Sattahip.net

เกาะพระ เกาะยอ เกาะหมู เกาะเตาหม้อ เกาะเณร เกาะสันฉลาม และเกาะเลา

1. แต่เดิม กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้สัมปทานเอกชนดำเนินการเก็บไข่เต่าทะเล ตาม ชายหาดและเกาะต่าง ๆ  

2. พ.ศ.2493 กองทัพเรือ ได้ออกประกาศตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเขตปลอดภัยทางราชการ และให้สงวนบริเวณสถานีทหารเรือสัตหีบบางส่วน ไว้เป็นเขตปลอดภัยยังนั้นกรมประมงได้มอบการเก็บไข่ เต่าทะเล ในบริเวณเขตปลอดภัย ให้กองทัพเรือเป็นผู้ดำเนินการ กองทัพเรือ จึงได้ดำเนินการอนุรักษ์ พันธุ์เต่าทะเล ดังนี้

    2.1 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 กองทัพเรือ มอบหมายให้ กรมอุทกศาสตร์เป็นหน่วยแรกที่ดำเนินการ

    2.2 จนถึงปี พ.ศ.2501 กรมอุทกศาสตร์ จึงได้โอนให้ สถานีทหารเรือสัตหีบ เป็นผู้ดำเนินการ แต่เนื่องจากผู้บัญชาการสถานีทหารเรือสัตหีบ ในขณะนั้น ได้แก่ พล.ร.ต.อนันต์ เนตรโรจน์ ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการกองการฝึก กองเรือยุทธการ อีกตำแหน่งหนึ่ง จึงได้ลงคำสั่งให้ กองการฝึก กองเรือยุทธการ เป็นผู้ดำเนินการ

    2.3 พ.ศ. 2522 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้กรมประมงจัดตั้ง “โครงการสมเด็จอนุรักษ์พันธุ์เต่า ทะเล“ ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะมันใน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง สถานีอนุรักษ์เต่าทะเลของกรมประมงแห่งนี้ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 นาย มาร่วมดำเนินการเพาะฟักและเพาะเลี้ยงพันธุ์เต่าทะเล ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกองทัพเรือ และกองทัพเรือได้ให้การสนับสนุน โครงการ สมเด็จอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ด้วยการส่งลูกเต่าทะเลปีละ 4000 ตัว (ลูกเต่าตนุ 3000 ตัว และลูกเต่ากระ 1000 ตัว ) ไปให้สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลของกรมประมง ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 กองทัพเรือได้ส่งพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เต่าทะเล จำนวน 9 ตัว ให้สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เกาะมันใน ไปเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ด้วย

    2.4 พ.ศ.2532 กองทัพเรือได้อนุมัติให้ ฐานทัพเรือสัตหีบโดย กรมต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง รับผิดชอบการดูแลเกาะครามแทน กองการฝึกกองเรือยุทธการ

    2.5 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 กองทัพเรือได้มุ่งเน้นและขยายผลการดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนา สภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนา สภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งกองทัพเรือขึ้น มี รองผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานกรรมการโดย ตำแหน่ง มอบหมายให้มีหน้าที่สำคัญคือ กำหนดเป้าหมาย นโยบาย รวมทั้งอำนวยการประสานงานและกำกับดูแลการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมในทะเล และชายฝั่ง ทั้งด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามันให้เกิดผลดีมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคำสั่งนโยบายในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของกองทัพเรือ ได้กำหนดให้ งานอนุรักษ์ พันธุ์เต่าทะเลอยู่ในความรับผิดชอบของ คณะกรรมการอำนวยการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ทะเล โดยมี หน่วยบัญชาการ ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เป็นหน่วยปฏิบัติ

   2.6 เมื่อ 17 ต.ค.44 กองทัพเรือ ได้ยกเลิกคณะกรรมการอนุรักษ์ต่างๆ และได้จัดงานการอนุรักษ์ทั้งหมดที่กองทัพเรือเกี่ยวข้องเข้าไว้เป็นสายงานปกติของกองทัพเรือ โดยมีกรมกิจการพลเรือนทหารเรือ เป็นฝ่ายอำนวยการ สำหรับงานด้านการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลโดยตรงนั้น มีหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เป็นหน่วยดำเนินการ ทั้งนี้เป็นไปตามการปฏิบัติของ ทร. ตามแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทาง ทะเล ภายใต้นโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 22 มิ.ย.44 ในเรื่องนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล ที่ กำหนดให้ กองทัพเรือเป็นหน่วยปฏิบัติหน่วยหนึ่งของรัฐ

   2.7 พ.ศ.2537 กองทัพเรือ ได้ยกเลิกการจำหน่ายไข่เต่าทะเล ซึ่งเคยจำหน่ายบางส่วนที่เหลือจากการนำมาเพาะฟักดำเนินการเพาะฟักทั้งหมด

   2.8 พ.ศ.2538 กองทัพเรือได้ขยายการอนุรักษ์เต่าทะเล ไปยังด้านฝั่งทะเลอันดามัน โดยให้อยู่ในความรับ ผิดชอบของ กองเรือภาคที่ 3 กองเรือยุทธการ มีศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลอยู่ที่ ชายหาดสนงาม แหลมปอ ฐานทัพเรือพังงา อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา


ภาพวิวจากสถานที่จริง





เต่าทะเล


ศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล เปิดให้ ประชาชนทั่วไปเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-16.30 น. โดยท่านสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่เบอร์โทร 038_245736-65 ต่อ 066-1035, 1036