คำว่า "สัตหีบ" หมายถึง ที่กำบังเจ็ดแห่ง (หีบ = ที่บัง) อันหมายถึงเกาะต่าง ๆ กล่าวคือ เกาะพระ เกาะยอ เกาะหมู เกาะเตาหม้อ เกาะเณร เกาะสันฉลาม และเกาะเลา
แสมสาร มีลักษณะเป็นรูปทรงยาวรี ขนาดพื้นที่โดยรวมประมาณ 5 ตารางกิโลเมตรเกาะหนึ่งที่ขึ้นกับอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี อยู่ทางทิศใต้ของแหลมแสมสาร ออกไปประมาณ2 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากฝั่งของอำเภอสัตหีบไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 8กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่บนเกาะทั้งหมดจำนวน 2738 ไร่ 3 งาน 36 ตารางวา.
เรือหลวงจักรีนฤเบศร (อังกฤษ: HTMS Chakri Naruebet; ย่อ: CVH-911) เป็นเรือธงและเรือบรรทุกอากาศยานลำแรกและลำเดียวของราชนาวีไทย ประจำการในส่วนกำลังรบของกองทัพเรือ เป็นเรือที่ต่อขึ้นจากประเทศสเปน
วัดสัตหีบเป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชลบุรี ผู้คนมักจะเรียกกันอย่างแพร่หลายว่าวัดหลวงพ่ออี๋ เนื่องจากหลวงพ่ออี๋เป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2442 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในปัจจุบันมีผู้เลื่อมใสในหลวงพ่ออี๋ ต่างพากันมาทำบุญและปิดทองนมัสการรูปหล่อของท่านที่วัดเป็นจำนวนมาก
เป็นครัวทำกับข้าวอาหารตามสั่ง วัตถุดิบอาหารทะเลเป็นหลัก เนื้อปูม้า ปูนิ่ม ปลาเก๋า ปลาอินทรีย์และกุ้ง โดยมีคุณภาพการประกอบอาหารชนิดความคุมรักษารสชาติให้คงทีเสมอ เน้นการจำหน่ายออนโลน์โดยบรรจุกล่องแล้วส่งตามสถานที่ภายในตัวอำเภอสัตหีบเองและใกล้เคียง มีสถานที่ให้นั่งรับประทานพร้อมห้องน้ำสะอาดแยกหญิง-ชาย เดินทางสะดวกเพีย'งจากถนนสุขุมวิท ซอย 107 ตรงข้ามสนามกีฬาราชนาวี
มีเรื่องเล่าว่า ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดี มีที่ดินเรือกสวนไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้
ความเป็นมาสัตหีบ
หลายท่านให้ความคิดเห็นว่า "สัตต" แปลว่า เจ็ด "หีบ" หมายถึง หีบ ฉะนั้นคำว่า "สัตหีบ" ก็น่าจะแปลว่า หีบเจ็ดใบ ซึ่งสอดคล้องตามตำนานประวัติ[เจ้าแม่แหลมเทียน]ว่าได้นำพระราชาลงในหีบเจ็ดใบเพื่อหลบหนียักษ์ อีกหลักฐานหนึ่งมาจากกองประวัติศาสตร์[ทหารเรือ]ระบุว่า เมื่อ พ.ศ. 2464 รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จตรวจเยี่ยมหัวเมืองชายทะเล เพื่อจะสร้างแนวป้องกันชายฝั่งทะเลด้านนอกเพิ่มขึ้น เพราะป้อมพระจุลจอมเกล้าที่ปากน้ำสมุทรปราการนั้นใกล้เมืองหลวงมากเกินไป จึงทรงดำริหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกเป็นที่ตั้งกองทัพเรือ เพื่อตรวจตรารักษาฝั่งและเขตน่านน้ำใหญ่ จึงพระราชทานนามว่า สัตตหีบ เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นเกาะ 7 เกาะ เป็นที่กำบังลมให้แก่หมู่เรือได้ดี คำว่า "สัตหีบ" หมายถึง ที่กำบังเจ็ดแห่ง (หีบ = ที่บัง) อันหมายถึงเกาะต่าง ๆ กล่าวคือ เกาะพระ เกาะยอ เกาะหมู เกาะเตาหม้อ เกาะเณร เกาะสันฉลาม และเกาะเลา
เพิ่มเติม
พิกัด 12°39′47″N 100°54′20″E
รหัสไปรษณีย์ 20180,
20250 (เฉพาะตำบลนาจอมเทียนและบางเสร่),
20251 (เฉพาะภายในบริเวณศูนย์ฝึกทหารใหม่และโรงเรียนชุมพลทหารเรือ),
20182 (เฉพาะภายในฐานทัพเรือสัตหีบ)
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอสัตหีบแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 41 หมู่บ้าน ได้แก่
1. ตำบลสัตหีบ (Sattahip) 2. ตำบลนาจอมเทียน (Na Chom Thian) 3. ตำบลพลูตาหลวง (Phlu Ta Luang) 4. ตำบลบางเสร่ (Bang Sare) 5. ตำบลแสมสาร (Samaesan)