพบกากแคดเมียมใน จ.สมุทรสาคร” ตามข้อมูลบริษัทเอกชนได้รับอนุญาตให้มีการขุด และขนย้ายกากแคดเมียมออกมาตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน๒๕๖๖ เริ่มขนย้ายกันในเดือน กรกฎาคมในปีเดียวกัน ส่วนการขนย้าย เที่ยวสุดท้ายคือวันที่ ๘ มกราคม๒๕๖๗ รวมเป็นปริมาณกากนำออก ๑๓,๘๓๒ ตันนั้นก็เท่ากับว่า “การขนกากพิษอันตรายดำเนินการมายาวนานกว่า ๘ เดือน” ก่อนที่เรื่องจะแดงออกสู่สาธารณะจึงเป็นไปไม่ได้ว่า “มีเพียงอุตสาหกรรม จ.ตาก” ที่ทราบ และเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ปัญหามีอยู่ว่า “บริษัทเอกชนใน จ.สมุทรสาคร” กลับไม่มีศักยภาพรองรับในการจัดการกากแคดเมียมให้ปลอดภัยได้ทั้งหมด ทำให้อาจเป็นสาเหตุต่อ “การส่งกากแคดเมียมไปโรงงานอื่น” แต่หากพิจารณาดูบริษัทเอกชนแห่งนี้เป็นโรงหลอมโลหะมา ๓๐ ปีจนถึงปัจจุบัน มีใบอนุญาตประกอบกิจการอุตสาหกรรม ๓ ใบ คือใบแรกได้รับปี ๒๕๓๗ ใบที่สองปี ๒๕๕๗ ล่าสุดได้รับเมื่อปี ๒๕๖๖ ที่เกี่ยวกับกากแคดเมียมเนื่องจากเป็นใบอนุญาตโรงงานประเภทที่ ๖๐ ประกอบกิจการหลอมสังกะสี-แคดเมียม ส่วนสองใบก่อนนั้นทำได้แค่หลอมอะลูมิเนียม อย่างไรก็ตาม แม้ “มีใบอนุญาตเป็นโรงงานประเภทหลอมสังกะสี และแคดเมียม” แต่ข้อมูลวันที่ ๔ มีนาคม๒๕๖๗ “บริษัทแห่งนี้ยังไม่เคยแจ้งขออนุญาตในโรงงานประเภทที่ ๖๐” ในทางกฎหมายก็ยังไม่สามารถดำเนินการกับกากแคดเมียมที่ไปรับมาจาก จ.ตาก ได้ ดังนั้น ในศักยภาพเชิงเทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องยังไม่ชัดเจนเพราะการจะถูกตรวจสอบได้ก็ต่อเมื่อ “มีการแจ้งขออนุญาตประกอบกิจการ” ดังนั้น การอนุญาตให้ขนย้ายกากแคดเมียมมายังปลายทางที่ไม่ได้มีศักยภาพ เป็นประเด็นที่ต้องถามหน่วยงานราชการต่อไปประการถัดมา “กากแคดเมียมทั้งหมดมีจำนวนเท่าใด และกระจัดกระจายไปที่ไหน” ถ้าย้อนดูเส้นทางกระบวนการขนย้ายออกจาก จ.ตาก ในวันที่ ๘ มกราคม๒๕๖๗ รวมปริมาณ ๑๓,๘๓๒ ตัน แล้วกากแคดเมียมเข้ามายังโรงงานใน จ.สมุทรสาคร ทั้งหมดหรือไม่ เพราะด้วยกากที่ปรากฏพบมีเพียงปริมาณ ๒,๔๐๐ ตันเศษแต่กลับมีการตรวจค้นพบที่ “ต.คลองกิ่ว ชลบุรี ๓,๐๐๐-๗,๐๐๐ ตัน” ต่อมาก็พบอีกแห่งใน ต.บางน้ำจืด ๑,๐๓๔ ตัน “ทำให้มีคำถามว่าทำไมสามารถส่งต่อกากอุตสาหกรรมอันตรายได้ง่ายกันขนาดนั้น…?” ทั้งที่กระทรวงอุตสาหกรรมมีระบบเกี่ยวกับการอนุมัติและการอนุญาตค่อนข้างทันสมัยรัดกุมแม่นยำมากสามารถตรวจจับควบคุม “ด้วยระบบจีพีเอส” ยืนยันกากเคลื่อนย้ายจากแหล่งกำเนิดสู่ปลายทางต้องถูกรายงานทั้งหมด เมื่อเป็นเช่นนั้น “กรณีการตรวจค้นพบที่ จ.ชลบุรี ๓,๐๐๐-๗,๐๐๐ ตัน” ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่ากากของเสียอันตรายหลุดรอดออกจากระบบตรวจจับ กลายเป็นช่องโหว่ขนาดใหญ่ของการกระทำผิดหรือไม่ เมื่อเป็นแบบนี้ “ผู้ก่อมลพิษต้องรับผิดชอบผลกระทบทั้งหมด” เพราะนับตั้งแต่ปรากฏเป็นข่าว พบว่า “กากแคดเมียมที่ จ.สมุทรสาคร” ยังคงกลายเป็นปัญหาของกากหายไปมากมาย และมีความเป็นอันตรายสูง ดังนั้นเจ้าของกากที่เคยฝังกลบในพื้นที่เสร็จแล้วกลับขุดขึ้นมาหมื่นกว่าตัน และขนย้ายออกไปนั้นตามข้อมูลจาก “ผู้ได้รับอนุญาตให้นำสิ่งปฏิกูลวัสดุไม่ใช้แล้ว” นำออกนอกโรงงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ส่งไปยัง จ.สมุทรสาคร มีอายุการอนุญาต ๑๐ ก.ค. ๒๕๖๖-๙ มกราคม๒๕๖๗ ทำให้เกิดความเสียหาย ส่งผลให้ “เจ้าของกากอันตราย” ต้องรับผิดชอบตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๕ตลอดจนค่าใช้จ่าย “หน่วยงาน” เข้ามาแก้ปัญหา ติดตามตรวจสุขภาพคนในพื้นที่อีกด้วย สิ่งที่เกิดขึ้น สะท้อน “ความล้มเหลวระบบบริหาร-จัดการกากอุตสาหกรรม” ตามข้อมูลปี ๒๕๖๐ กรมโรงงานอุตสาหกรรมเคยมีคำสั่งให้อุตสาหกรรมจังหวัดเป็นหน่วยงานอนุมัติผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการขนย้ายกากได้ “ยกเว้น จ.ตาก” ต่อมาปี ๒๕๖๓ มีคำสั่งให้อุตสาหกรรมทุกจังหวัดออกใบอนุญาตขนย้ายกากอันตรายจากพื้นที่ได้เหตุนี้เรียกร้องให้ติดตามว่า “กากแคดเมียมกระจายไปพื้นที่ใด” แล้วประกาศวางมาตรการป้องกันการกระจายสู่สิ่งแวดล้อมโอกาสที่ “สิ่งมีชีวิตจะรับสัมผัส” ทั้งต้องตรวจสอบกระบวนการตลอดเส้นทางที่เกิดขึ้นในประเด็นความชอบด้วยกฎหมาย ปฏิบัติการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และการละเว้น หรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่นั้น“โดยเฉพาะตรวจสอบช่องโหว่ จุดผิดพลาด การคอร์รัปชัน ดำเนินการลงโทษผู้ทำความผิด และการเรียกคืนผลประโยชน์ที่ได้รับโดยไม่ชอบ แล้วหาแนวทางปรับปรุงระบบ กลไกที่เกี่ยวข้อง และทบทวนปรับโครงสร้างการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมทั้งระบบ ปรับปรุงระบบควบคุมมลพิษและการรักษาสภาพแวดล้อม” เพ็ญโฉม ว่าย้ำหลักการสำคัญในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ “ต้องอยู่บนหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบ” แล้วต้องยึดถือความปลอดภัยของประชาชนเป็นความสำคัญสูงสุด.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม